ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพ เราเรียกระบบประสาทที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจว่า ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหายใจ ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งออกเป็นระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานในตอนที่ร่างกายทำกิจกรรม รู้สึกตื่นเต้นและเครียดในทางกลับกัน ระบบประสาทพาราเทติกจะทำงานในตอนที่ร่างกายกำลังพักรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับ ส่วนจุดกึ่งกลางของตาดำของเราคือรูม่านตา ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ลูกตา เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน รูม่านตาจะขยายใหญ่ขึ้น
พอลองสังเกตตาของคนที่สายตาสั้นจะพบว่าเกือบทั้งหมดมีรูม่านตากว้าง และร่างกายอยู่ในภาวะที่ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากกว่า พอต้องใช้ตาเป็นเวลานานก็ส่งผลให้ระยะโฟกัสสั้นลงจนทำให้ต้องเสียแรงปรับโฟกัสมากเกินไป กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาจึงเหนื่อยล้า ส่งผลให้สายตาแย่ลงกว่าเดิม ปัจจัยที่ทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไปก็คือความเครียดนั่นเอง
เดิมทีร่างกายของคนเราได้ออกแบบมาว่า ในขณะที่เราทำกิจกรรมตอนกลางวัน ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานมากกว่าระบบประสาทพาราซิมพาเทติก และในขณะที่เราพักผ่อนตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเช้า ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานมากกว่า แต่ถ้าเราเข้านอนดึกหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ระบบประสาทอัตโนมัติก็จะเสียสมดุลและส่งผลเสียต่อร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้น หากมีความเครียดทางจิตใจที่ได้รับจากในชีวิตประจำวันเพิ่มเข้ามา ระบบประสาทซิมพาเทติกก็จะต้องทำงานมากกว่าตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่องจนอ่อนล้า สายตาจึงแย่ลงเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ การเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติยังทำให้เกิดความผิดปกติในระบบไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพ ความเครียดส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ในประเทศญี่ปุ่นมีสำเนาว่า โกรธจนท้องป่อง ซึ่งที่มาของสำนวนนี้เกิดจากเมื่อเราเครียด เราจะรู้สึกแน่นท้องการหดและคลายตัวรวมถึงการทำงานของระบบทางเดินอาหารก็จะแย่ลง ส่งผลให้กระเพาะอาหารกับลำไส้ไม่ยึดหยุ่น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย
ซ้ำร้ายความเครียดจากการมองไม่เห็นอาจส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติด้านชา สายตาจึงแย่ยิ่งกว่าเดิมและก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในวงจรเช่นนี้ ไม่ใช่แค่ตาเท่านั้น แต่สมองของเราก็มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เช่นกัน อันที่จริงแล้วการมองเห็นนั้นถือเป็นเรื่องปกติสำหรับสมอง ถ้าสายตาปกติ สมองก็จะรู้สึกผ่อนคลายและไม่ทำงานหนักเกินไป การมองไม่เห็น จึงเป็นความเครียดตัวฉกาจของสมองเลยทีเดียว และบางครั้งยังอาจทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุจอีกด้วย ดังนั้นการทำให้สายตาดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็ช่วยลดความเครียดให้แก่สมองได้จริง ๆ แล้ว ดวงตากับสมองของคุณกำลังพูดว่า "อยากดีขึ้นสักนิดก็ยังดี ช่วยรักษาให้หน่อยนะ" นั่นเอง
Credit : Konno Seishi , marumura.com , us-fbcdn.net , fanthai.com , thaihealth.or.th
by Admin Park
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP