สาเหตุของทารกที่คุณแม่ขาดกรดโฟลิก
2017-02-15 00:16:00

การที่คิดว่ามีความผิดปกติบางอย่างของยีน ซึ่งซ่อนอยู่ในประชากรทั่วไปได้ร้อยละ 10 ความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่จะส่งผลต่อเมตาบอลิสซึมของกรดโฟลิกที่มีในร่างกาย จึงทำให้มีสารโฮโมชีสทีนในเลือดสูงขึ้น และมีกรดโฟลิกต่ำลง

 

อาจจะมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับความร้อนในระยะเวลาสั้น ๆ จากการเป็นไข้ การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือแม้กระทั้งการอบซาวน่า รวมถึงการได้รับยาป้องกันโรคลมชักบางชนิด หากคุณแม่ที่มีปัจจัยความเสี่ยงในอาการเหล่านี้และได้รับกรดโฟลิกเพิ่มจากอาหารเป็นปกติวันละ400 ไมโครกรัม ในรูปแบบของยาหรืออาหารเสริมด้วยกรดโฟลิกจะสามารถป้องกันหรือลดการเกิดความพิการดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งต้องเริ่มจากการรับประทานกรดโฟลิกตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

 

Advertising

 

 

ก่อนตั้งครรภ์เป็นเวลา 1-3 เดือน เป็นอย่างน้อย เพราะปกติแล้วกว่าคุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์อย่างเร็วที่สุดก็เกือบเดือน การเริ่มรับประทานกรดโฟลิกในระยะครรภ์อ่อนจึงไม่ทันการ คุณผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทุกคนควรรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มทุกวันเป็นประจำเพื่อบำรุงสุขภาพของตนเอง ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รณรงค์ให้คุณผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หันมาเริ่มรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มวันละ 400 ไมโครกรัม ในรูปแบบเม็ด หรือนัดว่าเป็นอาหารเสริมตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้..หลังจากนั้นจึงพบว่าสามารถลดการเกิดความพิการทางสมองของทารกได้เป็นจำนวนมาก

 

นอกจากนี้ ทางการแพทย์ยังพบว่าการรับประทานกรดโฟลิกยังช่วยป้องกันและลดโรคความพิการของอวัยวะในระบบอื่น ๆ ได้ อย่างเช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้อีกด้วย เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด การแท้งบุตร ภาวะครรภ์เป็นพิษนั้นเอง

 

Credit : Europa_Preess , ดร.ปทัตตา_ภริตาธรรม , แพรธรรม , amarinbabyandkids.com , kapook.com , siamgolive.com , thairath.co.th

by Admin Park


Admin :
view
:
3983

Post
:
2017-02-15 00:16:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น