10วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดง่ายๆที่คุณควรรู้
วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดง่ายๆที่คุณควรรู้
โดยทำการเลือกพิจารณาเลือกซื้อปลั๊กไฟและสายพ่วง
อย่างถูกต้องและเหมาะสม
กับความต้องการของพื้นที่และการใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
ในการถูกไฟฟ้าดูดให้น้อยลงหรือหมดไป
1. ทำการเลือกพิจารณาเลือกซื้อปลั๊กไฟและสายพ่วงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. กำหนดและวางแนวการติดตั้งสายไฟให้พ้นหรือห่างไกลจากทางเดินของผู้ใช้งาน
3. ห้ามวางสิ่งของใดๆทับหรือนำสายไฟพาดผ่านอุปกรณ์หรือสิ่งใดๆที่มีความเสี่ยงจากไฟฟ้า
4. ตรวจสอบอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆและตรวจเช็คสายไฟของคุณอยู่อย่างสม่ำเสมอโดยตลอด
5. หากเกิดการชำรุดหรือเสียหายของอุปกรณ์หรือสายไฟขึ้นควรรีบทำการซ่อมแซมแก้ไขโดยด่วน
6. อย่าทำการซ่อมแซมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองเป็นอันขาด หากไม่มีอุปกรณ์ในการตรวจสอบและซ่อมแซม ตลอดจนไม่มีความรู้ทางด้าน(ช่าง)ไฟฟ้ามาก่อน
7. ไม่ควรใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากกับปลั๊กไฟหรือเต้าเสียบเพียงช่องเดียว ควรมีการแบ่งและกระจายการใช้บ้าง ไม่ควรรวมอยู่ในจุดเดียวจนมากเกินไป (ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้ารั่วและส่งผลให้ถูกไฟฟ้าดูดได้)
8. เมื่อตัวเปียกน้ำหรืออยู่ในขณะเปียกชื้น อย่าแตะต้องอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเป็นอันขาด เพราะกระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านมาสู่ร่างกายเราได้อย่างสะดวกและรวดเร็วซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง
9. หากเป็นไปได้ควรให้ความสำคัญกับการต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเป็นการนำไฟฟ้าลงสู่ดิน (โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้น้ำและอาจเกิดอันตรายจากการใช้งานได้อย่างชัดเจนที่สุด)
10. ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายในอาคารบ้านเรือน เพื่อป้องกันภัยที่เกิดจากไฟฟ้าดูดหรือลัดวงจร และเพื่อลดอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดจนช่วยรักษาความปลอดภัยของร่างกายและทรัพย์สินของคุณ (รวมไปถึงระบบความปลอดภัยเรื่องอัคคีภัยและอุปกรณ์การช่วยเหลือพยาบาล)
มาร่วมป้องกันและระมัดระวังไฟดูดด้วยกันตั้งแต่วันนี้นะคะ ^^
======================================
Credit : Wong , Picture : Archangel Investigations & Protection , Fotosearch , การไฟฟ้านครหลวง , Toshino
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP