ตวงตาทำงานรองจากหัวใจ
2017-01-19 14:10:00

ดวงตาขอพวกเรานั้นเป็นอวัยวะที่ขัยนทำงานจริง ๆ ในหนึ่งวันเรากะพริบตาเกือบ 2 หมื่นครั้ง แถมกล้ามเนื้อตายังทำงานมากกว่า 1 แสนครั้ง นอกจากหัวใจแล้วยังจะมีอวัยวะไหนมั้ยในร่างกายมนุษย์ที่ทำงานถึงขนาดนี้

 

แม้แต่นักกีฬาที่แข็งแรงมากแค่ไหนก็ไม่สามารถออกกำลังกล้ามเนื้อได้เป็นแสนครั้งต่อวันจริงไหม แต่เปลือกตาของเราทำงานทุกวัน ไม่เคยพักแม้แต่วันเดียว ปกติคนเราเมื่อออกกำลังกาย ร่างกายก็จะหลั่งกรดแลคติกออกมาสะสมในกล้ามเนื้อ แม้กรดแลคติกจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากมีปริมาณมากจนอัตราการสะสมมากกว่าอัตราการเผาผลาญก็อาจส่งผลเสียต่อสายตาได้

 

กรดแลคติกจะถูกสลายโดยออกซิเจนก่อนส่งไปยังกระแสเลือด ดังนั้น ถ้าออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและเมื่อยเวลาออกกำลังกาย รวมทั้งการทำงานของกล้ามเนื้อก็จะเสื่อมถอย คุณคงเข้าใจกันแล้วใช่ไหม ว่า กล้ามเนื้อตาจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเลือดไหลเวียนได้ดี และมีการส่งออกซิเจนให้แก่ดวงตาตลอดเวลา แต่น่าเสียดายที่ไม่ว่าร่างกายจะพยายามส่งออกซิเจนให้แก่ดวงตาที่ขยันทำงานอย่างไม่เคยพร่ำบ่นสักเพียงใด แต่ระดับความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ของคนเราก้ลดไปตามการเสื่อมสภาพของหัวใจและปอด ว่ากันว่าคนอายุ 30 ปีร่างกายจะมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนสุงสุด 100% และเมื่ออายุ 80 ปีก็จะลดเหลือเพียง 30% เท่านั้น

 

แม้กระนั้น ตาก็ยังทำงานเหมือนเดิม ดังนั้น เราจึงไม่ควรเพิกเฉยหรือคิดเพียงว่า แค่หายใจธรรมดาก็รับเอาออกซิเจนเข้ามาได้แล้ว แต่ต้องพยายามสูดออกซิเจนตามเทคนิคที่ได้แนะนำไป (ระดับความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด เป็นการวัดประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจนของร่างกายว่ามีความสามารถที่จะดึงออกซิเจนเข้าสุ่ระบบไหลเวียนของเลือด เพื่อส่งไปยังกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้สูงสุดแค่ไหนนั่นเอง)

 

Credit : Konno Seishi , marumura.com , issue247.com , ls.wisc.edu , myreadyweb.com , i0.wp.com

by Admin Park


Admin :
view
:
2812

Post
:
2017-01-19 14:10:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น