ไม่ได้มีเพียงต้อหินเท่านั้น แต่ปัจุบันคนอายุน้อยก็มีแนวโน้มที่จะมีอาการสายตาผู้สูงอายุหรือไม่ก็สายตายาวกันมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ป่วยวัย 30 - 40 ปีจะมีอาการสายตาผู้สูงอายุ ว่ากันว่าประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีอาการสายตาผู้สูงอายุนั้นมีมากกว่า 70 ล้านคนเลยทีเดียว แต่ทว่ามีคนจำนวนมากที่รู้สึกถอดใจและคิดว่า ตาของคนเราย่อมต้องเสื่อมสภาพลงอยู่แล้ว สายตาผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
มีผู้ป่วยหญิงท่านนึง วัยประมาณ 40 ปี แต่เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีอาการสายตาผู้สูงอายุ เธอก็ดูเหมือนคนชราขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยเป็นคนร่าเริง มีชีวิตชีวา ชอบออกไปเที่ยวกับเพื่อนเป็นประจำ เธอก็เริ่มรู้สึกอายที่ต้องมองอะไรไกล ๆ ถึงจะเห็นในขณะที่อยู่ต่อหน้าผู้คน สุดท้ายเธอจึงขังตัวเองอยู่แต่ในบ้าน สายตาผู้สูงอายุคงจะทำให้เธอรู้สึกถึงความแก่ชราจนจิตใจห่อเหี่ยว แต่พอรักษาจนกลับมามองเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิม เธอก็ดูสดชื่นขึ้นผิดหูผิดตาเลยทีเดียว
ผมว่าสายตาผู้สูงอายุเป็นคำที่ไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้เราติดภาพลักษณ์ว่าสายตาคนแก่ เป็นสิ่งที่จะมาเยือนเสมอเมื่อคุณอายุมากขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีอาการสายตาผู้สูงอายุกันหมด ยิ่งไปกว่านั้น ผมไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าการสวมแว่นสายตาเป็นการรักษาอาการสายตาผู้สูงอายุอีกด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ ผมคิดว่าอาการสายตาผู้สูงอายุเป็นภาวะดวงตาขาดสารอาหารต่างหาก มันเป็นอาการที่เลนส์ตาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจึงแข็งตัวจนมีผลให้การเห็นภาพในระยะใกล้ ๆ แย่ลงสารอาหารของดวงตาที่ว่าก็คือ ออกซิเจนและกระแสเลือดนั่นเอง
Credit : Konno Seishi , marumura.com
by Admin Park
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP