บางเรื่องก็เป็นเพราะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกลับถอดใจที่จะฟื้นฟูสายตาให้ผู้ป่วย แล้วบอกว่า ช่วยไม่ได้มันเป็นเรื่องของพันธุกรรม ทำใจเสียเถอะ ทั้งที่อาการดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมแต่อย่างใด
งานวิจัยสมัยใหม่ได้พิสูจน์ให้เห็นในเรื่องนี้แล้ว ฟรานซิส เอ. ยัง ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย วอชิงตันของสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาชนเผ่าเอสกิโมถึงสามรุ่นและพบว่า ต่อให้รุ่นปู่ย่าตายายและรุ่นพ่อแม่ไม่มีปัญหาทางด้านสายเลย แต่เด็กรุ่นหลานที่มีอาการสายตาสั้นก็มีส้ดส่วนถึง 58% ซึ่งมากกว่าครึ่ง สาเหตุเพราะคนรุ่นหลานเริ่มไปโรงเรียน เวลาในการอ่านหนังสือจึงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ใช้สายตามากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเด็กนักเรียนที่มีอาการสายตาสั้น ในรายงานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ปัจจุบันพบว่าในปี 1949 มีเด็กประถมเพียง 6% ที่มีระดับสายตาผิดปกติ แต่ในปี 2006 กลับเพิ่มเป็น 28% เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าในเวลาไม่ถึง 60 ปี
หากสายตาสั้นถ่ายทอดทางพันธุกรรมจริง สัดส่วนของเด็กที่มีอาการสายตาสั้นก็น่าจะคงที่ เมื่อมองตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าในระยะเวลา 60 ปี คุณคงพอเข้าใจแล้วใช่ไหม ว่าปัญหาสายตาสั้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมนั้นมีมากแค่ไหน
Credit : Konno Seishi , marumura.com
by Admin Park
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP