การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของไทย
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (Fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งในประเทศไทยก็ได้มีการค้นพบและศึกษาอยู่จำนวนไม่น้อย ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีการค้นพบซึ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรกในไทย
Cr. kanchanapisek.or.th
เริ่มมีการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ในไทยตั้งแต่ปี 2459 โดยชาวต่างชาติในปี 2469 E.Andersson สำรวจพบฟอสซิลปลาทางภาคเหนือของไทย ในปี 2502 Koenigswald สำรวจพบช้างมาสสโตดอนที่เหมืองลิกไนต์ แม่เมาะ ในปี 2512 Lekhakul Et.AI. พบฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ฮิปโปโปเตมัส และควายบูบาลุส ที่จังหวัดนครสวรรค์ และในปี 2514 Sikenberg พบฟันช้างไดโนเทอเรียมที่ อำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นต้น แต่ไม่มีการศึกษาซากดึกดำบรรพ์อย่างแท้จริง
สำหรับการศึกษาสำรวจซากดึกดำบรรพ์โดยคนไทยเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 2519 เมื่อนายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยาพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ แล้วนำไปพิสูจน์และแจ้งให้สาธารณชนทราบเป็นครั้งแรกของไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธุ์ 2520
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ เก่าแก่ในไทย
Cr. kanchanapisek.or.th
คือ แหล่งซากดึกดำบรรพ์เกาะตรุเตา อำเภอละงู จังหวัดสตูล อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสตูลไปทางทิศตะวันตก ราว 45 กิโลเมตร บริเวณนี้มีการสะสมตัวตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลาย ต่อเนื่องมาจนถึงยุคออร์โดวิเซียนตอนต้น ราว 500-470 ล้านปีมาแล้ว พบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินดานและหินทรายจากหลายบริเวณบนเกาะตะรุเตา ได้แก่ อ่าวตะโละโต๊ะโป๊ะ อ่าวตะโละอุตัง และอ่าวมะละกา เป็นซากดึกดำของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไทรโลไบต์ บราคิโอพอด นอติลอยด์ และร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์อีกหลายอย่าง โดยเฉพาะไทรโลไบต์ที่พบบนเกาะตะรุเรา มีบางชนิดเป็นชนิดใหม่ที่เพิ่งบนในโลก เช่น Parakoldinioidia thaiensis, Thailandium solum และ Eosaukia buravasi
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์ที่สุดในไทย
Cr. www.manager.co.th
อยู่ที่สระน้ำบ้านโคกสูง ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยชาวบ้านขุดพบฟอสซิลสัตว์โบราณขนาดใหญ่จำนวนมาก ฝังอยู่ใต้ดินลึกลงไปประมาณ 5 เมตร จึงแจ้งสำนักธรณีวิทยา เพื่อตรวจสอบและพบว่าเป็นสัตว์โบราณนับสิบชนิด อายุกว่า 2 ล้านปี โดยเฉพาะกรามช้างกว่า 100 ชิ้น ซากตะโขงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีทั้งส่วนหัว กรามและกระดูกแผ่นหลัง เป็นซากที่สมบูรณ์ที่สุดในไทย รวมทั้งซากหมาป่าไฮยีน่า กระดองเต่าซึ่งเชื่อว่าเต่าสายพันธุ์ใหม่
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาเลปิโดเทสใหญ่สุดในทวีปเอเชีย
Cr. kanchanapisek.or.th
อยู่ที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ใกล้วัดพระพุทธบุตร ซากดึกดำบรรพ์ปลาเลปิโดเทสที่พบ มีอายุตั้งแต่ปลายยุคจูแรสสิกถึงต้นยุคครีเทเซียสราว 130 ล้านปี นับเป็นซากดึกดำบรรพ์ปลาชนิดใหม่ของโลก มีชื่อว่า เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส (Lepidotes buddhabutensis) จัดอยู่ในวงศ์ Semionotidae เป็นปลากินพืช มีเกล็ดเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แข็งหนาและมันวาวปกคลุมลำตัวมีความยาว 40-50 เซนติเมตร ฟันซี่เล็กแหลมติดกับขากรรไกร ลักษณะคล้ายปลาแรด ตัวอย่างที่พบรวบรวมอยู่ที่วัดป่าพุทธบุตรมากถึง 250 ตัวอย่าง แหล่งซากดึกดำบรรพ์มีซากปลาเลปิโดเทสที่สมบูรณ์มากกว่า 100 ตัว ถือได้ว่าเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาเลปิโดเทสที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่มาก่อน
แหล่งฟอสซิลบรรพบุรุษอุรังอุตังแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Cr. http://people.uncw.edu/albertm/ant210summer03/earlyape.htm
กรมทรัพยากรธรณีและมหาวิทยาลัยมองปิแอร์ ที่ 2 ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ร่วมมือกันสำรวจศึกษาฟอสซิล สัตว์มีกระดูกสันหลัง พบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ประเภทลิง อายุ 10 – 13.5 ล้านปี ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งถือเป็นการพบซากลิงที่เก่าแก่ที่สุด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบนี้เป็นฟันขนาดใหญ่จำนวน 18 ซี่ กระจัดกระจายกันอยู่ เป็นฟันของตัวผู้และตัวเมีย มีน้ำหนัก 50-70 กิโลกรัม ขนาดความย่นและการสึกกร่อนของฟันคล้ายกับลูแฟงพิเธคัสที่พบในบริเวณทางใต้ของประเทศจีน ต่างกันตรงขนาดของฟันหน้าและฟันกรามซี่ในสุดที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับลิงอุรังอุตังมากกว่าและอาจเป็นบรรพบุรุษของอุรังอุตังที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกว่าศิวะพิเธคัสและลูแฟงพิเธคัส จึงให้เป็นชนิดใหม่ชื่อ ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส การค้นพบครั้งนี้เป็นการพบฟอสซิลเอพขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์ครั้งแรกในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและได้ลงพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์อันดับ 1 ของโลก ฉบับวันที่ 6 มีนาคม 2546
ซากลิงสยามสมบูรณ์ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก
Cr. kanchanapisek.or.th
นักวิจัยของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พบซากดึกดำบรรพ์ไพรเมตชั้นสูง อายุ 35 ล้านปี ที่เหมืองถ่านหินเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ชื่อ สยามโพมิ เธคัส อีโอซีนัส (Siamopithecus eocaenus) หรือลิงสยามเป็นชิ้นส่วนกรามล่างด้านขวาพร้อมฟัน และกรามบน 2 ข้างที่มีกระดูกเบ้าตาติดอยู่ถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ไพรเมตชั้นสูงที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบมาและมีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์ในหนังสือ Anatomical Record ฉบับที่ 292 หน้าที่ 1734 – 1744 เมื่อพฤศจิกายน 2552
ซากดึกดำบรรพ์ที่บริเวณภูน้อย
Cr. www.patrolnews.net
ปี 2551 นายทองหล่อขุดพบฟอสซิลเกล็ดปลาบริเวณภูน้อย ติดกับเขตเขาภูพาน บ้านโคกสนาม ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงติดต่อทางราชการให้มาตรวจสอบ ดร.วราวุธ สุธีธร และ ดร.อุทุมพร ดีศรี ทำการตรวจสอบว่าเป็นฟอสซิลปลาเลปิโดเทสพุทธบุตรเอนซิล และเปิดเผยว่าแหล่งฟอสซิลนี้เป็นฟอสซิลที่พบในชั้นหินภูกระดึง หรือชั้นหินในยุคจูแรสสิกตอนปลาย อายุราว 150 ล้านปีก่อน นับเป็นยุคไดโนเสาร์รุ่งเรืองมาก จึงมอบหมายให้นางสาวธิดา แสนยะมูล นักธรณีวิทยา นำทีมเข้ามาสำรวจ เบื้องต้นพบกระดูกส่วนขา กระดูกส่วนสันหลัง กระดูกส่วนคอ กระดูกซี่โครง นอกจากนั้น บริเวณร่องน้ำตามลาดไล่เขา มีซากดึกดำบรรพ์เกือบทั้งหมด ประกอบด้วยฟันจระเข้ ฟันฉลาม ฟันปลาปอด เกล็ดปลา เศษกระดองเต่า เศษกระดูกสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมาก
ฟอสซิลยุคจูแรสสิกพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 150 ล้านปี
Cr. thainews.prd.go.th
มหาวิทยาลัยมหาสารคราม จังหวัดมหาสารคราม และคณะวิจัยของศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพศึกษาบรรพชีวินวิทยา เปิดเผยการค้นพบเต่าละฉลามน้ำจืดอายุ 150 ล้านปีที่บริเวณภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 7 เมษายน 2558 โดยขุดพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตจำนวน 2 ชนิด คือ เต่า ภูน้อยเซลีส ธีรคุปติ (Phunoichelys thirakhupit) ซึ่งเป็นเต่าขนาดเล็ก มีความยาวกระดองประมาณ 24 เซนติเมตร เป็นเต่าที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับเต่าโบราณที่อยู่ในหมวดภูกระดึงในไทย ส่วนอีกหนึ่งคือ ฉลามน้ำจืด อะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิล (Acrodus kalasinensis) โดยพบฟอสซิลชิ้นส่วนของฟัน เกล็ดและเงี่ยงบริเวณครีบหลัง มีความยาวประมาณ 7-13 มิลลิเมตร หนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ตัวฟันแบน เป็นลามน้ำจืดสายพันธุ์อะโครดัสที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบในไทย
………………………………………………………………………….
อ้างอิงข้อมูลจาก : บันทึกไทย www.thailandbookofrecords.com และ AjarnA
ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP