วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ทางน้ำ (เรือล่ม)
Cr. www.krobkruakao.com
อุบัติเหตุทางน้ำอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแต่ถ้าเรารู้จักป้องกัน ก็จะทำให้ชีวิตของเราปลอดภัยได้ เนื่องจากมีเหตุการณ์เรือล่มหลายต่อหลายครั้งทั่วโลกทำให้ผู้คนเสียชีวิตมากมาย จนกระทั่งล่าสุด เหตุการณ์เรือบรรทุกนักแสวงบุญชาวมุสลิมล่มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดสนามไชย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อความปลอดภัย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในข้อควรปฏิบัติในการโดยสารเรือและการแก้ไขเหตุการณ์ทางน้ำอย่างถูกวิธี ดังนี้
#ก่อนลงเรือ
ว่ายน้ำเป็น ให้ลูกหลานเรียนว่ายน้ำ
ดูสภาพเรือว่าไหวไหม ดูตัวเลขจำนวนผู้โดยสารที่ข้างเรือ ดูความเป็นจริงที่เห็นตรงหน้า
ดูสภาพอากาศ คลื่น ลม พายุ อย่าฝากชีวิตไว้กับคนอื่น ตัดสินใจด้วยตัวคุณเอง
#เมื่อลงเรือ
ใส่ชูชีพเถิด ถ้าไม่มี ก็ต้องหาให้ได้ ถามคนขับว่าอยู่ไหน เป็นกฎของกรมเจ้าท่าว่าต้องมีชูชีพพอสำหรับผู้โดยสารทุกคน
ดูสภาพชูชีพว่าเหมาะสมต่อการใช้ ลอยได้แน่ มีนกหวีด ฯลฯ
หากเป็นเด็ก ก็ควรมีชูชีพเด็ก (เตรียมไปเอง)
ดูทางหนีทีไล่ เรือไม่ใช่เครื่องบิน ไม่มีใครสอนว่าทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหน เราต้องระวังเอง
ทางออกง่ายสุดคือข้างเรือที่โล่ง แน่นอนว่าเราไม่อยากตากแดด แต่จากจุดที่เรานั่ง ลองคิดวิธีว่าจะทำไงให้พุ่งออกไปนอกเรือเร็วสุด (ผมคิดทุกครั้งที่ลงเรือ เจอเหตุเร้าใจบ่อยฮะ)
สังเกตเชือกหรืออะไรที่รุ่มร่าม หลีกเลี่ยงบริเวณนั้น
เลือกที่นั่งออกง่ายสู่ที่เปิดโล่ง
ตั้งสติตอนเรือเข้าออกจากท่า อุบัติเหตุมักมาในเวลาคาดไม่ถึง
เรียกคนที่เป็นห่วงไว้ใกล้กันตอนเรือเข้าออกท่า หรือมองดูไว้ว่าอยู่ตรงไหน
หากพบอะไรผิดปรกติให้รีบแจ้งคนเรือ
#เมื่อเกิดเหตุ
ตั้งสติ อย่าพุ่งไปทางเดียวกัน (เรือโคลงแล้วคนจะแห่กันมาอีกทาง ทำให้พลิกคว่ำ)
ออกจากเรือให้เร็วที่สุด อย่ามัวแต่กรี๊ด
อย่าเพิ่งรีบลงน้ำ ดูให้มั่นว่าเรือจมแน่ แต่ต้องอยู่ในที่โล่ง
หาของที่ลอยน้ำได้มาไว้ใกล้ตัว หากเป็นในทะเล มีน้ำดื่มติดตัวเสมอ
ออกในทางใกล้ฝั่งเข้าไว้ อย่าออกไปทางด้านไกลฝั่ง เราอาจว่ายน้ำไม่ถึง
อย่าว่ายสวนกระแสน้ำเพราะเราสู้ไม่ไหวหรอก ปล่อยตัวลอยไปแล้วว่ายตัดเฉียงเข้าหาตลิ่ง
ดูก่อนว่าตลิ่งตรงที่เราเข้าไปขึ้นไหวไหม บางทีเป็นฝั่งหินชัน มีคลื่นกระแทกชนหิน
อย่าเข้าไปท้ายเรือ เพราะเครื่องอาจทำงานอยู่ ใบพัดอาจหมุน
ถ้ามั่นใจว่าจมแน่ ออกไปให้ห่างเรือเพราะเรืออาจครอบหรือพลิกคว่ำลงมาฟาดกบาลเราจนหมดสติได้
อย่าเข้าไปช่วยคนแบบตัวเปล่า หาของลอยน้ำส่งไปให้เขาเกาะ หรือใส่ชูชีพแล้วเข้าไปช่วย
ช่วยตัวเองให้มั่นใจแล้วค่อยช่วยคนที่ดูแลตัวเองไม่ได้
Advertising
ขั้นตอนโดยคร่าวสำหรับวิธีปฎิบัติก่อนลงเรือ เมื่อลงเรือ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ควรทำอย่างไร
Cr. https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/1463962573618941?pnref=story
ส่วนทางด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย (ปภ.) ให้ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติในการโดยสารเรือและการแก้ไขเหตุการณ์ทางน้ำอย่างถูกวิธี ดังนี้
และสำหรับเด็กเล็กที่สามารถทำ Dog paddling ได้ จะสามารถเคลื่อนที่ในน้ำเข้าหาที่ปลอดภัยที่ใกล้ตัวที่สุด ทักษะนี้จะติดตัวน้องๆ ไปตลอดชีวิต ไม่ว่าเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ ขึ้นก็ตาม เด็กจะสามารถช่วยเหลือตัวเองในน้ำได้อย่างแน่นอน (ซึ่งการจะทำการเรียนหรือฝึกฝนการเรียนว่ายน้ำให้เด็กตั้งแต่เวลาใดนั้น ก็แล้วแต่การพิจารณาความเหมาะสมของผู้ปกครองหรือครอบครัว)
จะเห็นได้ชัดว่าการหัดว่ายน้ำให้เป็นตั้งแต่เด็กนั้นสำคัญมากเพียงใด ซึ่งการส่งเสริมให้ลูกเล็กหัดเรียนว่ายน้ำควรจะเลือกโรงเรียนสอนว่ายน้ำสำหรับเด็กที่มีคุณภาพ ซึ่งการสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็นตั้งแต่เด็กไม่เพียงแค่ให้ได้เอาตัวรอดจากอุบัติเหตุทางน้ำได้ มันยังช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับเด็กและช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย
......................................................................................................................
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เฟชบุ๊ก : Thon Thamrongnawasawat / www.posttoday.com / www.babyswimmingthailand.com
ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP