การออกกำลังกายกับโรคเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป ถ้าเราควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีแล้ว จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามอวัยวะต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะ ไต ตา ประสาท หลอดเลือดและหัวใจ
การรักษาเบาหวานประกอบด้วย
- การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
- การออกกำลังกาย
- การใช้ยาลดน้ำตาลอย่างถูกต้อง
- การดูแลตนเอง
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
- ลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- หัวใจแข็งแรง
- ลดไขมันตัวเลว (LDL) เพิ่มไขมันตัวดี (HDL)
- ควบคุมน้ำหนัก
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
- ลดความเครียด เพิ่มคุณภาพชีวิต
การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
- ต้องมีความสมดุลระหว่างการออกกำลังกาย ยาและอาหาร
- ถ้าออกกำลังกายสม่ำเสมอ ระดับน้ำตาลลดลง ความต้องการยาลดลง
การป้องกันอันตรายจากการออกกำลังกาย
ได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ ว่ามีโรคแทรกซ้อนของเบาหวานหรือไม่ เพื่อจัดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม
- ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด งดออกกำลังกายถ้าระดับน้ำตาลหลังงดอาหารสูงเกิน 25 มก/ดล.
- เรียนรู้อาการ วิธีป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำ
- ตรวจดูว่าเท้ามีบาดแผลหรือไม่
- ใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
- ไม่ออกกำลังกายในกรณีที่มีข้อห้าม ดังนี้
- เบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้
- ความดันโลหิตขณะพักสูงเกิน 200/100 มม.
- มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยังควบคุมไม่ได้
- ภาวะเจ็บหน้าออกหรือโรคหัวใจขาดเลือดโรคหัวใจขาดเลือดที่ยังควบคุมไม่ได้ในขณะป่วย
อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการไกแข้
อาการ : วิงเวียน เหงื่อออก ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย ตัวเย็น
วิธีการแก้ไข : หยุดพักทันที ดื่มน้ำหวาน น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม ½ แก้ว หรือน้ำตาลก้อน, ทอฟฟี่ ถ้าไม่หายภายใน 10-15 นาที ดื่มซ้ำอีกครั้ง
คำแนะนำในการออกกำลังกาย
เลือกประเภทที่ชอบจะได้ทำอย่างต่อเนื่อง
- สวมใส่รองเท้าหุ้มสนขนาดพอเหมาะ
- ควรเริ่มต้นด้วยการออกกำลังเบาๆ และเพิ่มขึ้น เมื่อท่านแข็งแรง
- พยายามออกกำลังกายในเวลาเดียวกันทุกวันและควรหลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง
- กรณีฉีดอินซูลิน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด และควรฉีดบริเวณหน้าท้อง ไม่ควรฉีดต้นแขนหรือขา
- งดการออกกำลังกาย เมื่อรู้สึกไม่สบาย
- จับชีพจรขณะออกกำลังกาย นับชีพจร 10 วินาที แล้วคูณด้วย 6 ให้ได้ถึงชีพจรเป้าหมาย
ชีพจรเป้าหมาย = 50 – 70% ของชีพจรสูงสุด
ชีพจรสูงสุด = 220 – อายุ (ปี)
เช่น นายก. อายุ 50 ปี ชีพจรสูงสุด คือ 220 – 50 = 170 ครั้ง/นาที
ดังนั้น ชีพจรเป้าหมาย = 85 – 119 ครั้ง/นาที
- ปรึกษาแพทย์หรือทีมการรักษาถ้ามีปัญหาเพื่อช่วงวางแผนในการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- บันทึกความก้าวหน้าในการออกกำลังกายของท่าน
- พกบัตรประจำตัว ระบุว่าท่านเป็นเบาหวาน และวิธีแก้ไขเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
- ตรวจเช็คบาดแผลทุกครั้งที่ออกกำลังกายเสร็จ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอเตรียมลูกอมหรือน้ำหวานติดตัวขณะออกกำลังกาย
- ถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตามต้องหยุดทันที
- ควรออกกำลังกายกับเพื่อนหรือออกกำลังกายเป็นกลุ่ม ควรแจ้งให้เพื่อนทราบว่าเป็นเบาหวานจะได้ช่วยเหลือกัน ถ้าเกิดมีความผิดปกติ
……………………………………………………………………………………
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์เบาหวานศิริราช และ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ขอบคุณภาพจาก : women.thaiza.com / www.panomhealth.com / health.kapook.com / www.pstip.com
ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ