การดูแลเล็บอย่างถูกวิธี
เล็บ (Nail) คือ????
เล็บ (Nail) คือ อวัยวะปกคลุมร่างกายชนิดหนึ่งที่พบบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เล็บประกอบไปด้วยโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เคอราทิน (Keratin) ซึ่งเป็นเคอราทินชนิดแข็ง โดยทั่วไปแล้วเล็บของคนเราจะยาวขึ้นสัปดาห์ละ 1 มิลลิเมตร และกว่าเล็บใหม่จะงอกออกมาแทนที่เล็บเก่าทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ
หน้าที่ของเล็บ
1. ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อนิ้วส่วนปลาย
2. รับความรู้สึก และไว้ฉีกอาหารหรือสิ่งของให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3. ทำให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของเล็กๆ ได้สะดวก เป็นอาวุธของร่างกายอย่างหนึ่งตามธรรมชาติในการขีด, ข่วน เพื่อต่อสู้กับอันตราย
4. เล็บนิ้วเท้าช่วยในการเคลื่อนไหนของเท้าได้ดียิ่งขึ้น
5. เปลี่ยนแหล่งบ่งบอกถึงภาวะความเจ็บป่วยของโรคบางชนิด
6. เพื่อความสวยงาม บ่งบอกลักษณะ สุขภาพ รสนิยม บุคลิก ของผู้ที่เป็นเจ้าของเล็บ
ปัญหาความผิดปกติของเล็บที่พบบ่อย
1. จมูกเล็บอักเสบ พบในกลุ่มผู้หญิง แม่บ้านที่มือเปียกน้ำบ่อยๆ และชอบทำเล็บตามร้านเสริมสวย มีการตัดจมูกเล็บ ทำให้เกิดช่องว่างในซอกเล็บและน้ำเข้าไปเซาะขังอยู่ ทำให้เกิดการอักเสบในภายหลัง
2. เล็บเป็นเชื้อรา มักพบในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเบาหวาน ลักษณะเล็บจะเปลี่ยนสี และรูปร่างมีลักษณะ บิดเบี้ยว โค้ง งอ แตก เปราะ หรือ เป็นขุย
3. เล็บกร่อน ลักษณะเล็บจะผุ แตกหัก เปราะง่าย เสียรูปทรง เป็นลูกคลื่น บุ๋ม โค้ง งอ หรือหนา ขึ้นบ้าง มีสาเหตุไม่ชัดเจน
4. สะเก็ดเงินที่เล็บ ลักษณะเล็บหนาเป็นชั้นที่ปลายเล็บ และเป็นขุย รักษาค่อนข้างยาก
อาหารเพื่อเล็บมือและเท้า
หากร่างกายได้สารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน เล็บมือและเท้าจะมีสุขภาพแข็งแรงและสวยงามไปด้วย อาหารที่ควรรับประทานเป็นพิเศษ ได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารประเภทโรตีน เช่น ถั่ว ปลา เต้าหู้ อาหารที่มีวิตามิน เอ ซี และ อี สูง เช่น กล้วย แคนตาลูป ผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว มะม่วง มะละกอ พริกไทย ฟักทอง มะเขือเทศ และเมล็ดธัญพืช และอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี เช่น อาหาร ทะเล เป็นต้น
วิธีการดูแลเล็บ
1. อย่าล้างมือหรือเท้าบ่อยเกินไป หลังจากล้างเสร็จแล้ว เช็ดให้แห้งสนิท
2. ถ้าจำเป็นต้องล้างจาน ซักผ้า ถูบ้าน ควรใส่ถุงมือเป็นประจำให้เป็นนิสัย
3. หลีกเลี่ยงการทำเล็บบ่อยๆ ที่ร้านเสริมสวย เพราะช่างมักจะแคะเล็บ และตัดจมูกเล็บให้เสียหาย
4. ตัดเล็บให้มีขนาดสั้นพอประมาณ เพราะการไว้เล็บยาวเกินไป อาจทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่าย
5. ทาสีเล็บให้น้อยลง เพื่อให้เล็บได้พักผ่อน และหลีกเลี่ยงการเพนท์สีเล็บ ซึ่งอาจจะมีสารเคมีทำลายเนื้อเล็บได้
6. ทาครีมหรือโลชั่นที่บำรุงมือและเล็บโดยเฉพาะอย่างสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการทาบริเวณซอกนิ้วเท้า
อุปกรณ์ดูแลเล็บ
1. การไกรตัดเล็บ
2. กรรไกรตัดหนัง แนะนำให้ใช้แบบระเอียด จะไม่ทำให้เล็บฉีกขาด
3. แปลงทำความสะอาดเล็บ และหินขัดหนังด้านๆ
4. ตะไบเล็บ แนะนำให้ใช้แบบละเอียด จะไม่ทำให้เล็บฉีกขาด
5. ครีมหรือโลชั่นทามือและเท้า
การตัดเล็บอย่างถูกวิธี
1. ล้างมือและเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
2. ใช้กรรไกรตัดเล็บให้มีขนาดสั้นพอประมาณ ควรเหลือปลายไว้เพื่อป้องกันบริเวณรอยต่อระหว่างเล็บและใต้เล็บไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ
3. การตัดเล็บเท้าควรตัดในลักษณะปลายตรงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องเล็บขบได้
4. การตัดเล็บมือสามารถตัดปลายเล็บให้เป็นรูปตรงหรือโค้งตามรูปเล็บได้ แต่ไม่ควรตัดเซาะบริเวณจมูกเล็บ
5. การตะไบเล็บ ให้ตะไบไปทางใดทางหนึ่งทางเดียว ไม่ควรตะไบกลับไปมา เพราะจะทำให้ชั้นเล็บเปิดได้
6. ทำความสะอาดมือและเท้าอีกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วนำครีมหรือโลชั่นทามือและเท้า โดยไม่ทาบริเวณซอกนิ้วเท้า
……………………………………………………………………………………
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณภาพจาก : mcot-web.mcot.net / donateazgop.com / www.bloggang.com / health.kapook.com / koybonaa.com
ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ
……………………………………………………………………………………
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์เบาหวานศิริราช และ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ขอบคุณภาพจาก : thairats.com / www.manyum.com / www.tlcthai.com / women.mthai.com
ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ