ฉลากโภชนาการสิ่งจำเป็นที่ควรรู้
2016-09-08 12:07:44

ฉลากโภชนาการสิ่งจำเป็นที่ควรรู้

 

     ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้บริโภค ดังนั้น “ฉลากโภชนาการ” จึงเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ได้รับสารอาหารตามความต้องการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใสใจสุขภาพ หรือผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดฯ เพราะการอ่านฉลากโภชนาการจะช่วยให้เราทราบถึงชนิดและปริมาณสารอาหารที่จะได้รับจากการบริโภคอาหารนั้นๆ และยังช่วยให้หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการได้เพียงแค่อ่านฉลากโภชนาการ

 

 

ฉลากโภชนาการคืออะไร?

     ฉลากโภชนาการ คือ ฉลากอาหารที่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ ซึ่งระบุชนิดและปริมาณสารอาหารของอาหารนั้นในกรอบสี่เหลี่ยมเรียกว่า “กรอบข้อมูลโภชนาการ” ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบเต็มและแบบย่อ

 

     1. ฉลากโภชนาการแบบเต็ม เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญที่ควรทราบ 15 รายการสำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด สามารถแสดงฉลาดโภชนาการเต็มรูปแบบในลักษณะแบบแนวนอนหรือแบบขวางตามที่ประกาศกระทรวงสารธารณสุขกำหนดไว้

 

     2. ฉลากโภชนาการแบบย่อ ใช้ในกรณีที่มีสารอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จากจำนวนที่กำหนดไว้ 15 รายการนั้น มีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ

 

 

วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ

 

Cr. www.manager.co.th

 

     1. ดูปริมาณหนึ่งหน่อยบริโภค เป็นปริมาณการกินต่อครั้งที่แนะนำให้ผู้บริโภครับประทาน

     2. ดูจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ เป็นจำนวนที่บอกว่าถ้ากินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะแบ่งกินได้กี่ครั้ง

     3. ดูคุณค่าทางโถชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ว่าจะได้พลังงานเท่าใด สารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด

     4. ดูน้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

 

 

สารอาหารบนฉลากที่ผู้เป็นเบาหวานต้องรู้

 

1. คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล

     ผู้ที่เบาหวานควรพิจารณาคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดต่อหนึ่งหน่วยบริโภคว่ามีปริมาณมากหรือน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้ต่อมื้อและต่อวัน รวมทั้งปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมทั้งปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีปริมาณกี่กรัม (น้ำตาล 1 ช้อนชาให้คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม) ถ้ากินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 15-18 กรัม ต้องแลกเปลี่ยนอาหารชนิดนั้นกับข้าวแป้ง 1 ทัพพี

 

2. ใยอาหาร

     ปริมาณใยอาหารในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีปริมาณกี่กรัม โดยทั่วไปควรได้ใยอาหารวันละ 40 ถึง 45 กรัมต่อวัน ซึ่งจะได้จากผัก ผลไม้ รวมทั้งบางส่วนได้จากข้าวแป้งและธัญพืชที่ขัดสีน้อยด้วย ส่วนในเด็กควรได้ใยอาหารโดยคิดจากอายุ (ปี) บวกกับ 5 กรัมต่อวัน

 

3. ไขมัน

     โดยจะบอกเป็นปริมาณไขมันทั้งหมด (รวมทั้งไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง และไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว) ปริมาณที่ได้ไม่ควรเกินร้อยละ 30 และคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน

 

4. โซเดียม

     ปริมาณโซเดียมไม่ควรเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาของโรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง

 

 

ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ GDA : Guideline Daily Amounts)

 

     ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ คือ การแสดงสัญลักษณ์ทางโภชนาการเพิ่มเติมจากการแสดงฉลากโภชนาการ โดยแสดงในรูปแบบเป็นค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม โดยทั่วไปจะแสดงคู่กับฉลากโภชนาการแบบย่อ

 

  โดยอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ได้แก่ อาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 305 (พ.ศ.2550) คือ

     1. มันฝรั่งทอดหรือแบกรอบ

     2. ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ

     3. ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง

     4. ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต

     5. เวเฟอร์สอดไส้

 

 

ตัวเลขแถวบนแสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ต่อบรรจุภัณฑ์

ตัวเลขแถวล่างแสดงค่าร้อยละปริมาณพลังงานและสารอาหาร

 

 

ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน

 

ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากกว่าปริมาณสูงสุดที่แนะนำ ดังนี้

 

พลังงาน

(กิโลแคลอรี)

น้ำตาล

(กรัม)

ไขมัน

(กรัม)

โซเดียม

(มิลลิกรัม)

2,000

65

65

2,400

 

 

 

………………………………………………………………………

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณรูปภาพจาก : www.thaihealth.or.th / www.thongjoon.com / www.manager.co.th

ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ


Admin :
view
:
3784

Post
:
2016-09-08 12:07:44


ร่วมแสดงความคิดเห็น