โรคกระเพาะอาหาร โรคภัยที่ไม่ไกลตัว
2016-09-07 13:04:31

โรคกระเพาะอาหาร โรคภัยที่ไม่ไกลตัว

     โรคกระเพาะอาหารอาหาร หรือ แผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ

 

สาเหตุ

   เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้นในกระเพาะอาหารร่วมกับ เยื่อบุอาหารมีความสามารถต้านทานกรดได้ลดลงหรือมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุลำไส้ได้ลดลง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น

 

ปัจจัยส่งเสริม

     1. ยา ยาลดไข้และยาแก้ปวดส่วนใหญ่ เช่น ยาแอสไพริน ยาทัมใจ ยาลดการอักเวบ (NSAIDs) ยารักษาโรคกระดูก และข้ออักเสบ (ยกเว้นยาพาราเซตามอล) จะมีฤทธิ์ทำให้ความต้านทานของเยื่อกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง

    2. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินจากบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุกระเพาะอาหารน้อยลงทำให้แผลในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าได้

     3. ความเครียดจะไปกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติทำให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น

    4. การกินอาหารที่มีรสเผ็ดจัดจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้โดยตรงในขณะที่อาหารหมักดอง ชา กาแฟ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น

    5. เชื้อโรค เฮลิโคแบตเตอร์ ไพโลไร เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร หรือทำให้แผลที่เกิดแล้วหายช้าเกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้

 

อาการ

  1. ปวดแสบหรือจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดมักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว จะบรรเทาได้ด้วยอาหาร หรือ ยาลดกรด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากหลังรับประทานอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น

     2. อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ มานาเป็นปี

     3. ปวดแน่นท้องกลางดึก หลังจากหลับไปแล้ว

    4. ปวดแน่น ท้องอืด มีลมมากในท้อง อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารทำให้อิ่มง่ายกว่าปกติ กินได้น้อยลง เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด

 

 การวินิจฉัย

      1. การชักประวัติ ผลการตรวจร่างกาย

      2. การถ่ายภาพรังสีหลักจากผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรี่ยม

     3. การส่องกล้อง เข้าไปดูภายในระบบทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscope) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการวินิจฉัยเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไรได้

 

 

การรักษา

     การรับประทานยาลดกรดร่วมกับปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

 

การปฏิบัติ

   1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องนานประมาณ 6-8 สัปดาห์ และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้หายขาด

     - กรณีเกิดแผลร่วมกับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

      2. ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 3 มื้อ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัดเปรี้ยวจัด รวมทั้งอาหารที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการกำเริบ

       3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอดลมและบุหรี่

    4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาชุด ยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อชนิด NSAIDs ถ้ามีอาการปวด ยาที่ปลอดภัยสามารถรับประทานได้คือ ยาพาราเซตามอล พยายามทำให้จิตใจให้สบาย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความตึงเครียดต่างๆ และรู้จักวิธีผ่อนคลาย

 

อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์

    1. อาการตกเลือดในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดถ่ายเลือด ถ้าเสียเลือดมากจะทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม

     2. กระเพราะอาหารทะลุ ในรายที่มีแผลเรื้อรังอยู่นานโดยไม่ได้รับการรักษา แผลอาจลึกมากขึ้นจนทะลุได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรงหน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก

      3. กระเพาะอาหารอุดตัน ในรายการที่เป็นแผลเรื้อรังเป็นๆ หายๆ จะเกิดพังผืดหดรัดตัว ทำให้ช่องผ่านของอาหารแคบลง ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีการอาเจียนหลังรับประทานอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

 

 

 

…………………………………………………………………………………

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิกดล

ขอบคุณรูปภาพจาก : www.biocerathai.com / www.healthcarethai.com / www.phyathai-sriracha.com / m.naewna.com

ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ


Admin :
view
:
3988

Post
:
2016-09-07 13:04:31


ร่วมแสดงความคิดเห็น