อันตรายจากไฟฟ้าและฟ้าผ่าในฤดูฝน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่หน้าฝนแล้ว นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ แล้ว ยังอาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งต้องระมัดระวังกันด้วย เราจึงนำภัยอันตรายต่างๆ ที่ต้องพึงระวังในหน้าฝนนี้มาฝากกัน ซึ่งเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ พร้อมแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เบื้องต้น โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้ :
อันตรายจากไฟฟ้าภายในบ้าน
ข้อควรระวังเบื้องต้น
วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าช่วงฤดูฝน นั่นคือการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอซึ่งในช่วงฤดูฝน ของประเทศทุกปีนั้น สภาพอากาศมักจะมีลมกระโชกรุนแรงหรือพายุ โดยตลอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยทางไฟฟ้าได้ หลากหลายหน่วยงานมีความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงทำการแนะนำวิธีป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าสู่ประชาชนให้ทราบกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ซี่งข้อควรระวังเพื่อป้องกันภัยเบื้องต้นมีดังนี้ ทำการตรวจสอบหรือเช็คว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วภายในบ้านหรือสถานที่พักอาศัยของเราหรือไม่ โดยให้ลองทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่าแผ่นจานยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนก็แสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเกิดรั่ว ให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน หรือหากมีเครื่องตัดไฟ ก็หมั่นตรวจสอบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ อีกทั้งหากเกิดฝนฟ้าคะนอง ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ทุกชนิดรวมถึงโทรศัพท์มือถือ และ ไม่สวมใส่เครื่องประดับโลหะ รวมทั้งไม่ควรติดตั้ง เสาอากาศวิทยุ โทรทัศน์ ใกล้สายไฟฟ้า และในส่วนกรณีอาคารสูงนั้น ควรทำการติดตั้งสายล่อฟ้าเพื่อป้องกันฟ้าผ่า พร้อมทั้งตรวจสอบต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า หากพบว่ามีกิ่งไม้ที่กีดขวางแนวสายไฟฟ้า หรือต้นไม้ที่หักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้รีบทำการโทรแจ้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาทำการแก้ไขโดยด่วน ไม่ควรปล่อยเรื่องทิ้งไว้ อีกทั้งไม่ควรตัดหรือ ขนย้ายต้นไม้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูดได้เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญชำนาญเพียงพอ
อันตรายจากไฟดูดและไฟช็อต
ข้อควรระวังเบื้องต้น
อุบัติเหตุที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน มักเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว ซึ่งวิธีป้องกันการโดนไฟฟ้าดูดนั้น เมื่อเราตัวเปียกห้ามทำการเปิดสวิสต์ไฟหรือเสียบปลั๊กไฟ เพราะอาจจะทำให้โดนไฟฟ้าดูดได้ ทั้งยังควรหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟต่างๆให้พร้อมอยู่โดยตลอด ที่สำคัญควรติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือทำการต่อสายดิน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี และสำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดนั้นส่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ที่จะเข้าไปทำการช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือกลับกลายเป็นผู้ถูกไฟดูดเสียชีวิตไปด้วย ฉนั้นหากผู้ที่ถูกไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟ ให้ทำการถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงก่อนเพื่อเป็นการตัดแหล่งจ่ายไฟ จากนั้นให้ใช้วัสดุไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้าแห้งพันมือหนาๆ ทำการผลักหรือฉุดดึงผู้ป่วยให้หลุดออกโดยเร็ว พร้อมกับตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ หากหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอดโดยเร่งด่วย พร้อมกับทำการรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วต่อไป
อันตรายจากฟ้าผ่า
ข้อควรระวังเบื้องต้น
คำเตือนที่ว่าหากเกิดฟ้าผ่าควรงดใช้โทรศัพท์มือถือ คือบอกถึงการป้องกันการถูกฟ้าผ่าว่า หากอยู่ในที่โล่งแจ้งให้หาสถานที่หลบที่มีความปลอดภัย เช่น ภายในตัวอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่แข็งแรงมั่นคง และควรหลีกเลี่ยงการหลบบริเวณใต้ต้นไม้ หากหาที่หลบไม่ได้ให้หมอบนั่งยองๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่นำไฟฟ้าทุกชนิด อาทิ เงิน ทอง นาค รวมไปถึงควรงดการใช้โทรศัพท์มือถือในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง อย่างไรก็ตามหากผู้ถูกฟ้าผ่าหัวใจหยุดเต้น หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ตามความรู้ที่ได้รับมาหรือคำแนะนำต่างๆจากหลากหลายองค์กรที่เผยแพร่ความรู้ในการป้องกันและรับมือภัยพิบัติให้กับประชาชนทั่วประเทศ และตัวเราเองก็ควรศึกษาและเรียนรู้ไว้เช่นกัน
ดังนั้นจากช่วงนี้ที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง เราๆท่านๆควรระมัดระวังอันตรายจากสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงหรืออยู่ห่างจากป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และ สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง เพื่อความปลอดภัยของตนเอง เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมานั้น อาจส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า เนื่องจากต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า อาจหักโค่นพาดลงมาทำให้ เสาไฟฟ้าล้ม หรือสายไฟฟ้าขาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นสำรวจต้นไม้บริเวณบ้านของตนเอง ให้กิ่งไม้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่ไประหรือไปพาดกับสายไฟฟ้า เพราะอาจส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ รวมไปถึงอาจจะทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วมาตามกิ่งไม้ที่เปียกน้ำจากฝนฟ้าคะนองได้ ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์และสายไฟฟ้าภายในและภายนอกบ้านให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และไม่ให้มือเปียกในการสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ในส่วนของห้างร้านบริษัทต่างๆที่ติดตั้งป้ายโฆษณาและหรืออุปกรณ์ต่างๆที่อาจมีความเสี่ยง ควรจะต้องทำการตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างป้ายโฆษณาและหรืออุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง และปลอดภัยอย่างสูงสุดโดยตลอด
หากประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พบเห็นสายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงชำรุด พิจารณาแล้วว่าไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงเขตได้ทุกเขต และที่ MEA CALL CENTER โทร. 1130 และสามารถแจ้งผ่าน MEA Smart Life แอปพลิเคชันของการไฟฟ้านครหลวง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากพบเหตุอื่นๆ เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง สายไฟฟ้าถูกเกี่ยวขาด ระบบจำหน่ายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด ฯลฯ สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (PEA Call Center) ทางหมายเลข 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็น "มหานคร แห่งความปลอดภัยเพื่อพวกเรานั่นเอง ^^
=======================================================
ข้อมูลประกอบจาก เว็บไซต์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
- 5 สิ่งป้องกันภัยเมื่อฝนมา | เรื่องโดย : นายฉัตร์ชัย นกดี|วันที่ 09 มิถุนายน 2559
- ระวังภัยจากไฟฟ้า ช่วงหน้าฝน โดย Prawpan Suriwong|วันที่ 13 ตุลาคม 2558
- team content www.thaihealth.or.th
ข้อความสัมภาษณ์ จาก นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
/ นางอุดมพร พัฒนโกวิท ผู้อำนวยการเขตคันนายาว / รองเลขาธิการ สพฉ.
ข้อมูลเพิ่มเติม จาก http://news.voicetv.co.th/thailand/124499.html
ข้อมูลเพิ่มเติม จาก http://www.mea.or.th/content/detail.php?mid=87&did=2051&tid=&pid=
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ thaihealth.or.th และ tartoh.com