E-Book หรือ หนังสือ แบบไหนโดนใจผู้อ่าน?
2016-06-14 18:16:53

E-Book หรือ หนังสือ แบบไหนโดนใจผู้อ่าน?

 

 

 

     ในยุคที่ทันสมัยทำให้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งหนังสือ ที่ก่อนหน้านั้นเราต้องอ่านเฉพาะกันแบบของหนังสือรวมเล่มที่เป็นกระดาษเท่านั้น ยิ่งหนังสือหนาๆ ยิ่งยากต่อการพกพาไปไหนมาไหน ทำให้ไม่ค่อยสะดวกในการอ่านแบบนอกบ้านสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้อ่าน สามารถอ่านได้แบบสะดวกสบายมากขึ้นโดยผ่าน สิ่งที่เรียกว่า E-Book” หรือชื่อเต็มๆ ของมันก็คือ Electronic Book ทำให้ง่ายต่อการพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายและสะดวกแค่มีเพียงสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ต่างๆ ที่ทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์ก็สามารถอ่านอะไรก็ได้ ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน เมื่อไหร่ ยังไง?

 

 

 

 

E-Book คือ อะไร ?

 

 

     E-Book” ย่อมาจากคำว่า “Electronic Book” หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารทางอิเล็กโทรนิกส์ จะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง โดยส่วนมากจะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ปกติแล้วมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์    คุณสมบัติของหนังสืออิเล็กโทรนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กโทรนิกส์ยังมีสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และยังสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ด้วย อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กโทรนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไปเพราะเราสามารถเปิดอ่านได้ทันที แต่อาจจะเกิดปัญหากับผู้ที่ใช้เทคโนโลยีไม่เก่งอย่างผู้สูงอายุเนื่องจากการเข้าที่อาจจะซับซ้อน และอาจะเกิดปัญหาต่อสุขภาพทางสายตาได้

 

 

 

ข้อดีของการใช้ E-Book

1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก

2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ

3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา

4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ

5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (CD 1 แผ่นสามารถเก็บ E-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)

6. อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย

7. ทำสำเนาได้ง่าย

8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ

9. อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ

10. สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที

11. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษ

 

 

ข้อเสียของการใช้ E-Book

1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่

2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์

3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิคในการอ่านหนังสือจริงๆ

4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง Hardware หรือ Software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า

5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี กันไม่ให้เสียหรือสูญหาย

6. การอ่านมากๆ ทำให้เกิดอันตรายต่อสายตา

7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย

 

 

     ซึ่งปัจจุบันหลายสำนักพิมพ์ได้เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ E-Book มากขึ้น เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการผลิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ กระดาษ หมึกพิมพ์ ถุงสำหรับแพ็ค ค่าแรงพิมพ์ ค่าการกระจายสินค้า สายส่ง รวมทั้งการเก็บรักษา ซึ่งการใช้จ่ายทั้งหมดนี้ไม่ใช่น้อยๆ แต่ถ้าทำเป็น E-Book ก็ตัดส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดทิ้งไป ทำต้นฉบับเสร็จก็อัพขึ้นให้โหลดให้อ่าน แต่อาจต้องเสียเงินในส่วนผู้ดูแลด้าน IT และระบบมาแทนซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะน้อยกว่า ส่วนข้อดีของผู้อ่านคือ ราคาที่ถูกลง ได้อ่านก่อนฉบับหนังสือ สะดวกสบายต่อการซื้อและค้นหา แต่จะเสียอรรถรสในการอ่านเป็นอย่างมาก

 

 

 

     ในส่วนค่าลิขสิทธิ์ปกติในส่วน E-Book กับหนังสือเล่มจะแยกกัน เชื่อว่าตอนนี้คงพยายามผลักดันให้คนมาอ่าน E-Book มากขึ้นโดยพยายามออก E-Book ก่อนหนังสือเล่มเพื่อให้คนอ่าน แต่เชื่อว่าเล่มที่เคยออกเป็นหนังสือออกมาหลายเล่มแล้วคงยังออกต่อไปแต่น่าจะออกช้ากว่า E-Book 1-2 เล่ม เพื่อการตลาด ส่วนเรื่องใหม่ๆ คงต้องดูกระแสการตอบรับว่าคุ้มไหมที่จะออกรวมเล่ม

 

 

 

     ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือ E-Book เราก็ควรช่วยกันสนับสนุนสินค้าอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์เพื่อให้ทางสำนักพิมพ์มีรายได้และออกหนังสือใหม่ๆ มาให้อ่านกันเรื่อยๆ ตลอดไปจนถึงเพื่อการอุดหนุนนักเขียนโดยตรงเพื่อให้นักเขียนเหล่านี้มีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้เราได้อ่านผลงานดีๆ กันต่อไปนะครับ

 

 

…………………………………………………………......................

 

 

ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ


Admin :
view
:
3815

Post
:
2016-06-14 18:16:53


ร่วมแสดงความคิดเห็น