ฟิโลโฟเบีย (Philophobia) คืออะไร? คนกลัวความรัก เท่านั้นถึงจะรู้ !!
2016-06-14 18:08:00
เพราะความรักไม่ได้เป็นสิ่งสวยงามสำหรับทุกคนเสมอไป เพราะขณะที่หลายคนกำลังชื่นมื่นกับอาการอินเลิฟ คนบางกลุ่มกลับเลือกที่จะหลีกหนีจากความรู้สึกที่มีผลเป็นลบกับตัวเขา ซึ่งสำหรับใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้ นั่นอาจหมายความว่า คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็น โรคฟิโลโฟเบีย (Philophobia) หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "โรคกลัวความรัก" ก็เป็นได้
โรคฟิโลโฟเบีย (Philophobia) คืออะไร?
เป็นภาวะป่วยทางจิต ซึ่งมีอาการปฏิเสธความรู้สึกพิเศษจากรูปแบบสัมพันธ์เชิงชู้สาว ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือรับความรักก็ตาม โดยเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือความรู้สึกรัก นอกจากจะทำให้รู้สึกกังวลใจแล้ว ยังมีผลข้างเคียงที่แสดงออกทางกายภาพด้วย ทั้งนี้แม้ผู้มีอาการดังกล่าวจะเป็นฝ่ายรู้สึกหวั่นไหวกับใครเสียเอง แต่สุดท้ายก็จะจบลงไม่สวย ด้วยเพราะไม่กล้าเปิดใจให้กับความรักนั่นเอง
อาการของผู้ป่วยเป็นโรคฟิโลโฟเบีย (Philophobia)
1. ทนรับกับความรู้สึกหวั่นไหว ทั้งจากตัวเองหรือจากผู้อื่นไม่ได้ จนเครียด
2. ปิดโอกาส ไม่เปิดใจกับใคร มักห้ามใจตัวเอง และปฏิเสธความสัมพันธ์ที่จริงจังกับใคร
3. หลีกเลี่ยงกับอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คู่รักหรือฉากหวานซึ้ง
4. รักสันโดษ ชอบอยู่คนเดียว และชอบสร้างกำแพงกับผู้อื่น จนอาจถูกมองว่าเป็นพวกโลกส่วนตัวสูง เพื่อปกป้องตัวเอง
5. หวาดระแวง และระแวดระวังกับรูปแบบความสัมพันธ์ลึกซึ้งที่เข้ามา
6. เมื่อเผชิญกับสถานการณ์รักๆ ใคร่ๆ อาจมีอาการทางกายภาพอย่าง เหงื่อแตก ร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง มือเท้าชา อาเจียน หรือถึงขั้น เป็นลมหมดสติ
สาเหตุของการเกิดโรคฟิโลโฟเบีย (Philophobia)
โรคนี้ จัดเป็นโฟเบียชนิดเฉพาะเจาะจง ซึ่งพบเป็นอันดับต้นๆ และก็มาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ แยกได้ดังต่อไปนี้...
1. เติบโตจากครอบครัวที่มีปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว จนปลูกฝังกลายเป็นทัศนคตริไม่ดี ฝังลึกมาตั้งแต่เด็กๆ
2. การหล่อหลอมทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี หรือศาสนาที่เข้มงวด จนหล่อหลอมซึมลึกเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก จากความเกรงกลัวต่อบทลงโทษ
3. ประสบการณ์ความรักที่ล้มเหลวซ้ำซาก จนเกิดเป็นบาดแผลฝังลึกให้กับจิต ทำให้ไม่อยากต้องมีความรัก ที่สุดท้ายก็จะต้องผิดหวังอีก
ทั้งนี้ สำหรับใครที่ต้องสงสัยตัวเองว่าอาจป่วยเป็นโรคนี้ ก็อย่าพึ่งตื่นตกใจไป เพราะโรคนี้ไม่ถือเป็นอาการทางจิตที่ร้ายแรง แต่หากส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน หรือลามไปถึงคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกลายมาเป็นผลเสียต่อสุขภาพตัวเราด้วยแล้ว ก็ควรเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์เป็นดีที่สุด ซึ่งการรักษานั้น ก็มีตั้งแต่ให้สื่อบำบัด การฝึกให้เผชิญหน้า ไปจนถึงการรักษาด้วยยา ซึ่งงทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน
เอาเป็นว่าดูแลสุขภาพกันแล้ว อย่าลืมดูแลหัวใจตัวเอง และคนข้างๆ กันด้วยล่ะ :)
แหล่งข้อมูล/รูปภาพ : Storylog | kapook.com
By : Admin@no (แอดมินโนเอง)
Admin :
view
:
41153
Post
:
2016-06-14 18:08:00
ร่วมแสดงความคิดเห็น