ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีคุณค่าด้วยการเขียนบันทึกทบทวนความคิดและเอกซเรย์ปีละครั้งจดจำให้ขึ้นใจ V-W-X Create ways to happiness
2016-04-05 16:56:36

ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีคุณค่าด้วยการเขียนบันทึกทบทวนความคิด

และเอกซเรย์ปีละครั้งจดจำให้ขึ้นใจ

 

V-W-X Create ways to happiness

(ValueWriteX-ray)

 

 

Value ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีคุณค่า

   ชีวิตของคนเราทุกคนล้วนมีคุณค่ามากเกินกว่าที่จะใช้อย่างไม่รู้ค่า แต่หลายต่อหลายคนก็ใช้ชีวิตแบบลืมนึกถึงคุณค่าคุณค่าที่ธรรมชาตินั้นให้มา การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าคงต้องเริ่มจากการค้นหาตัวตนที่แท้จริงให้ได้เสียก่อนว่าข้อดีที่เป็นคุณค่าภายในและภายนอกของตนนั้นคืออะไร และมีอะไรบ้างที่เป็นข้อด้อยขอเสีย การหาข้อด้อยนั้นไม่ใช่เพื่อซ้ำเติมตัวเอง แต่หาเพื่อจะได้รู้ว่าเรานั้นควรที่จะปรับปรุงข้อด้วยนั้นให้ดีขึ้นอย่างไร การหาข้อดีข้อด้อยแบบง่ายๆ นั้นอาจจะใช้วิธีการเขียน การสังเกตตัวเอง ฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง แล้วนำมาประมวลผลอีกครั้งหนึ่ง ข้อสำคัญคือต้องยอมรับความเป็นจริง อย่าพยายามโกหกตัวเอง เพราะการยอมรับตัวเองจะนำไปสู่การยอมรับตัวตนของผู้อื่นอีกด้วย

   เมื่อได้รู้จักตัวเราเอง รู้ข้อดีข้อด้อยของตัวเราเองแล้ว ลองดูต่อไปว่าขณะนี้เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเราเองควรจะทำตามบทบาทหน้าที่แล้วหรือยัง และสิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นสิ่งที่ชอบหรืออยากจะทำหรือเปล่า สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้ง ประธานกรรมการ และ ซีอีโอของบริษัทแอปเปิล ได้เคยกล่าวเป็นสุนทรพจน์ให้กับเหล่านักศึกษาในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดว่า เขามักจะถามตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า ถ้าหากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิตเขา เขาจะอยากทำในสิ่งที่เขากำลังทำในวันนี้หรือเปล่า แล้วถ้าคำตอบคือ “ไม่” ติดต่อกันหมายวัน  เขาก็จะเปลี่ยนแนวทางหรือความคิดนั้นเสีย บางทีเราก็อาจจะต้องถามตัวเองด้วยประโยคเดียวกันแบบนี้บ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังลงมือทำนั้นมีคุณค่าพอกับชีวิตของเราหรือไม่

   การใช้ชีวิตอย่างไรให้คุ้มค่าและมีคุณค่านั้น เราต้องรู้จักทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองเสียก่อน การทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์กับตัวเองนั้นควรจะอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและความรับผิดชอบ แต่ถ้าจะให้ดี สิ่งที่เราต้องทำนั้นสามารถยังประโยชน์ให้กับผู้อื่นและผู้คนรอบข้างได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติมิตรสหาย เพื่อนฝูง และขยายวงกว้างไปสังคม การใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าและมีคุณค่า ไม่ใช่การทำอะไรเพื่อความสุขของเราเพียงอย่างเดียว การได้ใช้จุดดีในตัวเองเพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคมจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเราจะรู้สึกว่าชีวิตนี้เกิดมาช่าง “คุ้มค่า” และมี “คุณค่า” อย่างแท้จริง

 

 

Write เขียนบันทึกทบทวนความคิด

   การเขียนนั้นเป็นวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง และระบายความรู้สึกทั้งดีและร้ายที่คั่งค้างอยู่ในจิตใจได้อย่างดีเยี่ยม ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า กลุ่มคนตกงานวัยกลางคนที่ได้เขียนบันทึกประจำวัน สามารถหางานได้มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้เขียนบันทักเลย นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าการเขียนบันทึกประจำวันนั้นจะช่วยทำให้บรรเทาความรูสึกระทด ท้อแท้ ซึมเศร้า และอารมณ์ฉุนเฉียว อีกทั้งยังทำให้เกิดกำลังใจในการแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิตมากขึ้น นอกจากการเขียนจะส่งผลดีให้กับจิตใจแล้ว การเขียนยังมีส่วนส่งผลช่วยป้องกันและบำบัดโรคร้ายต่างๆ ได้ เมื่อไม่นานนี้มีนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมายืนยีชันว่าการเขียนช่วยลดบรรเทาอาการหอบหืด ข้ออักเสบ อาการปวดกล้ามเนื้อ และยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคร้ายอย่างโรคร้ายอย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคมะเร็งบางชนิดได้เป็นอย่างดี

   การเขียนไม่เพียงแต่เสริมสร้างความสุขขั้นพื้นฐานเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยวิธีการที่เรียบง่ายขึ้น เพราะเราจะค่อยๆ ตระหนักว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตนั้นคืออะไร เราก้าวมาถึงจุดไหน และต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงจะไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น ที่สำคัญเราจะรู้ว่าสิ่งใดมีความหมายอย่างแท้จริง และสิ่งใดควรที่จะตัดทิ้งออกไป เพื่อที่จะได้ลดความยุ่งยากและให้เวลากับสิ่งที่สำคัญมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังได้มองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น จากการได้ทบทวนความคิด ความเชื่อ และมุมมองที่เรามีต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องกลัวว่าผู้อื่นจะเห็นด้วยหรือไม่

   เราทุกคนนั้นล้วนเขียนบันทึกได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงประโยคที่สวยงามหรือความถูกต้องของภาษา เพราะการเขียนบันทึกเป็นการระบายความคิดและความรู้สึกที่มีอย่างจริงใจ ไม่ได้ต้องการความสวยหรูสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเขียน ให้หาเวลาว่างหลังเลิกงานหรือก่อนเข้านอนสักวันละ 10 นาที อยู่ในสถานที่สงบหรือห้องส่วนตัว แล้วเขียนสิ่งที่อยู่ในใจไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นเรื่องไร้สาระ ขัดต่อค่านิยมหรือน่าตลกในสายตาผู้อื่น เพราะบันทึกเป็นสมบัติส่วนตัวที่ไม่ได้เอาไปให้ใครอ่าน เมื่อเขียนเสร็จเราจะรู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย และอยากเขียนบันทึกทุกๆ วัน

 

 

X-ray เอกซเรย์ปีละครั้งจดจำให้ขึ้นใจ

   ด้วยวิถีชีวิตและหน้าที่การงานของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทำให้เราส่วนใหญ่ปล่อยปะละเลยหรือแกล้งหลงลืมการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญของการทำให้ชีวิตมีคุณภาพ และมีอายุยืนยาวออกไป ข้อดีของการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งคือ ทำให้พบความผิดปกติบางอย่างของร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคภัยจะลุกลาม นอกจากนี้หากต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ร่างกายก็จะฟื้นตัวได้รวดเร็ว และยังไม่ทำให้เราเสียเวลาหรือเสียค่ารักษาพยาบาลมากเกินความจำเป็นอีกด้วย

   ในปัจจุบันการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเป็นเรื่องง่ายดายมาก เพราะโรงพยาบาลหลายแห่งมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลในช่วงวัยต่างๆ จึงทำให้สะดวกในการตดสินใจใช้บริการ การตรวจเป็นโปรแกรมแบบนี้ ถ้าแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พบความผิดปกติก็จะแนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลตรวจให้ชัดเจน การตรวจสุขภาพประจำปีขั้นพื้นฐานควรประกอบด้วย

   - การตรวจร่างกายโดยแพทย์เพื่อหาความผิดปกติบางอย่าง

   - การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับเม็ดเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของระบบตับ ไต ตรวจหากรดยูริก ตรวจหาระดับไขมันต่างๆ ตรวจวัดระดับน้ำตาล

   - การตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของปอด เช่น มะเร็งปอด เชื้อวัณโรค และตรวจวัดขนาดของหัวใจ

   - การตรวจสุขภาพฟันและขูดหินปูน เพราะถ้าหากสุขปากและฟันไม่ดีจะส่งผลต่อการรับประทานอาหาร น้ำหนักตัว และระบบภูมิคุ้มกันโรค

   - การตรวจวัดความดันโลหิต โรคความดันโลหิต หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาด้วยการปรับเรื่องอาหารและออกกำลังกายโดยไม่ต้องกินยา เช่น โรคหัวใจ เส้นโลหิตในสมองแตก จนกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้

   - การตรวจหา HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จากสถิติพบว่าถ้าหากตรวจพบโรคนี้ในระยะเริ่มแรก จะสามารถมีอายุเฉลี่ยยืนยาวออกไปได้ถึง 24 ปี

   - การตรวจภายในและ PAP Smear สำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งในระบบแมมโมแกรม ส่วนผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อการผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรที่จะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากด้วย

   - การตรวจวัดระยะสายและโรคทางตา เราควรที่จะเริ่มพบกับจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาแบบละเอียดเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป (ในรายที่ไม่มีอาการใดๆ ทางาสายตามาก่อน) และตรวจซ้ำทุก 3-5 ปีต่อจากนั้น แต่ถ้ามีประวัติเป็นเบาหวาน เป็นโรคตา สายตาสั้นมาก ความดันโลหิตสูง ควรที่จะเริ่มตรวจตั้งแต่อายุน้อยกว่านั้น

   - การมีสุขภาพที่ดีเป็นต้นธารแห่งความสุขของชีวิตตนเอง ครอบครัว และลูกหลาน เป็นการเพิ่มเวลาของชีวิตให้เรานั้นได้มีโอกาสอยู่กับคนที่เรารัก หรือได้ทำในสิ่งที่อยากทำมากขึ้น

 

 

.................................................................................................

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือเส้นทางแห่งความสุข

ขอบคุณรูปภาพจาก : khaodedpattaya.com / firodosia.com / jediyuth.com / jediyuth.com / huffingtonpost.fr / pcko.moph.go.th / toptenthailand.com / artemieva.livejournal.com

เรียบเรียงนำเสนอโดยทีงานตาโต


Admin :
view
:
1944

Post
:
2016-04-05 16:56:36


ร่วมแสดงความคิดเห็น