เช็คก่อนสาย!! เหงื่อออกบ่งบอกโรคได้
2016-03-24 12:57:00
เพราะเหงื่อไม่เพียงเป็นผลผลิตจากกระบวนการคายความร้อนของร่างกาย จากกิจกรรมหรือสภาพอากาศร้อนๆ แต่ยังสามารถบอกอาการของโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับ "เหงื่อ" ให้มากขึ้นกว่าน้ำเค็มๆ ที่เกาะบนร่างกายเราดีกว่า...!!
เหงื่อ (Sweat gland) มี 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่...
1. ชนิดที่สร้างจากต่อม Eccrine (Eccrine sweat gland) ซึ่งนอกจากจะไม่สร้างเหงื่อที่ก่อให้เกิดกลิ่นกายแล้ว ต่อมนี้ยังกระจายอยู่มากมายทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า ยกเว้นที่ริมฝีปาก ปลายอวัยวะเพศชาย และบริเวณปุ่มกระสัน(Clitoris) ของอวัยวะเพศหญิง
2. ชนิดสร้างจากต่อม Apocrine(Apocrine sweat gland) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นตัว และต่อมนี้จะเริ่มทำงานในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น อีกทั้งมีอยู่เฉพาะจุด ได้แก่ บริเวณรักแร้ อวัยวะเพศภายนอก และบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก
อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบต่อมเหงื่ออีกชนิดที่เรียกว่า ต่อม Apoeccrine (Apoeccrine sweat gland) เป็นต่อมมีเฉพาะที่รักแร้ และเริ่มทำงาน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเช่นกัน มีลักษณะคล้ายทั้ง ๒ ต่อมที่กล่าวไปแล้ว แต่จะสร้างเหงื่อได้คล้ายกับต่อม Eccrine แต่มีปริมาณมากกว่าถึง 10 เท่า และพบจำนวนต่อมได้มากกว่าคนทั่วไปมากเมื่อมีภาวะหลั่งเหงื่อมากในบริเวณรักแร้
เหงื่อภาวะปกติ
สามารถพบได้ในช่วงมีการออกกำลังกาย อากาศร้อน/อบอ้าว กินอาหารเผ็ด/อาหารร้อน ตื่นเต้น เครียด หรือมีไข้ และภาวะหลั่งเหงื่อมาก ก็เป็นภาวะที่พบได้บ่อย แม้จะไม่มีสถิติรองรับ แต่ได้มีการประมาณว่า ประชากรทั้งหมดสามารถพบภาวะนี้ได้ประมาณ 0.6 – 1% ได้ทุกเพศทุกวัยเท่าๆ กัน
เหงื่อภาวะความผิดปกติ
นอกจากภาวะทั่วไปที่สามารถทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อได้แล้ว การเปิดเหงื่อในบางกรณีก็สามารถสื่อถึงอาการของบางโรคได้อีกด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามกัน...
เหงื่อจากโรคเครียด
สังเกตดูง่ายๆ สำหรับอาการของโรคเครียด จะมีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้าผาก ร่วมกับอาการอื่น ๆ คนหัวใจเต้นแรง ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ และอาจมีอาการมือสั่นร่วมด้วย
เหงื่อจากวัณโรค
จะมีเหงื่อออกมาก ทั่วทั้งตัวในช่วงกลางคืน แม้ว่าจะนอนในที่ๆ มีอากาศเย็นก็ตาม ทำให้เกิดการนอนกระสับกระส่ายและมีอาการร่วมกับการไอเรื้อรังตลอดทั้งคืน
เหงื่อจากโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะขาดน้ำตาลมาก ๆ หรืออาการน้ำตาลต่ำ จะมีเหงื่อออกบริเวณทั่วลำตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่จะไม่ออกมาก ร่วมกับการมีอาการใจหวิวสั่นเหนื่อยหอบนิด ๆ คล้ายจะเป็นลมควบไปด้วย
เหงื่อจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือคอพอก
จะมีเหงื่อออกบริเวณทั่วลำตัวโดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ ร่วมกับอาการมือสั่นหงุดหงิด ตกใจง่าย ผมร่วง ตาโปน และจะรู้สึกหิวน้ำบ่อยกว่าปกติ
เหงื่อจากโรคหัวใจ
จะมีอาการเหงื่อแตกร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยหอบง่าย โดยเฉพาะช่วงที่ออกกำลังกาย ยิ่งถ้าหากมีอาการแน่นหน้าอก และสังเกตได้ชัดว่าเหงื่อออกบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้าในเวลาที่ออกกำลังกายแล้วด้วยนั้น แสดงว่าคุณมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มาก
เหงื่อจากอาการใกล้หมดประจำเดือน
สำหรับสาว ๆ ที่ใกล้หมดประจำเดือนหรืออยู่ในช่วงวัยทองนั้น สมองจะสั่งการให้ฮอร์โมนเพศหญิงหลั่งน้อยลง ทำให้มักจะมีเหงื่อออกในช่วงเวลากลางคืน
อาการเหงื่อออกลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมานั้น แม้สามารถบ่งบอกโรคได้ แต่เราก็ควรสังเกตอาการร่วมอย่างอื่นที่ตามมาด้วย ที่สำคัญ คือ หากใครเป็นคนมีเหงื่อากอยู่แล้ว การดูแลความสะอาดและเสื้อผ้าที่สวมใส่ถือเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเพื่อสุขอนามัยและสุขภาพของตัวคนเอง ตลอดจนบรรยากาศของคนรอบข้างอีกด้วย
แนวทางการรักษา
อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาเรื่องเหงื่ออยู่ ก็มีวิธีการรักษาหลายวิะีด้วยกัน ทั้ง ทายา Antiperspirants, กินยา, ฉีดยาโบทอก, การใช้กระแสไฟฟ้า (Iontophoresis) ไปจนถึงวิธีผ่าตัด หรือการจี้ปมประสาท (Ga nglion) ซึ่งหากไม่ใช่ระยะเวลารกษาสักระยะ ก็อาจต้องทำการรักษาหลายครั้ง หรือมีค่าใช่จ่ายค่อนข้างสูง
ซึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะหลั่งเหงื่อมากเนื่องจากป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้อง ก็มีวิธีการรักษาอีกวิธี นั่นคือการทำการรักษาจากโรค ซึ่งเป็นต้นเหตุโดยตรง หรือการปรับเปลี่ยนยา เมื่อเกิดจากผลข้างเคียงของยา เป็นต้น
และนี่ก็คือสาระทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเหงื่อๆ วันนี้...
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม : หลักเมืองออนไลน์
By : Admin@no (แอดมินโนเอง)
Admin :
view
:
5699
Post
:
2016-03-24 12:57:00
ร่วมแสดงความคิดเห็น