ธปท.ออกธนบัตร 1,000 บาท แบงก์พันแบบใหม่ แบบที่ 16
ใช้ เทคโนโลยีใหม่ ปลอมแปลงยาก สังเกตง่าย
ผู้บกพร่องทางสายตาสะดวกต่อการตรวจสอบ
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ " พระปิยมหาราช " ในวันที่ 21 ส.ค. 2558
ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกธนบัตร 1,000 บาท แบบที่ 16 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ " พระปิยมหาราช " ใช้เทคโนโลยีใหม่ ปลอมแปลงยาก เริ่มใช้ 21 ส.ค.นี้ สามารถแลกไปใช้ได้ทั่วไปตามธนาคารทุกแห่ง เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 17 ส.ค. 2558 นี้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท. ได้ทำการเปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค. 2558 นี้ เป็นต้นไป
ธปท. จะนำธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบใหม่ (แบบ 16) ออกใช้ โดยธนบัตรชนิดราคาดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช จึงออกแบบให้เรื่องราวในธนบัตร แสดงถึงพระราชกรณียกิจอันสำคัญของพระองค์ นอกจากนี้ยังได้พัฒนารูปแบบให้สวยงาม และมีเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงที่ทันสมัย เพื่อให้ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงผู้บกพร่องทางสายตาสามารถตรวจสอบได้ง่าย ทั้งนี้ ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทมีขนาดกว้าง 72 มิลลิเมตร และยาว 162 มิลลิเมตร สีโดยรวมเป็นสีน้ำตาล เช่นเดียวกับแบบปัจจุบัน โดยมีลักษณะกันการปลอมแปลง คือ ลายน้ำ พระบรมฉายาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และตัวเลข ๑๐๐๐ ที่มีความโปร่งแสงพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง นอกจากนี้ หมึกพิมพ์พิเศษสลับสีพร้อมตัวเลขแฝง ลายประดิษฐ์สีทองจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว เมื่อพลิกเอียงธนบัตร ขณะที่ ภายในมีตัวเลข 1000 ซ่อนไว้ หมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบแดง เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมอง มีแถบฟอยล์ 3 มิติ ผนึกไว้ตามแนวตั้งในแถบมาตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.2554 ด้านแถบสี่เหลี่ยมเคลื่อนไหวสลับสี ฝันในเนื้อกระดาษ มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะเมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสีม่วงเคลื่อนไหว และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ด้านสัญลักษณ์ สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา เน้นนูนแนวนอนเรียง ลดหลั่นกัน นำสู่สัญลักษณ์อักษรเบลล์ ที่พิมนูนเป็นรูปดอกไม้ 4 ดอก แทนอักษร T ที่ย่อ Thousand สาเหตุที่ออกแบบ 16 ในวันที่ 21 ส.ค. 2558 นั้น เพราะเป็นวันที่ ร.5 ประกาศเลิกทาส ซึ่งธปท.มีธนบัตรใหม่ในสต๊อกกว่า 100 ล้านฉบับ หมุนเวียนแลกจ่ายได้ 3 - 4 เดือน จากนั้นจึงจะค่อยๆ ทำการทยอยพิมพ์เพิ่มขึ้น
โดยประชาชนสามารถทำการแลกจ่ายธนบัตรใหม่นี้ได้จากสถาบันการเงินทุกแห่ง ทั้งธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐ ซึ่งปัจจุบัน มีแบงก์พันหมุนใช้จ่ายในระบบ 24% ของธนบัตรทั้งหมด ด้วยมูลค่าพันกว่าล้านบาท ส่วนแบงก์พันแบบ 15 นั้นจะทยอยเก็บฉบับที่ชำรุดกลับคืนมาเรื่อย ๆ โดยคาดการณ์ว่าภายใน 1 - 2 ปี แบบ 16 จะเข้ามาทดแทนได้ทั้งหมดตามกลไกตลาด โดยปัญหาการปลอมแปลงนั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะธนบัตร แบบที่ 16 นั้นมีเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถป้องกันการปลอมแปลง สังเกตได้ง่าย และเพิ่มมาตรการปลอมแปลงเข้ามามาก น่าจะป้องกันได้ ต่างจากแบบ 15 ที่ออกแบบมาห่างกันถึง 10 ปี ทีเดียว
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ขอขอบคุณข้อมูลจาก dailynews.co.th ภาพประกอบเพิ่มเติมโดย khaozaza.com
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP