คุณกัมพล บุ่งศรี ผู้จัดการส่วนบริการอินเทอร์เน็ต ฝ่ายสื่อสารข้อมูล บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT Telecom)และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และ IPv6 รองรับการใช้งานยุค ioTได้ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง Enjoy your Smart Life on Steady IP NetworkภายในงานioTDay Thailand 2015 : Leverage your Infrastructure to Internet 3.0 Eraซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม โรงแรมอโนมา โดยกล่าวว่า “คำว่า ioTหรือ Internet of Thingsไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับโลกยุคปัจจุบันโดยความหมายของ ioTที่เราสัมผัสได้ง่ายๆ คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือเหล่านั้นจะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันผ่านโครงข่ายระบบอินเตอร์เน็ตหรือสามารถเชื่อมต่อการทำงานต่อกันได้เอง สังเกตว่า ยุคนี้ เกือบทุกคนมีสมาร์ทโฟนใช้ มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์ รับส่งอีเมล์ ส่งไลน์กันได้เกือบทุกคน การบันทึกนัดหมายต่างๆ ก็ถูกตั้งในแทบเลตหรือมือถือแทนการจดบันทึก และในอนาคต ผู้บริโภคทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีควบคุมสิ่งของต่างๆ จากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านจากสมาร์ทโฟนตู้เย็นที่เตือนวันหมดอายุของอาหารได้ เป็นต้น
การมาถึงยุคของioT(Internet of Things)นอกจากความสะดวกสบายที่ได้รับเพิ่มขึ้นแล้ว ยังสร้างการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่นๆต่อไปอีกในอนาคตซึ่งผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเทคโนโลยีสารสนเทศได้คาดการณ์ว่าในปี 2020 หรืออีก 5 ปีจากนี้ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันชนิดต่างๆ จะเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า แสนล้านชิ้นโดยคน 1 คน จะเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ถึง 7 ชนิด อุปกรณ์ Sensor ต่างๆ ที่จะติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งสัญญาณต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะมีราคาลดลงไม่น้อยกว่า 80-90% จากราคาในปัจจุบัน นอกจากนี้ เทคโนโลยี Micro Electromechanical Sensors (MEMS) หรือการเชื่อมต่อโดยมี Sensor ที่เกิดขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหนึ่งกับสิ่งของในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือระหว่างอุตสาหกรรมกับหน่วยงาน โดยทั้งภาครัฐและเอกชน จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในองค์กรมากขึ้น
การวางโครงข่ายเพื่อขยายการรองรับการใช้งานของอุปกรณ์และการติดต่อสื่อสารต่างๆ ในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทั้งความเร็ว มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ที่สำคัญ จะต้องมีความปลอดภัย เนื่องจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ การรับ – ส่ง ข้อมูลก็จะมีจำนวนมหาศาล (Big Data)มากขึ้น ดังนั้น การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยจึงจะสามารถปกป้องข้อมูลเหล่านั้นได้ในปัจจุบัน ก็จะมี IPV6 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เนตได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
สำหรับ CAT datacomซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายสื่อสารข้อมูลรายใหญ่ของประเทศไทย ที่มีระบบโครงข่ายครอบคลุมมากที่สุดทั้งเครือข่ายเชื่อมโยง DWDM/SDH จนถึงโครงข่ายสื่อสารข้อมูลประสิทธิภาพสูงอย่าง MPLS ได้วางระบบโครงข่ายการบริการด้านการสื่อสารไว้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น บริการด้าน Internet Gateway CAT NIX บริการ Internet Exchange ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ,CAT THIX ซึ่งเป็นบริการ Internet Gateway เพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยระบบเคเบิลใต้น้ำของ CAT ได้เชื่อมต่อออกจากประเทศไทยไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุดในการใช้งาน นอกจากนี้ ยังมีบริการ Network Monitoring System ซึ่งสามารถดูแลแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด
ด้าน นายสุวัจชัย ลีสุจริตกุล บรรณาธิการบริหาร นิตยสารเอนเตอร์ไพรส์ ไอที โปร กล่าวถึงงาน ioTDAy Thailand ว่า “ สำหรับงาน ioTDay Thailand 2015ในวันนี้ ถือว่าเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ หน่วยงาน ที่เข้ามามอบความรู้และนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ของวงการไอทีให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน และในเร็วๆนี้ จะเกิดความร่วมมือใหม่ๆ คือ Thailand ioT Consortium ซึ่งจะเข้ามาดูแลเกี่ยวกับ ioTในประเทศไทยอย่างครอบคลุมทุกด้านอีกด้วย”
งานioTDay Thailand 2015 : Leverage your Infrastructure to Internet 3.0 Eraซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร Enterprise ITProและEworldร่วมด้วยผู้สนับสนุน อาทิ CAT Datacom , Ricoh (Thailand), Fortinet , Zebra Technologies (Thailand) Ltd., Cyberoam, Dell (Thailand) เป็นต้นโดยมีประชาชนผู้ที่สนใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงผู้ประกอบการในสาขาไอที และนักธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP