พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ประวัติย่อที่คุณควรรู้
2015-04-19 22:44:34

พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม 

ประวัติย่อที่คุณควรรู้

 

 

       ตามประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ขึ้นแจกชาวบ้านในราวปี พ.ศ.2409 หลังจากท่านได้สมณศักดิ์ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ได้ 2 ปี ต่อจากนั้นประมาณ 2-4 ปีคือประมาณ พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2413 ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธานที่วัดบางขุนพรหม เรียกกันว่า “พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม”ผู้อาราธนาให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ก็คือ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล “ธนโกเศศ” ข้าราชการเสมียนตราในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อท่านได้สร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ แจกแล้ว ก็คงมีดำริว่าน่าจะสร้างพระขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็น “อุเทสิกเจดีย์” (สิ่งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ตามคติของคนโบราณด้วย ด้วยความคิดนี้ประกอบกับเสมียนตราด้วง ผู้ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ได้อาราธนาให้ท่านสร้างพระพิมพ์บรรจุในพระเจดีย์ที่เสมีนตราด้วงสร้างที่วัด บางขุนพรหม การสร้างพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมจึงได้ดำเนินการขึ้น ในราว พ.ศ.2413 และสำเร็จเรียบร้อยก่อนที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพเพียง 2-3 ปีเท่านั้น 

        พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ นั้นท่านสร้างเป็นครั้งคราวจำนวนคงไม่มากนัก ระยะเวลาในการสร้างไม่เกิน 6 ปี (พ.ศ.2409-2415) เนื้อหาจึงมีมวลสารมากและพระมีเนื้อหนึกนุ่ม เพราะไม่ได้บรรจุกรุ จึงไม่ถูกอบในกรุจนพระแห้งและแกร่ง เช่น พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ความนิยม พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม จึงเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว ประชาชนต่างเชื่อมั่นในพระพุทธคุณดังจะเห็นได้มีการลักลอบนำพระสมเด็จฯ ออกมาจากกรุตลอดมา จนกระทั่งทางวัดต้องเปิดกรุอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2500 ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้นส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก ชิ้นส่วนพระสมเด็จฯ ที่พบในกรุ ทางวัดบางขุนพรหมก็นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้าง พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม รุ่น พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนเป็นอันมากเช่นเดียวกัน เรื่องที่ประมวลมาทั้งหมดแสดง ถึงความเป็นอมตะของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี กับพระพิมพ์ที่ท่านได้สร้างไว้และเชื่อแน่ได้ว่าจะเป็นพระเครื่องที่เป็นที่นิยมสูงสุดของประชาชนชาวไทย เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางธรรมที่ช่วยย้ำเตือนให้ทำความดีตลอดไป

        วัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่าน เจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนคร ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีก ส่วนหนึ่ง วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัด บางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยม อีกด้วย อนึ่งการสร้างพระสมเด็จบรรจุพระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นได้รับความ อนุเคราะห์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยให้ใช้แม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านที่เคยใช้ในการสร้างพระสม เเด็จวัดระฆัง คือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม และปรากฎสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดเกศไชโยปะปนอยู่ด้วย นอกจากพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังกล่าวแล้วนั้น ทางคณะท่านผู้สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมยังได้ให้นายช่างผู้แกะแม่พิมพ์ วัดระฆัง เจ้าเดิม แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้ง ๔ พิมพ์ ดังกล่าวแล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และยิ่งไปกว่านั้นยังให้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขึ้นมาในรูปทรง ใหม่อีก ๗ พิมพ์คือ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ หูช้าง พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่ พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ พระสมเด็จพิมพ์ไสยาสน์ รวมในกรุวัดบางขุนพรหมมีพระทั้งสิ้น ๑๑ พิมพ์ด้วยกัน และแต่ละพิมพ์ทรงยังมีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกมาก อย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย มีแม่พิมพ์ที่ต่างพิมพ์กันไปอีกหลายพิมพ์ ตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้น

        อนึ่ง การบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่ง ใหญ่ซึ่งนานทีปีหนจึงจักมีสักครั้งหนึ่ง ในครั้งต่อมาการบรรจุพระพิมพ์ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่นับเป็นการใหญ่และค่อนข้างจะเป็นทางการดังนั้น การบรรจุพระสมเด็จที่กรุวัดบางขุนพรหม ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่า ขานสืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฎมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฎเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้น แหละ ปรากฎว่าแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสียการตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมได้ ยุติลงพระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าจะไม่ปรากฎขี้กรุชัดเจน ผิวจะเรียบ จะมีอยู่บ้างก็เป็นชนิดราบนวลขาว ที่เรียกว่าฟองเต้าหูเท่านั้น ผิวพระจึงเรียบงดงามเพราะไม่มีขี้กรุผสมผสานกับดินกรุดินแน่นเป็นก้อนสี น้ำตาลแก่ ชนิดลอกขี้กรุออกนั้นต้องใช้หัวกรอฟันจึงจะเอาออกได้วัดบางขุนพรหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่อมตรส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณะปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๕) เมื่อได้พิจารณาถึงการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ท่านจะเห็นว่า การสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในลักษณะ ที่ค่อยทำค่อยไปไม่รีบเร่ง รวบรวมผงวิเศษวัสดุอาถรรพณ์และวัตถุมงคลได่แค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น มวลสารในพระสมเด็จวัดระฆัง จึงหลากหลายและมีความแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา เพราะการผสมมวลสารต่างกรรมต่างวาระกัน ผิดกับการสร้างพระสมเด็จที่วัดบางขุนพรหม เข้าใจว่าคงจะระดมชาวบ้านช่องมาช่วยกันสร้างกันเป็นงานใหญ่ครั้งมโหฬารให้ สำเร็จกันเลยทีเดียว มวลสารของสมเด็จกรุบางขุนพรหมส่วนมากจึงเป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันคือ เนื้อจะแก่ปูนหอย หรือปูนเพชร ผสมผสานด้วยผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากสูตรสนธิ์อันเป็นอักขระเลขยันต์ตามตำรา บังคับ เช่น ผงปถมัง อิถเจมหาราช ตรีนิสิงเห และผงนะอักขระวิเศษต่างๆ อันมีนะ ๑๐๘ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูกระด้างไม่หนึกนุ่มและอุดมไปด้วยมวลสารอันมีวัสดุมงคลและ อาถรรพณ์อย่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง หรือจะพูดโดยสรุปก็คือมวลสารจะหนักไปทางผงปูนหอยเมื่อได้สร้างพระสมเด็จบาง ขุนพรหม และการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสร้จเรียบร้อยแล้วจึงได้ทำการบรรจุในเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดบางขุนพรหม เสมียนตราด้วงได้จัดทำแบบพิมพ์พระเพิ่มคือ พิมพ์ไสยาสน์,พิมพ์พระสีวลี, และหมอนข้างเล็ก เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก เนื้อมวลสารเช่นเดียวกัน เรียกพระ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์เล็ก "พร้อมกันนั้นสมเด็จ(โต)ได้ปลุกเสก และบรรจุลงกรุในคราวเดียวกัน

*** พ.ศ. 2416 เกิดอหิวาตกโรคมีผู้มีจิตศัทธา อาราธนาพระสมเด็จฝนองค์พระสวดพระคาถาชินบัญชรผสมน้ำรักษาโรคหายได้ จึงมีผู้ลักลอบตกเบ็ดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมเพื่อรักษาโรค และให่เช่าบูชา เปิดกรุ ทั้งหมด 3 ครั้งไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ปีพ.ศ.2436 และ2459 เรียก"พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า"ไม่รวมการตกเบ็ดพระโดยวิธีปั้นดินเหนียวผูกเชือกหย่อนลงไปในกรุให้พระติดดินเหนียวออกมา..แต่เซียนพระนิยมเรียกพระที่ขโมยออกมาที่ไม่มีคราบกรุ..มากว่า..ส่วนพระที่มีราบกรุเรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"

*** พ.ศ.2485 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร และท่วมวัดบางขุนพรหม พระที่ได้มาหลังปีนี้จึงค่อนข้างขาวซีด และเกิดคราบกรุ ตระไคร่น้ำ และคราบขาวนักนิยมพระเครื่องเรียกฟองเต้าหู้ 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลโดย tatbangbon.com.a27.readyplanet.net : ขอบคุณภาพประกอบโดย self.libarts.psu.ac.th

ทีมงาน tartoh.com นำเสนอ

 


Admin : Tartoh
view
:
4421

Post
:
2015-04-19 22:44:34


ร่วมแสดงความคิดเห็น