ประวัติความเป็นมาของ Miss&Mister Deaf
ชมรมพัฒนาและส่งเสริมศิลป์คนหูหนวกไทย (PDAD) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสร้างนักแสดงสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน รวมทั้งผู้ที่มีความสามารถทางด้านการแสดงสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย และ เพื่อสนับสนุนด้านบันเทิงให้กับกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและกลุ่มบุคคลปกติในสังคมทั่วไป เป็นการพัฒนาภาษามือไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้ทั้งในบุคคลปกติ และคนพิการทุกประเภทเพื่อให้ทราบพร้อมกับการเรียนรู้ภาษามือของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทั้งนี้ชมรมพัฒนาและส่งเสริมศิลป์คนหูหนวกไทย ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อวงการบันเทิงของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น กลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินยังไม่เคยได้รับโอกาสเช่นนี้มาก่อน
ชมรมพัฒนาและส่งเสริมศิลป์คนหูหนวกไทย (PDAD) ในฐานะตัวแทนของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอีกทั้งเป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์กิจกรรม นอกจากนี้ ชมรมพัฒนาและส่งเสริมศิลป์คนหูหนวกไทยยังมีการจัดเวทีการประกวดอีกด้วย เมื่อปี 2011 ได้มีจัดเวทีการประกวดภายใต้ชื่อว่า การประกวด พิดีเอดีเดฟไทยแลนด์แพนจัน “PDAD DEAF THAILAND PAGEANT” ปี 2012-2013 กองประกวดได้มีการเปลี่ยนชื่อ มิสเดฟไทยแลนด์เวิร์ด “MISS DEAF THAILAND WORLD” มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์เวิร์ด “MISTER DEAF THAILAND WORLD” มิสเดฟพีดีเอดีไทยแลนด์ “MISS DEAF PDAD THAILAND” ปัจจุบันทางกองประกวดได้เปลี่ยนชื่อทางการอีกครั้ง ภายใต้ชื่อว่า มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ “Miss&Mister Deaf Thailand” โดยสืบจาก คุณวิโรจน์ องค์อภิชาติ ประธานชมรมพัฒนาและส่งเสริมศิลป์คนหูหนวกไทย เป็นผู้ได้รับสิทธิจาก มิสเดฟ แอลทีดี “MISS DEAF Ltd.” เป็นตัวแทนผู้เดียวทั้งมิสเตอร์เดฟกับมิสเดฟในประเทศไทย แถบให้โอกาสเพศที่สาม หรือ เพศสาวประเภทสองอีกด้วยชื่อว่า มิสเดฟควีนไทยแลนด์ “MISS DEAF QUEEN THAILAND” จัดประกวดเพื่อคัดเลือกผู้ประกวดที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เป็นตัวแทนสร้างชื่อเสียงของประเทศไทยไปประกวดร่วมกับนานาชาติ นำความภาคภูมิใจกลับมาให้กับประเทศไทย รวมทั้งคนพิการทุกประเภทและคนปกติ จึงเป็นที่มาของชื่อการประกวดว่า มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ และ มิสเดฟควีนไทยแลนด์ “MISS&MISTER DEAF THAILAND and MISS DEAF QUEEN THAILAND” โดยจัดเวทีการประกวด มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ "Miss&Mister Deaf Thailand" ทุกปีเพื่อส่งตัวแทนเข้าร่วมเวทีการประกวด Miss&Mister Deaf World และ Miss&Mister Deaf International ส่วนเวทีการประกวด มิสเดฟควีนไทยแลนด์ "Miss Deaf Queen Thailand" จัดทุกปีเว้นละปี
วัตถุประสงค์ของเวทีการประกวด มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 "Miss&Mister Deaf Thailand 2015
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะการทำงานให้กับบุคคลผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและบุคคลผู้ที่มีการได้ยิน ได้เรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน ผ่านการดำเนินกิจกรรมในภาคปฏิบัติ
2. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มความบกพร่องทางการได้ยินได้เสริมสร้างความมั่นใจ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้เรียนรู้ฝึกฝนเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
3. เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม ให้ดำรงตำแหน่งมิสเดฟไทยแลนด์ 2015 , มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 และรองทุกอันดับ
4. เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่ง มิสเดฟไทยแลนด์ 2015 , มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 กับรองทุกอันดับ และคณะฯ เป็นตัวแทนบุคคลไทยในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5. เพื่อคัดเลือกผู้ที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมเวทีการประกวด มิส&มิสเตอร์คนหูหนวกระดับนานาชาติ ได้แก่
- ผู้คว้า มิสเดฟไทยแลนด์ 2015 และ มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมเวที การประกวด MISS&MISTER DEAF WORLD 2015
- ผู้คว้า รองมิสเดฟไทยแลนด์ 2015 อันดับ 1 และ มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 อันดับ 1 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมเวที MISS&MISTER DEAF INTERNATIONAL 2015
- ผู้คว้า รองมิสเดฟไทยแลนด์ 2015 อันดับ 2 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมเวที MISS DEAF ASIA 2015
- เวทีระดับโลกอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงามของประเทศไทย ไปสู่นานาชาติ
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกวดเวที มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์
มิสเดฟไทยแลนด์ (MISS DEAF THAILAND)
1. เพศหญิงโดยกำเนิด
2. เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือหูตึง
3. ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดและมีภูมิสำเนาอยู่ในประเทศไทย
4. สามารถใช้ภาษามือได้เต็มรูปแบบ
5. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีและไม่เกิน 30 ปี ในวันปิดครบวันรับสมัคร (กรณีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)
6. มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร
7. ต้องเป็นโสด ไม่เคยสมรสทั้งโดยพฤติกรรมและพฤตินัย ไม่เคยประกอบพิธีการ, งานเลี้ยง, งานมงคลสมรส, จดทะเบียนสมรสหรือการใช้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยา รวมทั้งไม่เคยตั้งครรภ์ หรือให้กำเนิดบุตรมาก่อนแต่อย่างใด
8. ต้องไม่เคยถ่ายภาพศิลป์กึ่งเปลือย/โป๊เปลือย หรือภาพที่เข้าข่ายล่อแหลมตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ หรือแพร่ภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก่อน
9. ต้องไม่มีตำแหน่งในกองประกวด, องค์การที่มีการกุศลและความประพฤติอันเป็นที่รังเกียจเสื่อมเสีย ต่อจารีตขนบธรรมเนียม ศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย
10. เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ (MISTER DEAF THAILAND)
1. เพศชายโดยกำเนิด
2. เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือหูตึง
3. ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดและมีภูมิสำเนาอยู่ในประเทศไทย
4. สามารถใช้ภาษามือได้เต็มรูปแบบ
5. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีและไม่เกิน 35 ปี ในวันปิดครบวันรับสมัคร (กรณีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)
6. มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร
7. ต้องเป็นโสด ไม่เคยสมรสทั้งโดยพฤติกรรมและพฤตินัย ไม่เคยประกอบพิธีการ, งานเลี้ยง, งานมงคลสมรส, จดทะเบียนสมรสหรือการใช้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยา
8. ต้องไม่เคยถ่ายภาพศิลป์กึ่งเปลือย/โป๊เปลือย หรือภาพที่เข้าข่ายล่อแหลมตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ หรือแพร่ภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก่อน
9. ต้องไม่มีตำแหน่งในกองประกวด, องค์การที่มีการกุศลและความประพฤติอันเป็นที่รังเกียจเสื่อมเสียต่อจารีตขนบธรรมเนียม ศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย
10. เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
ประมวลภาพถ่ายในปีที่ผ่านมา
สำหรับปีนี้ การประกวด มิส&มิสเตอร์เดฟไทยแลนด์ 2015 "Miss&Mister Deaf Thailand 2015 จัดขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมคราวน์พลาซ่า ลุมพินี ซึ่งภายในงานมีอาหารและเครื่องดื่มบุฟเฟ่ต์ โดยมีค่าใช้จ่ายสำหรับบัตรเข้าร่วมงาน ท่านละ 1,000 บาท พร้อมทั้งมีโอกาสกระทบไหล่กับคนดังภายในงาน หากเพื่อนๆท่านใดสนใจ รีบๆจองบัตรกันเข้ามานะคะ โดยสามารถทำการสั่งจองบัตรได้ที่ www.deaf-pdad.com หรือ เฟสบุค pdad และ ไอดีไลน์ของกองประกวด mmdt2015 และอย่าลืมชุดหรูหล่อๆสวยๆมาประชันกันภายในงานนี้ ด้วยนะคะ ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนด้วยค่ะ
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP