เรีอนจำพิเศษกรุงทพฯ จากดินแดนมหันต์โทษ สู่ดินแดนแห่งความรื่นรมย์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้สร้างขึ้น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งนี้ แต่เดิมสถานที่กักขังหรือจองจำนักโทษของไทยเราในสมัยก่อน
เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อ ร.ศ. 108 (พ.ศ.2433) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าที่ต้องขังจองจำผู้กระทำความผิดต้องควบคู่ไปกับศาลสถิตยุติธรรม ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ดินตำบลตรอกคำทำการก่อสร้าง ทรงส่งพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเคยไปรับราชการสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ไปดูรูปแบบที่สิงคโปร์ โดยนำแบบเรีอนจำ Brixton อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาใช้ การก่อสร้างเสร็จสิ้นสามารถย้ายนักโทษเข้าไปอยู่ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.109 และได้รับการขนานนามว่า “คุกกองมหันต์โทษ” หรือ เรียกกันว่า “คุกใหม่” มีอายุเก่าแก่ถึง 103 ปี และได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายใช้ชื่อว่า “เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร”
พ.ศ.2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือ “เรือนจำกลางคลองเปรม” และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ จากการที่สวนรมณีนาถได้ดัดแปลงมาจากเรือนจำ ภายในบริเวณสวนจึงยังคงอนุรักษ์แนวรั้วกำแพง ป้อมยาม ซุ้มประตูทางเข้าไว้เป็นสัญลักษณ์ และเป็นส่วนประกอบของสวน
Credit : ZOGZAG
By Admin Park