ชวนเพื่อนๆดูฝนดาวตก 'เจมินิดส์' คืนวันพรุ่งนี้ (14 ธ.ค.)
คืนวันพรุ่งนี้ (14 ธ.ค.2557) ตั้งแต่ ช่วงเวลา 20.00-24.30 น.คนไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตก 'เจมินิดส์' หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 'ฝนดาวตกคนคู่' ซึ่งมีอัตราการตกสูงประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง และมีดาวตกขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็นจำนวนมาก อีกด้วยนั่นเอง
ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่
ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่ เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 6 – 19 ธันวาคมของทุกปี และวันที่ตกจะตกมากที่สุดคือวันที่ 13 -14 ธันวาคม มีอัตราการตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง จุด Radiant ใกลักับดาวคาสเตอร์ (Castor ) ปริมาณดาวตกในวันที่ตกชุกที่สุด 80 จุดเรเดียน อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ( Gemini ) ต้นกำเนิดฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากแกนกลางของดาวหางที่สลายตัวหมดแล้วกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย 3200Phaethon สิ่งที่น่าสนใจในฝนดาวตกเจมินิดส์ครั้งนี้ คือมีโอกาสจะเห็นดาวตกที่สว่างมาก ๆ หรือที่เรียกว่า Fire Ball การเกิดฝนดาวตก กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นทางขอบฟ้าด้านตะวันออกในราว 20.00 น และในราว 21.00 น. กลุ่มดาวคนคู่จะอยู่สูงจากขอบฟ้าพอที่จะเริ่มสังเกตฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ ซึ่งจะแผ่ออกมาแถวบริเวณดาวแคสเตอร์ (Castor) และ ดาวพอลลักซ์ (Pollux) ที่เป็นดาวดวงที่สว่างที่สุด 2 ดวงในกลุ่มดาวคนคู่ คาดว่าจะเห็นปริมาณฝนดาวตกได้เฉลี่ยประมาณ 60 ดวงต่อชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่ 24.00 น. ไปจนถึง 02.00 น. ของวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งหลังจากนั้นดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นที่ขอบฟ้าด้านตะวันออกทำให้เห็นฝนดาวตกยากขึ้น การเห็นฝนดาวตกอาจเห็นทางทิศตะวันออกในช่วงแรกตอนกลุ่มดาวคนคู่เริ่มขึ้น แต่ในช่วงดึกเมื่อกลุ่มดาวคนคู่อยู่บริเวณตำแหน่งเหนือศีรษะอาจเห็นได้ทุกทิศทาง อย่างไรก็ตาม ฝนดาวตกเจมินิดส์อาจไม่สว่างเหมือนฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่ตามสถิติแล้วจะมีจำนวนมากกว่า ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากเศษดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า 3200 ฟีทอน (3200 Phaethon) ต่างจากฝนดาวตกอื่นๆ ที่ส่วนมากเกิดจากเศษของดาวหาง ซึ่งนักดาราศาสตร์พบว่าเศษที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 ฟีทอนทิ้งไว้ค่อนข้างมาก ทำให้ปริมาณฝนดาวตกมีมากกว่าฝนดาวตกชนิดอื่นๆ และฝนดาวตกเจมินิดส์นี้มักจะมีการเคลื่อนที่ค่อนข้างช้ากว่าฝนดาวตกอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากโลกไม่ได้ชนเข้าไปในบริเวณฝุ่นแบบตรง (Head-on) และเศษดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่ค่อนข้างช้า โดยเข้าในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าฝนดาวตกอื่นๆ จึงทำให้มีโอกาสเห็นได้ง่ายกว่าฝนดาวตกอื่นๆ
ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ ปี 2557
ปรากฏการณ์ลำแสงพาดผ่าน วูบวาบ เหนือท้องฟ้าจะเป็นอีกปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เราจะได้เห็นก่อนสิ้นปี 2557 นี้ เป็นปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกเจมินิดส์" เกิดจากโลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อยทิ้งไว้ ในขณะที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว เศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อย ถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามา เกิดการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ จนเห็นเป็นลำแสงวาบ หรือ บางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม หรือ ที่เรียกว่าดาวตก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เชิญชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้ สามารถสังเกตการณ์ได้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีอัตราการตกไม่เกิน 120 ดวงต่อชั่วโมง จุดศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกเจมินิดส์อยู่ใกล้กับกลุ่มดาวคนคู่ ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะอยู่ในช่วงประมาณระหว่างวันที่ 4 - 17 ธ.ค.ถือเป็นปรากฏการณ์ฝนดาวตกส่งท้ายปีเก่าที่น่าสนใจมาก จากข้อมูลระบุว่าปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์นี้มีอัตราการตกต่อชั่วโมงที่สูงมาก อีกทั้งมีดาวตกขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า fireball ปรากฏให้เห็นจำนวนมาก ผู้ที่จะสังเกตฝนดาวตก ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงไฟรบกวน จะทำให้สามารถสังเกตเห็นดาวตกที่มีความสว่างและสวยงาม การสังเกตฝนดาวตกเจมินิดส์ อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการนอนชม ผู้ชมควรเตรียมเครื่องกันหนาวไปด้วย ประเทศไทยทั่วทุกภูมิภาคสามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ด้วยตาเปล่า คืน วันที่ 14 ธ.ค.นี้ ตั้งแต่ 20.00-24.30 น.ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อแนะนำการดูฝนดาวตก
ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่
สำหรับผู้ที่สนใจติดตามชมฝนดาวตกเจมินิดส์ มีข้อแนะนำว่าควรออกไปเฝ้าดูในย่านชานเมืองหรือบริเวณที่ไม่มีแสงไฟรบกวน และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มองหากลุ่มดาวคนคู่ ด้วยการสังเกตดาวอังคารซึ่งมีลักษณะสว่างสีส้มแดงเป็นหลัก เมื่อมองลงมาด้านล่างหรือบริเวณใกล้เคียงจะพบกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นดาวฤกษ์ 2 ดวงอยู่ด้วยกัน หรือหากไม่สามารถกำหนดทิศได้ให้ลองนอนเอาหัวชนกันเป็น 4 มุมเพื่อจะได้เห็นทั่วท้องฟ้าทำให้ไม่พลาดในการชม อีกทั้งยิ่งดึกมากดาวคนคู่จะลอยสูงขึ้น สามารถตกกระจายได้บริเวณกว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเห็นดาวตกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ขอต้อนรับเดือนแห่งความสุข และขอให้พรดาวตกอำนวยพรให้เพื่อนๆทุกท่านสมหวังนะครับ ^_^
ทีมงาน tartoh.com เรียบเรียง นำเสนอ
ขอขอบคุณข้อมูลโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ , news.thaipbs.or.th , guru.sanook.com และ ภาพประกอบโดยThai PBS News Youtube , allmysteryworld.blogspot.com , manager.co.th , bloggang.com ทีมงานตาโต ดอทคอม เรียบเรียงข้อมูล
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP