คุณรู้ไหมว่า ‘เจ’ แปลว่าอะไร และ ‘สีสำหรับเทศกาลกินเจ’ คือสีอะไรบ้าง ^ ^
โดยปกติเราจะรู้กันแต่เพียงแค่ ชื่อเทศกาล ช่วงเวลา และวิธีการ แต่ที่มาของ คำ ที่ใช้และองค์ประกอบของ สี ตลอดจน สัญลักษณ์ที่สื่อ มักถูกมองข้ามไปอยู่เสมอ เช่นนั้น เรามาทำความรู้จักกันกับ ความหมายของคำว่า "เจ" และ สีของ เทศกาลกินเจ กินแจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก (Nine Emperor Gods Festival) กัน ดังนี้ :
คำว่า “เจ” เป็นภาษาจีนมาจากคำว่า “ไจ” ซึ่งเป็นภาพตัวอักษรจีน เขียนด้วยสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ในกรอบสีเหลี่ยมจัตุรัส พื้นมีสีเหลือง ซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นกษัตริย์ คำว่า “เจ” และ “ไจ” ดังกล่าวแปลว่า “ปราศจากการทำลายชีวิตและปราศจากของที่มีกลิ่นคาว”
หมายเหตุ :
“แจ” ( 齋 ) มีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์ (ทั้งกายและใจ) เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา
โดยอักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( 小 ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( 示 ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี
ซึ่งศัพท์ คำว่า “แจ” นั้นถูกพบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี (齊 ) แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า “ไจ”
สีในเทศกาลกินเจ
สีแดง เป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีอันเป็นศิริมงคล ดังจะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีนไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน (โดยในเทศกาลคือได้สื่อถึงช่วงเวลาของความเป็นมงคล)
สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคนสองกลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทองซึ่งคนสามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่สองคืออาจารย์ปราบผีถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีนจะเห็นว่าเขาแต่งกายและมียันต์สีเหลือง (โดยได้สื่อถึงความสำคัญของเทศกาล)
สีขาว ตามธรรมเนียมจีนสีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นการรับวัฒนธรรมมาจากทางตะวันตก ถ้าหากท่านได้สังเกตจะพบว่าในพิธีงานศพของชาวจีนจะยังเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่ (โดยในเทศกาลได้สื่อถึงความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา และใจ)
หมายเหตุ : สีที่กล่าวมาทั้ง 3 สีข้างต้นนี้สามารถจะนำไปเชื่อมโยงกับตำนานต่างๆของการกินเจที่มีอยู่มากมายหลายตำนาน ซึ่งทีมงานจะได้มีการนำเสนอให้กับเพื่อนๆชาว ตาโต ทุกท่านต่อไป
ทีมงาน tartoh.com เรียบเรียง นำเสนอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org และ กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ; ภาพประกอบเพิ่มเติมโดย uacwa.com , xn--12coa0e7b6bn4bbo7kg.blogspot.com , zybernia.wordpress.com และ thaihealth.or.th : ทีมงาน tartoh.com นำเสนอ