ชีวิตในค่ายมรณะ "เอาชวิทซ์" Auschwitz Concentration Camp
2014-09-03 12:27:55

 

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (อังกฤษ: Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชเฟียนชิมของโปแลนด์ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาชวิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน[1] ส่วนเบียร์เคเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บเจชิงคา" (Brzezinka, ต้นเบิร์ช) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด ผู้บังคับบัญชาการของค่ายรูดอล์ฟ เฮิสส์ (Rudolf Höss) ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์ก (Nuremberg Trials) ว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน[2][3] ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป[4] ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซโดยใช้ก๊าซ Zyklon B การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัว และ “การทดลองทางแพทย์” ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1994 ก็มีผู้มาเยี่ยมค่ายกักกันถึง 22 ล้านคน - 700,000 คนต่อปี - ที่ผ่านประตูที่มีอักษรบนเหล็กดัดเหนือประตูว่า “การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ” (Arbeit macht frei) วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์นานาชาติ (International Holocaust Remembrance Day), วันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์ในสหราชอาณาจักร และวันรำลึกในวาระที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่น ๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

ประตูสู่ เอาชวิทซ์

 

 

ทางเดินล้อมรอบด้วยรั้วไฟฟ้า

 

 

รองเท้าของเชลย

 

ขาเทียมของผู้ที่เป็นเชลย

 

 

แว่นตาของผู้ที่เป็นเชลย

 

 

 

กระป๋องแก๊สจำนวนมากเพื่อรมแก๊สพิษ

 

 

 

ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำของเชลย

 

 

ภาพแค่บางส่วนของเชลย

 

ทางรถไฟที่พาเชลยเข้าสู่ประตู เอาชวิทซ์

 

 

เชลยผู้หญิงถูกจับโกนหัวทุกคน

 

 

เชลยผู้ชายสภาพอดอาหาร และทำงานหนัก จึงทำให้ร่างกายผอม และเกิดโรคต่างๆในค่าย

 

 

ภาพการใช้ชีวิตของเชลยในค่าย

 

ทหารได้เกณฑ์เชลยลงรถไฟเพื่อไปในค่ายเอาชวิทซ์

 

 

ห้องรมแก๊สพิษ

 

 

ลานประหารเชลย

 

 


Admin : NuApple
view
:
3963

Post
:
2014-09-03 12:27:55


ร่วมแสดงความคิดเห็น