หาดูได้ยาก.. !!! ไต้ฝุ่น+เฮอริเคน 4 ลูกอาละวาดพร้อมๆ กันในแปซิฟิก ???
2014-08-10 07:02:47
ได้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาดูได้ยากอีกครั้งหนึ่งในวันศุกร์ 8 ส.ค.นี้ เมื่อพายุรุนแรงในเขตร้อน 4 ลูก อาละวาดพร้อมๆ กันในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลจีนตะวันออก-ญี่ปุ่น ไปจนถึงทะเลฮาวาย ในนั้นมี 1 ลูกที่พัดข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก เดินทางไกลกว่า 3,000 กิโลเมตร เข้าสู่เขตแปซิฟิก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยเช่นกัน ขณะที่ไต้ฝุ่นฮาลอง (Halong) ชื่อเวียดนาม กำลังพัดเข้าซัดเกาะใต้ของญี่ปุ่นในช่วงสุดสัปดาห์นี้ด้วยความแรงในระดับ 3 “ซูเปอร์ไต้ฝุ่นเจเนวีฟ” (Geneveve) ก็กำลังหมุนเคว้งอยู่ย่านใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิกราวคลุ้มคลั่ง เป็นไต้ฝุ่นระดับ 5 ซึ่งเป็นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางระดับสูงสุด ในบรรดาพายุรุนแรงเขตร้อน ไกลออกไปพายุใหญ่อีก 2 ลูก คือ เฮอริเคนอิเซล (Iselle) กับเฮอริเคนฆูลิโอ (Julio) กำลังมุ่งหน้าเข้าถล่มหมู่เกาะฮาวายในสุุดสัปดาห์นี้เช่นกัน และกำลังจะเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี ที่จะมีเฮอริเคนลูกหนึ่งพัดขึ้นฝั่งถึงเกาะใหญ่ และยังเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ที่มีพายุแฝดเคลื่อนเข้าสู่ย่านนี้ ครั้งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2502 เฮอริเคน 2 ลูกพัดห่างจากเกาะราว 100 กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นสถิติขององค์การพยากรณ์อากาศของรัฐบาลสหรัฐฯ อิเซล กำลังจะพัดตรงเข้านครโฮโนลูลู แต่สำหรับฆูลิโอ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพัดเฉียงขึ้นไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ เฉียดๆ ไป ขณะที่ “ไต้ฝุ่น” เป็นชื่อที่ใช้เรียกพายุรุนแรงในเขตร้อนในย่านแปซิฟิก และแปซิฟิกตะวันตก "เฮอริเคน"" ก็คือ “ไต้ฝุ่น” ที่เรียกกันในย่านแปซิฟิกตะวันออก หลังเส้นแบ่งเวลาสากล ไปจนถึงย่านแอตแลนติก ส่วนย่านแปซิฟิกใต้ลงไปจนถึงออสเตรเลียเรียก “ไซโคลนเขตร้อน” “เฮอริเคนเจเนวีฟ” เคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเวลาสากลเข้าสู่แปซิฟิกตะวันตกในเช้าวันที่ 7 ส.ค. (ตามเวลาซีกตะวันออก) จากพายุที่อ่อนแรงกำลังจะมลายไป เมื่อเจอกับผิวน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีอุณหภูมิสูงกว่าก็เหมือนกับเครื่องยนต์ที่ใกล้หมดน้ำมัน ใกล้จะดับ และได้รับเชื้อเพลิงใหม่ จึงปั่นตัวเองขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 (Catagory 4) และ 5 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 209 และ 241 กม./ชม.ตามลำดับ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดจากอิทธิพลจากปรากฏการณ์เอลนีโญในย่านนี้ ตามข้อมูลขององค์การบริหารภาคพื้นมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งสหรัฐ (US National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือ NOAA ซึ่งเป็นหน่วยงานพยากรณ์อากาศของรัฐบาล ครั้งก่อนหน้านี้ ที่เฮอริเคนลูกหนึ่งกลายมาเป็นไต้ฝุ่นเกิดขึ้นในปี 2549 โดยเฮริเคนอิโอเกะ (Ioke) พัดข้ามเส้นแบ่งเวลาสากลสู่ย่านแปซิฟิกตะวันตก เดินทาง 17 วันจากอะแลสกาสู่ฮาวาย และเมื่อปี 2545 ก็มีเฮอริเคนเอลี (Ele) อีกลูกหนึ่งสร้างปรากฏการณ์เดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเดินทางของพายุทั้ง 2 ลูกสั้นกว่า เส้นทางของไต้ฝุ่นเจเนวีฟอย่างเทียบกันไม่ได้ เจ้าของสถิติระยะทางเป็นเฮอริเคน/ไต้ฝุ่นที่ชื่อจอห์น (John) ซึ่งเมื่อปี 2537 เดินทางไกลถึง 11,425 กม. โดยใช้เวลา 31 วัน เจเนวีฟ เริ่มเคลื่อนจากจุดกำเนิดในแปซิฟิกตะวันออกเมื่อวันที่ 25 ก.ค. เดินทางมา 3,000 กม. ตามเส้นทางห่างจากเกาะฮาวายลงไปทางทิศใต้ ข้ามเส้นแบ่งเวลา และคาดว่าจะหมุนคว้างอยู่ในทะเลเปิดจนกระทั่งสิ้นฤทธิ์ไปเองในอีกหลายวันข้างหน้า. . |
||||
|
||||
|
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจากผู้จัดการออนไลน์
Admin : Tartoh
view
:
1386
Post
:
2014-08-10 07:02:47
เรื่องราวใหม่ๆ
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP
ร่วมแสดงความคิดเห็น