สีปัสสาวะบอกได้ ว่าคุณขาดน้ำรึเปล่า
2014-08-05 12:00:00

 

     ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำหรือภาษาทางการแพทย์เรียก Dehydration หมายถึงภาวะที่ร่างกายเราสูญเสียน้ำมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ซึ่งหากขาดน้ำมากๆและไม่ได้รับการทดแทนอย่างเพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสมก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียตามมา
 
 
     น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเลือด น้ำย่อย ปกติร่างกายเราจะสูญเสียน้ำประมาณ 10 ถ้วย หรือ2.5 ลิตรทางเหงื่อ ลมหายใจและการขับถ่าย นอกจากน้ำแล้วร่างกายยังเสียเกลือแร่ด้วย
 
หน้าที่ของน้ำในร่างกาย

- ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

- เป็นให้ความชุ่มชื้นต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ปาก ตา จมูก

- หล่อลื่นข้อ

- ป้องกันอวัยวะภายใน

- ป้องกันภาวะท้องผูก

- ช่วยขับของเสียผ่านทางไต

- ละลายเกลือแร่และสารอาหาร

- นำอาหารและออกซิเจนไปสู่ร่างกายและเนื้อเยื่อ

 
 
 
สาเหตุ
 
     สาเหตุที่สำคัญคือท้องร่วง และอาเจียน จากการติดเชื้อ เช่นอหิวา โรคบิด หรืออาหารเป็นพิษ จะมีประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากการขาดน้ำปีละ1.5ล้านคน กลุ่มที่เสี่ยงคืเด็กและทารก
ไข้สูงเสียเหงื่อมาก ออกกำลังกายมาก และอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน ร่างกายจะเสียน้ำมากกว่าเกลือแร่ กลุ่มเสี่ยงคือวัยรุ่นซึ่งน้ำหนักจะน้อกว่าผู้ใหญ่ และเป็นวัยที่ชอบออกกำลังกาย
เสียน้ำทางปัสสาวะเช่นโรคเบาหวานและเบาจืด ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะมากจนอาจจะเกิดไตวาย ผิวหนังถูกไฟไหม้ ร่างกายจะสูญเสียน้ำทางน้ำเหลืองที่ไหลออกมา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
 
     ทุกเพศทุกวัยมีความเสี่ยงในการขาดน้ำพอๆกัน แต่กลุ่มที่จะกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำสูงกว่ากลุ่มอื่น กลุ่มดังกล่าวได้แก่
 
     เด็กและทารก เด็กและทารกจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ร่างกายต้องการน้ำมากและเป็นกลุ่มซึ่งจะเกิดอาการท้องร่วงได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น
 
     ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำเนื่องจากปริมาณน้ำในร่างกายมีไม่มาก ประสาทในการรับรู้เรื่องหิวน้ำลดลง และการตอบสนองต่ออุณหภูมิของร่างกายเสียไป
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน โรคไต ผู้ที่ติดสุรา กลุ่มนี้เพียงมีปัจจัยอื่นกระคุ้นเล็กน้อยก็อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ
 
 
     ผู้ที่ออกกำลังกายมาก เช่นวิ่งมาราธอน ขี่จักรยาน ไตรกีฬา เพราะยิ่งออกกำลังกายนานร่างกายจะมีโอกาศขาดน้ำได้ง่าย
ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่สูง ร่างกายจะปรับตัวโดยการขับปัสสาวะเพิ่ม ขณะเดียวกันต้องหายใจไวเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือดทำให้ร่างกายต้องขาดน้ำ
เราจะต้องไปพบแพทย์เมื่อไร
 
 
     สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงสามารถทนต่อการขาดน้ำได้พอควร แต่กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวอาจจะทนต่อการขาดน้ำได้น้อย จึงควรจะพบแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้

- มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง

- อาเจียนติดต่อกัน 12 ชั่วโมง

- มีอาการท้องร่วงติดต่อกัน 5 วัน

- ซึมลง สับสน หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืน

- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายขาดน้ำ

 
สำหรับผู้ที่ขาดน้ำไม่มากเราอาจจะสังเกตสิ่งต่อไปนี้

- ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง

- เพลียหลับงาน เด็กจะซึมไม่ค่อยเล่น

- หิวน้ำ

- ปัสสาวะน้อยลง เด็กเล็กจะปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งใน 1 วัน ส่วนเด็กโตหากไม่ปัสสาวะใน 8 ชั่วโมงถือว่าร่างกายขาดน้ำ

- เด็กร้องไห้ไม่มีน้ำตา

- ไม่มีแรง

ปวดศรีษะสำหรับผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรงจะสังเกตเห็นสิ่งต่อไปนี้

- กระหายน้ำอย่างมาก

- สับสนกระวนกระวาย เด็กอาจจะซึมลง

- ผิวหนัง ปากจะแห้งมาก

- ไม่มีเหงื่อ

- ไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะออกน้อยมาก

- ตาโหล

- ผิวแห้งสูญเสียความยึดหยุ่่น เมื่อเราดึงผิวหนังขึ้นมาผิวจะตั้งได้ดังรูป

- หากเป็นเด็กทารกบริเวณขม่อมจะบุ๋มลง

- ความดันต่ำ ชีพขจรเร็ว

- หายใจเร็ว

- ซึม หรือหมดสติ

 
การรักษา
การทดแทนน้ำเป็นวิธีที่ดีที่สุด
 
 
การทดแทนน้ำในเด็ก
     หากไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ท่านสามารถดื่มน้ำเกลือแร่ทันทีที่มีภาวะเสียน้ำ เช่นท้องร่วง หากไม่มีน้ำเกลือแร่ก็อาจจะผสมเกลือ ครึ่งช้อนชา ผงฟู ครึ่งช้อนชา น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะผสมในน้ำ 1 ลิตร เราจะรู้ว่าได้รับน้ำเพียงพอโดยดูจากปริมาณปัสสาวะและสีปัสสาวะว่าใสและออกมากจึงลงปริมาณน้ดื่ม
 
      สำหรับทารกไม่ต้องหยุดนมแต่ให้รับน้ำเกลือแร่เสริม สำหรับผู้ที่ดื่มนมผงก็เปลี่ยนนมที่ไม่มี lactose จนกระทั่งท้องร่วงดีขึ้นจึงให้ดื่มนมตามปกติ
ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารบางประเภท เช่นน้ำเปล่าเพราะว่าไม่มีเกลือแร่ น้ำดื่มสำหรับออกกำลังไม่เหมาะสมที่นำมาใช้ในคนที่เสียน้ำจากท้องร่วงเพราะในน้ำดื่มสำรับออกกำลังจะมีเกลือแร่น้อยกว่า
 
     การทดแทนน้ำสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย ให้ใช้น้ำเปล่าหรืออาจจะใช้น้ำดื่มสำหรับคนที่ออกกำลังกาย  สำหรับผู้ใหญ่ที่ท้องร่วงก็ทดแทนโดยการดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ให้พอ สำหรับผู้ที่ป่วยหนักต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
 
 
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ
 
     ภาวะขาดน้ำหากเราได้รับน้ำทดแทนไม่ทันเวลาและปริมาณไม่พอก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะอันตรายทำให้เสียชีวิตได้

- เกิดภาวะเป็นลมแดด 

- สมองบวมเนื่องจากสมองจะดึงน้ำเข้าเซลล์มาก

- ชักเนื่องจากเสียสมดุลเกลือแร่

- ความดันต่ำหรือช็อกจากขาดน้ำ

- ไตวาย

- โคม่าและเสียชีวิต

 

การป้องกัน

     การป้องกันภาวะขาดน้ำสามารถทำได้โดยการดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีน้ำมาก เช่นผักและผลไม้ สำหรับภาวะที่ต้องให้ความสนใจได้แก่
 
     สำหรับผู้ที่ป่วยมีโรคประจำตัว ควรจะเริ่มให้น้ำผสมเกลือแร่ทันทีที่เริ่มมีภาวะเสี่ยงต่อการขาดน้ำ ไม่ต้องรอให้เกิดภาวะขาดน้ำ หากดื่มน้ำเปล่าอาจจะทำให้ร่างกายเสียสมดุลเกลือแร่ได้
     หากต้องออกกำลังกายมากเป็นระยะเวลาต่อเนื่องเช่นวิ่งมาราธอน เราจะต้องดื่มน้ำให้มากพอก่อนออกกำลังกาย 1 วันเราจะรู้ได้โดยสังเกตปัสสาวะจะใสและออกมาก ก่อนออกกำลัง 2 ชั่วโมงก็ให้ดื่มน้ำ 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ออกกำลังปกติอาจจะให้ดื่ม1-2แก้วก่อนออกกำลังกายครึ่งชั่วโมงก็น่าจะเพียงพอ สำหรับสภาวะอากาศที่ร้อนเราต้องดื่มน้ำเพิ่ม
 
Cr.Siamhealth

 


Admin : Chanya
view
:
3870

Post
:
2014-08-05 12:00:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น