เป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถสร้างใบไม้เทียมขึ้นมาได้ และยังสามารถสังเคราะห์แสงและผลิตออกซิเจนได้เองเหมือนกับใบไม้ในธรรมชาติ ผลงานชิ้นนี้เป็นของนักศึกษาจบใหม่จาก RCA (Royal College of Art) ชื่อ Julian Melchiorri ใบไม้เทียมที่ว่านี้ สามารถดูดซับน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วผลิตออกซิเจนได้เช่นเดียวกับต้นไม้ในธรรมชาติจริงๆ แนวคิดใบไม้เทียมเช่นนี้ จะทำให้ความฝันที่มนุษย์จะเดินทางไกลในอวกาศ หรือออกไปสร้างอาณานิคมในอวกาศมีความเป็นจริงมากขึ้น
ผลงานใบไม้เทียมนี้มีชื่อว่า Silk Leaf ผลงานการพัฒนาของ Julian Melchiorri เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ต้นไม้ไม่สามารถเติบโตในที่ที่แรงดึงดูดเป็นศูนย์ Silk leaf มีแนวคิดที่แตกต่างจากงานวิจัยของ NASA ที่จะผลิตออกซิเจนสำหรับการเดินทางท่องอวกาศ เพื่อให้เรามีชีวิตอยู่ได้ในอวกาศอย่างสิ้นเชิง ด้วยวิธีคิดใหม่วัสดุแบบใหม่นี้จะทำให้เราสามารถสำรวจอวกาศได้มากกว่าที่เราทำได้อยู่ในปัจจุบัน”
สำหรับโครงการ Silk Leaf ของ Melchiorri นี้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร Innovation Design Engineering ที่ร่วมมือกับ Tufts University ในสหรัฐอเมริกา ห้องปฏิบัติการ Silk ประกอบไปด้วยเซลล์สังเคราะห์แสงของพืช (chloroplasts) ที่ลอยอยู่ในโปรตีนจากไหม
“วัสดุใหม่ที่ได้นี้สกัดโดยตรงจากเส้นใยของไหม มันมีคุณสมบัติที่น่ามหัศจรรย์ของโมเลกุลที่มีความเสถียร ผมสกัดเอาเซลล์สังเคราะห์แสงจากเซลล์ของพืชและวางมันลงในโปรตีนของไหม (silk protein) สิ่งที่เกิดขึ้นผมได้เห็นวัสดุสังเคราะห์แสงด้วยตัวเองได้เป็นครั้งแรก มันมีชีวิต และหายใจได้เช่นเดียวกับที่ใบไม้จริงๆทำ ” สิ่งที่ Silk Leaf ต้องการเพื่อผลิตออกซิเจน มีเพียงแสงสว่าง และน้ำเพียงเล็กน้อย
โคมไฟ Silk Leaf เป็นโคมไฟ ที่ให้แสงสว่าง และมีน้ำหนักเบามาก ๆ ใช้พลังงานน้อยนิด และแสงสว่างจากโคมไฟยังช่วยผลิตออกซิเจนได้ด้วย บ้านก็จะได้ทั้งแสงสว่าง และออกซิเจน นอกจากนั้นมันยังสามารถนำมาใช้ในพื้นที่ภายนอก เช่น ผนังภายนอกของอาคารในเมือง ก็จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในเมือง และเพิ่มออกซิเจนให้กับผู้คนที่อาศัยในเมืองมีอากาศบริสุทธิ์มากขึ้น ช่วยกรองอากาศเสียจากภายนอก และเพิ่มออกซิเจนให้กับภายในอาคาร
ที่มา : iurban.in.th
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP