ก่อนจะเป็นธนบัตรที่ใช้ในบัจจุปัน
2014-07-10 11:47:29

อัฐกระดาษ

 

          ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทยมีใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2396 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เรียกว่า "หมาย" ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย  และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา”  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีก  หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร”  ต่อมาใน พ.ศ. 2433 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. 2445 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา  ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

          นับตั้งแต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2445 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น 16 แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1 - 10 รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษ และธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 - 16

 

ตัวอย่าง ธนบัตรแบบต่าง ๆ

 

แบบที่ 1

 

แบบที่ 2

 

 

แบบที่ 3

รุ่นหนึ่ง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 7)

 

รุ่นสอง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 8)

 

แบบที่ 4 (โทมัส)

 

 

แบบที่ 4 (กรมแผนที่)

  

 

แบบที่ 5

 

 

แบบที่ 6

 

 

แบบพิเศษ

 

 

แบบที่ 7

 

 

แบบที่ 8

 

 

แบบที่ 9

 

 

แบบที่ 10

 

 

แบบที่ 11

 

 

แบบที่ 12

 

 

แบบที่ 13

 

 

แบบที่ 14

 

 

แบบที่ 15

 

 

แบบที่ 16

 

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย


Admin : Louksorn
view
:
3128

Post
:
2014-07-10 11:47:29


ร่วมแสดงความคิดเห็น