"ตำถาด" เมนูสุดแซ่บที่มากับภัยเงียบ
2014-06-26 10:01:00

 

 
     สำหรับเมนู ส้มตำถาด นี้ถ้าเป็นแถบมหาสารคามจะเรียกว่า ตำซะพ่าถาดใหญ่ แล้วตำถาดหรือส้มตำถาดที่ว่า ก็มีขายกันตามร้านส้มตำในอีสานบ้านเราอีกหลายๆ ย่าน ทั้งขอนแก่น โคราช บุรีรัมย์ และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคอีสานก็น่าจะมี
 
     ลักษณะเมนูของทุกที่จะคล้ายกัน ออริจินัลของเมนูนี้คือตำถาดแบบตำลาว ในถาดมีส้มตำตรงกลาง รอบๆเป็นเครื่องเคียง มีหอยแครง แหนม แคปหมู ขนมจีน เส้นหมี่โคราช ไข่ต้ม สารพัดผักแล้วแต่ร้านจะจัดสรรให้ทาน
 
 
     ช่วงนี้กระแสตำถาดกำลังดัง เลยมีข้อความดังกล่าวออกมาเตือนว่าภาชนะที่ใส่ มันมีสารเคมีของสี ถ้าโดนมะนาวหรือน้ำมะขามจะทำให้มันกัดสีออกมา  เพราะมะนาวเป็นกรดอ่อนๆ ข้อความเหล่านี้แชร์กันทั่วโลกโซเซียล ทำให้หลายคนก็หวาดกลัวเป็นอย่างมาก  แต่หลายคนก็อาจจะไม่คิดอะไร เพราะถือว่ารุ่นปู่รุ่นย่าเราก็กินชามสังกะสีพ่นสีเขียวๆ เช่นกัน  
 
ข้อความดังกล่าว
 
"อยากเสนอพิษภัยจากถาดสังกะสีที่ใช้ใส่ตำถาด 
ส้มตำใส่ถาดน่ะ มันเป็นถาดขนของ ไม่ได้ทำมาเพื่อสัมผัสกับอาหารโดยตรง 
มีโลหะหนักละลายจากสีพ่นถาด สีเคลือบถาด ที่มีสารตะกั่วและถ้าถาดมีตำหนิ
ก็จะมีสังกะสีและสนิมถูกกรดเปรี้ยวๆจากน้ำมะขาม มะนาว มะเขือเทศกัดทำละลายออกมาผสมให้กินด้วย รู้สึกจะฮิตกันมาก อยากให้เปลี่ยนถาดหรือหาพลาสติกใส่อาหารมารอง หรือจะช่วยเตือนให้ทานกันน้อยลงก็ได้ ฝากไว้เป็นประเด็น"
 
 
 
 
     จากข้อความข้างต้นดูแล้วเป็นการเตือนที่ฟังแล้วน่าเชื่อถือ แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ หรือ ยืนยันจากนักวิชาการอย่างเป็นทางการ แต่ถ้าเพื่อนๆๆไม่คิดมากอะไรก็กินได้ต่อ ของแซ่บๆๆ ทั้งน้านนแต่ถ้าจะไม่ให้ถาดกับส้มตำสัมผัสกันโดยตรงอาจจะต้องรองด้วยใบตองสักนิดก็คงจะทำให้คนสบายใจมากยิ่งขึ้น ... เห็นมาทั้งถาดแบบนี้แล้วใครจะอดใจไม่กินไหวเนี่ย ...เห็นแล้วน้ำลายแตกกันเลย ก่อนตายขอแซ่บสักที  ...
 
เชื่อว่าไม่มีใครสามารถกินตำถาดได้ทุกวันหรอกใช่มะ .. แต่เค้าเตือนด้วยความหวังดีก็ฟังไว้บ้างก็ไม่เสียหายนะคะ !! อันนี้ก็อยู่ที่วิจารณญาณในการรับชมแล้วล่ะค่ะ .. ขอกล่าวเพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะคุณผู้ชม
 
และทางเราได้ไปหาคำตอบมาให้เรียบร้อยแล้วนะคะ 
 
     ได้รับคำตอบจาก ธนชีพ พีระธรณิศร์ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขว่า ถาดที่เคลือบสีฉูดฉาดเมื่อนำมาใส่อาหารที่ไม่ถูกประเภทนั้นอันตรายแน่นอน โดยเฉพาะใส่ส้มตำที่มีเครื่องปรุงที่เป็นกรดอย่างมะนาว 
 
"โดยหลักการภาชนะที่มีการเคลือบไม่ให้สีหลุดจะใช้ใส่อาหารเย็นได้ไม่เป็นไร แต่อาหารที่มีรสจัด มีน้ำส้ม มะนาว ใช้ไม่ได้ เพราะกรดจะไปกัดกร่อนสารที่เคลือบสีละลาย โดยเฉพาะส้มตำที่เป็นอาหารรสจัด มีรสเปรี้ยวชัดเจน" ธนชีพ กล่าว   
 
มีคนบอกว่ากินมาตั้งแต่เด็กไม่เห็นเป็นไร?
 
"มันสะสมนี่ครับ รู้หรือไม่ว่าผู้ที่เป็นมะเร็งร้อยละ 90 เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง" นักวิชาการสาธารณสุข กล่าวและว่า เรื่องเหล่านี้เมื่อเราเรียนรู้ มีข้อมูลแล้ว เราก็ต้องหลีกเลี่ยง กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ต้องรณรงค์ ซึ่งมีหลายขั้นตอน ในส่วนของผู้ประกอบการต้องรู้ว่าอาหารที่ทำนั้นเป็นอาหารประเภทไหน ต้องใช้ภาชนะอะไร ถ้าเป็นของร้อนก็ต้องใช้แบบที่กัดกร่อนไม่ได้ เช่น เมลามีน สแตนเลส กระเบื้องเคลือบขาว หรือ แก้ว เป็นต้น 
 
หลักการเลือกใช้ภาชนะ ต้องเลือกภาชนะที่ไม่มีสีฉูดฉาด ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารเคมี ให้ทำความสะอาดง่าย และ ต้องทนต่อการกัดกร่อนของอาหาร 
 
"ถาดสังกะสีที่มีสีฉูดฉาด ถ้าเอาไปใส่ผักแบบนี้ไม่มีปัญหา มันไม่กัดกร่อน พวกภาชนะก็ต้องทำความสะอาดง่าย อย่างแก้วก็ไม่ใช่เลือกที่เอามือล้วงไปล้างไม่ได้ หรือ อย่างถาดก็มีหลายเลือกตั้งเยอะแยะ ถาดสแตนเลสก็ได้ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ใช้" นักวิชาการสาธารณสุข ตบท้าย 
 
การใช้ถาดโบราณลวดลายสีฉูดฉาดที่ให้อารมณ์สาวน้อยบ้านนาอาจบิวท์ให้ส้มตำแซ่บขึ้นก็จริง แต่อย่าลืมว่านำมาใช้ถูกประเภทอาหารหรือไม่ โดยเฉพาะ "ความปลอดภัย" ของผู้บริโภคต้องสำคัญที่สุด 
 
Credit : board.postjung.com , ทีมงานประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 

Admin : Chanya
view
:
3939

Post
:
2014-06-26 10:01:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น