เรื่องสุดโหดของค่ายนรกเอาชวิตซ์
2014-06-23 10:55:47

ค่ายนรก เอาชวิตซ์

 

          เหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เชื่อว่าหลายๆ คนคงรู้ดีว่าเกิดขึ้นจากอะไร และผลกระทบใหญ่หลวงคืออะไร และในวันนี้เราจะนำเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามครั้งที่ 2 ซึ่งแทบจะเรียกว่าเป็น “นรก” ของมนุษย์ก็เลยว่าได้ โดยสถานที่แห่งนั้นคือ ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ ลานประหารหมู่ชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นั่นเอง
 


          Auschwitz Concentration Camp หรือ ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ โดยที่คำว่า “เอาชวิตซ์” (Auschwitz) เป็นภาษาเยอรมันที่ใช้เรียกเมือง Oswiecim ที่อยู่ทางเหนือของโปแลนด์ (Poland) ซึ่งถูกยึดและผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน เอาชวิตซ์ จึงเป็นชื่อเรียกรวมของค่ายกักกันขนาดใหญ่ 2 แห่ง และค่ายย่อยอีก 36 แห่ง นอกจากนี้ค่ายเอาชวิตซ์ถูกใช้เป็นที่สังหารหมู่ชาวยิวและยิปซี เพียงเพราะอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เห็นว่าพวกนี้ไม่มีผิวสีขาว ผมสีทอง และนัยน์ตาสีฟ้าเหมือนตน เป็นสายเลือดที่ไม่บริสุทธิ์ จึงทำการรวบรวมชาวยิวและชาวยิปซีจากทุกพื้นที่ในอาณานิคมของตน ส่งมาสังหารที่ค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งมากกว่า 1.1 ล้านคนที่ต้องตายในค่ายเอาชวิตซ์
 

ภาพประกอบค่ายเอาชวิตซ์


          ค่ายเอาชวิตซ์ 1 พื้นที่ค่ายคือจุดสี่เหลี่ยมสีส้มเล็กอันกลาง ถูกสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน 1940 และถือเป็นค่ายหลักเพื่อเป็นที่กักกันชาวโปแลนด์
          ค่ายเอาชวิตซ์ 2 หรือ Birkenau ที่ตั้งค่ายอยู่บริเวณพื้นที่สีส้มอันใหญ่ทางด้านซ้าย ที่ถูกสร้างใน เดือนตุลาคม 1940 เพื่อช่วยบรรเทาความแออัดของค่ายเอาชวิตซ์ 1 และยังสร้างเพื่อเป็นโรงฆ่าโดยเฉพาะสำหรับชาวยิว
          ค่ายเอาชวิตซ์ 3 หรือ Birkenau ที่ตั้งค่ายคือพื้นที่สี่เหลี่ยมสีส้มด้านขวามือ โดยส่วนนี้จะเป็นค่ายย่อยประมาณ 36 ค่าย ที่อยู่กระจายตัวอยู่โดยรอบ ผู้ที่ถูกกักกันอยู่ที่นี้โดยมากจะเป็นพวกนักโทษ และชาวโปแลนด์ หรืออาจจะเป็นเชลยที่ค่อนข้างโชคดีกว่าพวกที่ถูกกักกันไว้ที่ค่ายเอาชวิตซ์ 1 และ 2 เนื่องจากจะถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ค่อยมีชาวยิว เนื่องจากชาวยิวจะถูกกักไว้ที่ค่าย 1 และ 2 เพื่อรอการสังหารทิ้ง
 

ค่ายเอาชวิตซ์ 1


1. Commandant House
          บ้านพักของผู้บัญชาการค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งผู้บัญชาการค่ายคนแรกคือ Rudolf Höss จนกระทั่งถึง ปี 1943 จึงเปลี่ยนมาเป็น Arthur Liebehenschel และ Richard Baer ตามลำดับ และเหมือนบาปกรรมก็ติดจรวด เพราะภายหลังเยอรมันแพ้สงคราม Rudolf Höss ถูกกองทัพอังกฤษจับได้จากการที่ภรรยาของเขาเป็นผู้ชี้ที่หลบซ่อนตัวของเขาให้แก่กองทัพอังกฤษ และเขาถูกตัดสินประหารชีวิต โดยการแขวนคอที่หน้าค่ายเอาชวิตซ์นั่นเอง
 

 
รูปถ่ายนาย Rudolf Höss และ ที่พักข้างค่ายกักกันเอาชวิตซ์

 


2. Commandant Office
          เป็นสถานที่ทำงานของเหล่านายทหารระดับสูงของค่ายเอาชวิตซ์
 


3. Administration Office
          เป็นสถานที่ทำงานของทหารเยอรมันระดับล่างลงมา
 


4. SS Hospital
          โรงพยาลของหน่วยเอส.เอส. สำหรับพวกนาซีนั้นมันคือโรงพยาบาลที่แสนดี สะดวก สบาย ในการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย แต่สำหรับเหล่าเชลย คนพิการ และชาวยิว มันคือแห่งรวมผีห่าซาตานจากนรกที่อยู่ในคราบของหมอ โดยหมอเหล่านี้จะไปทำการทอลองที่เหี้ยมโหด ณ บล็อก 10


เหล่าทูตมรณะในคราบของหมอ

 

นายแพทย์ โจเซฟ เมงเกเล (Dr.Josef Mengele)
 

 

          นายแพทย์หนุ่ม รูปงาม แต่จิตใจดุจดังปีศาจ ผู้จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมิวนิก (Munich University) ด้วยวัยเพียง 24 ปี เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคนาซีเมื่อปี ค.ศ. 1937 และได้รับฉายาว่า เทพแห่งความตาย (Angel of Death) เนื่องจากเป็นผู้ตัดสินว่าเชลยที่ถูกขนส่งมาโดยทางรถไฟ เมื่อลงมาสู่ค่ายเอาชวิตซ์ โดยเขาจะเป็นคนชี้ว่าคนนี้ไปอยู่ทางซ้าย คนนี้ไปทางขวา (ซ้ายคือถูกส่งเข้าสู่ห้องรมแก๊สพิษ ส่วนขวาจะถูกนำไปใช้แรงงานหรือรอเป็นหนูทดลองต่อไป) และด้วยความโหดเหี้ยมของหมอโจเซฟคนนี้นั้นถึงขั้นที่เรียกว่า ครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์เหาระบาดในค่าย หมอโจเซฟได้ออกคำสั่งให้ ทำการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการเผาที่พักที่มีการระบาดไปพร้อมๆ กับผู้ป่วยทั้งเป็น แถมเขายังมีความเชี่ยวชาญในการใช้แก๊สพิษไซคลอนบีในการสังหารหมู่ตัวพ่อของค่ายเอาชวิตซ์ โดยการทดลองสุดสยองที่เขาได้ทำไว้ มีดังนี้
          การทดลองเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายทางพันธุกรรม
          การเปลี่ยนสีตา โดยการฉีดสารเคมีเข้าสู่ลูกตาของเด็ก
          การสูญเสียอวัยวะ แขน ขา ทั้งความสามารถในการทนความเจ็บปวด การรักษา แน่นอนการทดลอง ก็จะนำเชลยมาตัดแขนตัดขากันสดๆ เพื่อเฝ้าดูการว่าจะทนพิษบาดแผลได้นานเท่าไร และเวลาต่างๆ ที่ต้องใช้การช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลอย่างไรจึงสามารถช่วยชีวิตได้ทัน


          ส่วนเหยื่อที่ หมอโจเซฟ ชื่นชอบมากที่สุดคือ ฝาแฝดและคนแคระ โดยมีฝาแฝดประมาณ 14 คู่ที่ต้องจบชีวิตโดยมือของหมอโจเซฟ



          รูปครอบครัว Ovitz ทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน ตระกูลนี้มีพี่น้อง 10 คน 7 คน เป็นคนแคระ ทั้ง 12 ชีวิตถูกจับส่งเข้าสู่ค่ายเอาชวิตซ์ เมื่อหมอโจเซฟพบครอบครัว Ovitz เขาคิดว่าพระเจ้าได้ประทานสิ่งหายากยิ่งให้แก่เขา 2 ใน 12 เสียชีวิตในการทดลอง ที่เหลือโชคดีที่การทดลองยังไม่ทันจบ เยอรมันก็แพ้สงครามก่อนจึงรอดชีวิตมาได้


แพทญ์หญิง เฮอร์ทา โอเบอร์ฮอยเซอร์ (Dr. Herta Oberheuser)

 


 

          หมอเฮอร์ทาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาบาดแผลที่เกิดจากสงคราม ซึ่งการที่จะได้ตัวอย่างที่เหมาะสมต่อการทดลองต้องใช้เวลานาน เธอจึงสร้างบาดแผลต่างที่ต้องการขึ้นมา โดยการ ผ่าร่างกายของเชลยให้เกิดบาดแผล แล้วใส่เศษดิน ต้นไม้ใบหญ้า เศษกระจก เศษเหล็ก เป็นการจำลองแผลจากสงครามขึ้น แล้วทำการรักษาด้วยตัวยาสูตรต่างๆ



รูปบาดแผลที่ขาของเหยื่อ


          ส่วนบาดแผลไฟไหม้ เธอก็ทำเหมือนเช่นเดิน เธอจะกีดร่างกายเหยื่อแล้วใส่สาร Phosphorous ลงในแผล แล้วจุดไฟจะเกิดการลุกไหม้อย่างแรง ทำให้เกิดแผลไฟไหม้รุนแรง
          หลังสิ้นสุดสงคราม เธอถูกดำเนินคดีในฐานะอาชญากรสงครามที่ศาลทหารในนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี แต่เนื่องจากปฏิบัติตัวดีจึงได้รับการลดโทษและปล่อยตัวในปี 1952 หลังจากได้รับการปล่อยตัวเธอแอบไปประกอบอาชีพเป็นแพทย์ แต่เชลยสงครามที่จำเธอได้ไปพบเข้าจึงได้แจ้งความร้องเรียนจนเธอถูกยึดใบอนุญาตประกอบวิชา
 


5. Main Gate
          ประตูทางเข้าหลักของค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งปากประตูมีข้อความว่า "ARBEIT MACHT FREI" เป็นภาษาเยอรมันที่มีความหลายว่า "การทำงานจะไปสู่อิสรภาพ"
 


          แต่ทว่าการทำงานจะไปสู่อิสรภาพนั้น สำหรับเหล่าเชลยคงไม่ทราบว่า อิสรภาพที่เหล่านาซีเยอรมันจะมอบให้นั้นก็คือ "ความตาย" ต่างหาก
 


6. Kitchen
          โรงครัวของค่ายเอาชวิตซ์เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในค่าย ใช้ที่จัดให้นั้นน้อยเสียจนเพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น ทั้งยังไม่มีคุณค่าทางโถชนาการเลย จะเห็นได้จากร่างกายของเชลยในค่ายที่ผ่ายผอมเหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น หากว่าถามว่าแต่ละวันเหล่าเชลยได้รับอาหารคนละเท่าไร?
          ขนนปัง 350 กรัม ต่อวัน
          น้ำที่ทำกลิ่นรสเลียนแบบ กาแฟ ( ersatz coffee ) ตอนเช้าครึ่งลิตร
          ซุปผักกาดกับมันฝรั่ง 1 ลิตร ตอนเที่ยง โดยในซุปจะมีเนื้ออยู่ประมาณ 20 กรัม

          โดยเฉลี่ยเหล่าเชลยจะได้รับ พลังงานจากอาหารประมาณวันละ 1,300 - 1,700 แคลอรี/วัน



          จากภาพถ่ายตรงเยื้องจากประตูทางเข้าหลังจะเห็นรั้วไฟฟ้าตั้งอยู่รายล้อมค่ายถึงสองชั้น และอาคารที่เห็นอยู่ด้านหลังคือโรงครัว จะสังเกตเห็นปล่องครัวเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก
 


7. Slolen Stuff Warehouse
          โกงดังเก็บของที่ได้จากการยึดมาจากเชลย หรือจากศพของผู้เสียชีวิตเช่นฟันทอง จะถูกนำไปหลอม และนำส่งกลับเยอรมัน แต่ของมีค่าบางส่วนก็ถูกพวก SS ยักยอกไป
 


          หนึ่งในโกดังเก็บเสื้อผ้าที่เต็มจนล้นทะลักออกมานอกประตู และถ้าสังเกตที่หน้าต่างเล็กด้านซ้ายก็อัดเต็มไปด้วยเสื้อผ้าคงจินตนาการได้ว่าจำนวนเหยื่อผู้เสียชีวิตนั้นมากมายขนาดไหน
 


8. Death Wall or Black Wall
          ผนังแห่งความตาย หรือ ผนังดำ ผนังนี้ตั้งอยู่บนลานระหว่างเรือนนอนสองหลังคือบล็อก 10 กับ บล็อก 11 ผนังนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่สุดสยองภายในค่ายเอาชวิตซ์ เพราะเพียงชั่วเวลาสั้นๆ จากปี 1940 ถึง 1944 หรือระยะ 4 ปี ผนังแห่งนี้เป็นพยานแห่งความโหดเหี้ยมของเหล่านาซีเยอรมัน กว่า 20,000 ศพ โดยผนังนี้จะเป็นบริเวณที่ใช้เป็นลานประหารโดยการยิงกระสุนเข้าบริเวณกระดูกต้นคอข้อสุดท้ายที่ต่อกับกะโหลกโดยเพชฌฆาต สองหมื่นศพผู้นี้มีชื่อว่า "Rapportfürher Gerhard Palitsch" เหยื่อของมันมีไม่เว้นแม้แต่เด็กและผู้หญิง
          ส่วนที่มาของชื่อ ผนังดำ เนื่องจากผนังค่ายสร้างจากอิฐจะมีฉากสร้างจากท่อนไม้บุหน้าด้วยไม้ค็อกแล้วทาด้วยสีดำ เพราะพวกนาซีกลัวว่าผนังอิฐสวยของพวกเขาจะเป็นรอยจากกระสุนปืน



      ภาพวาดผนังแห่งความตาย เมื่อเหยื่อถูกยิงทิ้งเหล่าเชลยจะยกศพไปวางกองกันไว้



      เป็นผนังแห่งความตายในปัจจุบัน เมื่อนักท่องเที่ยวมาเยือนก็มักจะมีการนำดอกไม้มาไว้อาลัยให้แก่ผู้ล่วงลับ
 


G Gas Chamber and Crematory
          ห้องรมแก๊สพิษและเตาเผาศพ หนึ่งในอีกสถานที่สุดสยองในค่ายเอาชวิตซ์ เนื่องจากพวกนาซีรู้สึกเสียดายลูกกระสุนที่ต้องเสียไปในการยิงชาวยิวทิ้ง ซึ่งพวกเขาคิดว่ามันไม่คุ้มเสียเลยที่ต้องแลกระหว่างกระสุน 1 นัดกับ 1 ชีวิตชาวยิว จึงคิดหาวิธีที่สามารถกำจัดชาวยิวได้ครั้งละมากๆ และต้องราคาถูกด้วย ดังนั้นห้องรมแก๊สพิษคือคำตอบที่ดีที่สุด และห้องรมแก๊สพิษห้องแรกก็ถูกออกแบบโดยดัดแปลงโรงเรือนที่สร้างจากอิฐ และให้ชื่อว่า The Little Red House หรือ บ้านเล็กสีแดง



          a พื้นที่ให้เชลยรอก่อนเข้าห้องรมแก๊สพิษ
          b ห้องกองเถ้ากระดูกที่เหลือจากการเผา และห้องล้างทำความสะอาด
          c บริเวณพื้นที่รมแก๊สพิษ
          d ห้องเผาศพที่เสียชีวิตจากการรมแก๊สพิษ
          e ปล่องควัน ที่เหลือจากการเผาศพ
          f ห้องเก็บถ่านหิน และเชื้อเพลิงสำหรับเผาศพ
          g ออฟฟิซผู้คุม
          Plan ซ้ายจะเป็นแปลนห้องดังเดิมที่สร้างเมื่อปี 1942
          Plan เป็นแปลนห้องรมแก๊สพิษ ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เนื่องจากพวกนาซีได้เผาทำลายห้องรมแก๊สเพื่อทำลายหลักฐานความชั่วร้ายของตนเอง



เป็นตัวอาคารห้องรมแก๊สพิษ


เป็นประตูทางเข้าสู่ห้องรมแก๊สพิษ
 

พื้นที่ที่เหล่าเหยื่อชาวยิวจะถูกส่งเข้าเพื่อเป็นที่ตายโดยการรมด้วยแก๊สพิษ


บริเวณหลังคาของห้องรมแก๊สพิษ

และที่เห็นเป็นปล่องเหล็กมีฝาปิดคือช่องสำหรับหย่อนแก๊สพิษลงเข้าไปภายในห้องเพื่อฆ่าชาวยิว



เมรุเผาศพเหยื่อที่ถูกรมแก๊สพิษเสียชีวิต ส่วนที่เห็นอยู่ด้านหน้าเมรุคือรถเข็นศพ


รูปเหยื่อกำลังถูกลำเลียงเข้าสู่เมรุ

 

ศพมากมายของเหยื่อที่รอวันเผา



9. Barrack
          โรงนอน ภายในค่ายเอาชวิตซ์มีโรงนอนอยู่ 28 หลัง (โดยโรงนอนเหล่านี้จะถูกเรียกว่าบล็อก) โดยแต่ละหลังมีเชลยกว่า 1,000 คนอาศัยอยู่อย่างแออัดโดยอาคารจะเป็นอาคาร 2 ชั้น ภายในอาคารมีแต่พื้นที่สำหรับวางเตียงนอนแบบ 3 ชั้น มีพื้นที่เพียงให้ตัวนอนได้เท่านั้น เนื่องจากอากาศที่ถ่ายเทไม่สะดวก อุณหภูมิที่ต่ำ และสภาพสุขอนามัยที่ต่ำมาก ทำให้ในทุกรุ่งเช้าเชลยที่ตายจากไปทุกวันในระหว่างนอนหลับ

 


โรงนอนในปัจจุบัน


สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเชลยหญิงที่ต้องแออันกันอยู่ในเตียง 3 ชั้น
 


10. Block 10
          บล็อก 10 จัดว่าเป็นสถานที่ที่รู้จักกันดีว่าเป็นห้องทดลองนรกของค่ายเอาชวิตซ์ โดยผู้ที่เข้าที่บล็อก 10 นั้นจะถูกทำการทดลองต่างๆ ได้รับทุกข์แสนสาหัส บ้างก็เสียชีวิต และนี้คือหนึ่งในการลองนรกสุดสยอง



          Hypothermia Experiment คือการที่เชลยจะถูกจับให้แช่น้ำที่เย็นจัด โดยหัวหน้าการทดลองนี้คือ นายแพทย์ ซิกมุนด์ ราสเชอร์ (Sigmund Rascher) และผลการทดลองทำให้ทราบเป็นครั้งแรกว่า ถ้าอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ต่ำกว่า 25 เซลเซียส มนุษย์จะเสียชีวิต ทั้งยังศึกษาถึงการช่วยชีวิตด้วยวิธีต่างๆ สำหรับผู้ที่เกิดอาการเกิดสภาวะหนาวจัด (Hypothermia) จึงทำให้การทดลองมีทั้งการส่องด้วยหลอดไฟความร้อน การฉีดน้ำร้อนเข้าสู่กระเพาะ ลำไส้ การให้ความร้อนโดยร่างกายโดยใช้เชลยหญิงให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย การแช่ในน้ำร้อน (ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด) และการทดลองนี้เป็นหนึ่งที่จะนำไปสู่การบุกยึดรัชเซีย ซึ่งฮิตเลอร์รู้ดีว่าศัตรูสำคัญของการบุกยึดรัสเซียคือความหนาวเย็น



โฉมหน้านายแพทย์ ซิกมุนด์ ราสเชอร์ ที่ถ่ายคู่กับลูก


 


          High Altitude การทดลองความกดอากาศสูง โดยการนำเชลยไปอยู่ในห้องควบคุมแรงดัน แล้วทำการลดแรงไปเรื่อยเพื่อจำลองสภาพความสูงที่ 20,000 เมตรจากพื้นดิน และลดปริมาณออกซิเจนในอากาศ พร้อมทั้งมีการบันทึกผลการทดลองที่ความดันต่างๆ จนถึงความดันสุดท้ายที่เหยื่อเสียชีวิต โดยการทดลองนี้ทำเพื่อหาระบบป้องกันนักบินขับไล่ของเยอรมันจากการดีดตัวออกจากเครื่องบิน

          Mustard gas experiments การทดลองผลของมัสทาร์ทแก๊ส ผลจากการได้รับพิษการรักษาพยาบาล



ผลจากการได้รับมัสทาร์ทแก๊ส โดยไม่สวมหน้ากากกันแก๊สพิษ



ทหารแคนนาดาที่ถูกแก๊สมัสทาร์ทจะเห็นว่าเกิดบาดแผลพรุพองทั่วร่างกาย 
 


11. Block 11
          บล็อก 11 เป็นอีกหนึ่งอาคารสุดสยองที่สร้างเพื่อเป็นคุกและห้องทรมาน เนื่องจากเชลยที่ถูกส่งเข้ามาที่บล็อก 11 นั้นเพื่อเป็นการทำโทษและทรมานด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้



          Standing Cell หรือ คุกยืน โดยวิธีการทำโทษคือนักโทษจะถูกขังอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมขนาด 1.2 x 1.2 เมตร (1.5 ตารางเมตร) ครั้งละอย่างน้อย 4 คน ซึ่งมันแคบจนไม่สามารถขยับตัวได้ ทุกคนจะต้องยืนอยู่อย่างนั้นตลอดการคุมขัง

          Starvation cells หรือ คุกอดอาหาร เป็นคุกหมายเลขที่ 21 ใครที่โดนจับมาขังยังห้องนี้ก็คือได้รับโทษตาย เนื่องจากหลังจากถูกนำขัง นักโทษจะไม่ได้รับน้ำหรืออาหาร อีกเลยจนกว่าจะเสียชีวิต



ประตูทางเข้า
 


 ภายในคุกอดอาหารจะเห็นว่ามีเครื่องเซ่นมากมาย

เนื่องจากห้องนี้เป็นห้องที่ Saint Maximillian Kolby มรณภาพ

 

 

          สิ่งที่กล่าวมาในที่นี้ก็มีเพียงเท่านี้ เพราะความจริงเกี่ยวกับค่ายนรกนี้ยังมีอีกมากมายที่คนในยุคนี้ไม่สามารถรับรู้ถึงความโหดร้ายได้ นอกจากนี้สถานที่ที่เต็มไปด้วยความตายจึงไม่แปลกเลยที่มีนักท่องเที่ยวบางหลายจะเห็นวิญญาณของเหล่านักโทษปรากฏตัวอยู่เนื่องๆ ดังนั้นหากใครมีโอกาสได้ไปประเทศโปแลนด์ก็น่าจะลองไปเที่ยวชมดูสักครั้ง

 

 

ที่มา: wowboom.blogspot.com


Admin : Maimai
view
:
3188

Post
:
2014-06-23 10:55:47


ร่วมแสดงความคิดเห็น