“ตลาดน้อย” ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญที่ขยายมาจากสำเพ็ง พระอภัยวานิช (จาค) ขุนนางชาวจีนฮกเกี้ยนคือผู้ทำให้ย่านตลาดน้อยเติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญด้วยการพัฒนาท่าเรือที่ชื่อว่า “โปเส็ง” สินค้าที่สำคัญคือสมุนไพรจากภาคใต้
ต่อมาเมื่อมีการเปิดประเทศสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในช่วงรัชกาลที่ 4 ท่าเรือโปเส็งแข่งขันกับท่าเรืออื่นไม่ได้จึงต้องปิดตัวไป ทว่าการเติบโตของกรุงเทพฯอย่างต่อเนื่อง รัชกาลที่ 4 จึงทรงให้ตัดถนนเจริญกรุงและขุดคลองผดุงกรุงเกษม ตลาดน้อยซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับปากคลองผดุงกรุงเกษมเป็นศูนย์รวมสินค้าจากหลากหลาย มีการตั้งถิ่นฐานจากคนหลายกลุ่ม จากเดิมที่ย่านที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเข้าสู่ด้านในมากขึ้น
แม้ย่านตลาดน้อยไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนย่านเยาวราชหรือสำเพ็ง และปัจจุบันเป็นแหล่งรับซื้อ “เซียงกง” ศูนย์อะไหล่ที่ใหญ่แห่งหนึ่งของเมืองไทย ด้วยความเจิรญรุ่งเรืองครั้งอดีต ทำให้ย่านนนี้เป็นย่านคลาสสิกอีกย่านหนึ่งที่ควรรักษาไว้
เริ่มต้นจุดแรก คือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร จากนั้นเดินเข้าซอยภาษุรังสีเจอย่านเซียงกง เต็มได้ด้วยกองอะไหล่รถยนต์นานาชนิด เป็นมุมที่น่าสนใจในการเก็บภาพ
จากนั้นเดินเข้ามาเรื่อยๆ จะเจอกับเวิ้งขาดใหญ่ที่มีต้นไทร ต้นโพธิ และรถเก่าๆที่ดูยังดูน่ารัก ได้อีกหนึ่งมุม เดินตามทางตรอกมาเรื่อยๆจนเจอสามแยกเลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวาจะเจอกับบานประตูอันแสนธรรมดาทว่ามีเรื่องราว
ถัดมาเป็นถนนสายที่มีลายเพ้นท์สวยงาม ทั้งรูปชาย-หญิงเชื้อสายจีน หน้าต่างลายรูปเด็กมองอย่างเขิลอายและแมวกำลังไต่หน้าต่างอยู่ มีกำแพงที่ปูนกระเทาะออกเผยให้เห็นอิฐโผล่ด้วย สวยงามแปลกตา
อย่างที่บอกว่าถนนสายนี้เต็มไปด้วยรูปเพ้นท์ นอกจากลายเพ้นท์ที่กล่าวมาข้างต้นยังมีลายเพ้นท์รูปเรือและรถลากด้วย เดินออกมาจากซอยแล้วเข้าซอยแฟลตทรัพย์สิน มีบ้านเก่าเป็นแบล็กกราวถ่ายรูปสวยด้วย
ก่อนเวลา 15.00 น. มุ่งหน้ามาที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย (เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.20-14.30น.) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นธนาคารไทยพาณิชย์แห่งแรก เดิมชื่อสยามกัมมาจล ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน
อาคารหลังนี้มีสถาปัตยกรรมตะวันตกศิลปะแบบโบซาร์ (Beaux Arts) ผสมกับนีโอคลาสสิก (Neo-classic) นอกจากนี้อย่างที่เรารู้กันว่าสัญลักษณ์ของธนาคารไทยพาณิชย์คือใบโพธิ์ ซึ่งมาจากต้นโพธิ์ทางซ้ายมือเมื่อมองไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา
สุดท้ายมาหยุดอยู่ที่วัดแม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) เป็นโบสถ์คาทอลิกที่สร้างขึ้นพร้อมชุมชนตลาดน้อยในช่วงที่สมัยรัชกาลที่ 5 คนดั้งเดิมของชุมชนอพยพมาจากอยุธยาในครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ในครั้งนั้นได้นำเอารูปแม่พระมาด้วย รวมตัวกันตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มใหญ่ภายในค่ายแม่พระลูกประคำ(ชื่อตามรูปพระแม่) จากนั้นรัชกาลที่ 5 พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์นิกายคาทอลิก ส่วนคำว่ากาลหว่าร์เป็นชื่อสถานที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน
สำหรับเพื่อน ๆ คนได้สนใจหรือรักในการถ่ายภาพ อยากได้ภาพถ่ายสวย ๆ ออกแนววินเทจเล็ก ๆ ก็ลองไปหามุมถ่ายภาพได้ที่ตลาดน้อย ยังมีมุมอื่น ๆ สวย ๆ อีกหลายมุมที่รอให้เราได้ค้นหาค่ะ
ขอบคุณข้อมูล,รูปภาพ : นายรอบรู้
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP