เมล็ดทานตะวันงอก คุณค่าอาหารสูง ลดอ้วนได้ด้วย
2014-06-18 11:47:00
ในบรรดาของงอกๆ ทั้งหลาย ที่เพาะขึ้นมาจากเมล็ดถั่วที่เราคุ้นเคยกัน คือ ถั่วงอก แต่ถั่วงอกก็ไม่น่าใช่ผักขอ งคนไทย น่าจะเป็นวัฒนธรรมการบริโภค ของจีน เดี๋ยวนี้ถั่วงอกขึ้นโต๊ะเป็นเมนูอาหารไทยไปแล้ว ผัดไทยเอย ก๋วยเตี๋ยวเอย ถั่วงอกผัดเต้าหู้เอย พอมาตอนหลังเมล็ดธัญพืชงอกก็ปรากฏกันหลากหลาย เช่น ถั่วงอกหัวโต ซึ่งเพาะจากเมล็ดถั่วเหลือง ถั่วงอกจากถั่วลิสง โต้วเหมี่ยว ซึ่งเพาะจากเมล็ดถั่วลันเตา และข้าวกล้องงอก ซึ่งยังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะ นี้
ผักประเภทนี้กรรมวิธีค่อนข้
ส่วนต้น ทานตะวันงอกหรือต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprout) เป็นผักชนิดใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายมากนัก ด้วยคุณสมบัติที่ใหญ่เกินตัวมีคุณค่าด้านอาหารสูงมาก ด้วยเหตุที่ว่าต้นอ่อนทานตะวันสะสมปริมาณ วิตามิน เอนไซต์ เเละสารอาหารอยู่สูงกว่าผักที่โตเต็มที่ พบว่าในต้นอ่อนทานตะวันงอก มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณและชะลอความชรา มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) และธาตุเหล็กสูง
เมล็ดทานตะวัน 100 กรัม ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์น่านับประการ ให้พลังงานแก่ร่างกาย 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 23 กรัม ไขมัน 50 กรัม แคลเซียม 14.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 19 กรัม สังกะสี 5 มิลลิกรัม โพรแทสเซียม 690 มิลลิกรัม ไขมันที่อยู่ในเมล็ดทานตะวัน จะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี วิตามินอี และไนอะซิน ต้นอ่อนทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันงอก ใช้เป็นอาหารสุขภาพ มีกลิ่นหอมคล้ายใบบัวบก รสหวานกรอบ รับประทานได้ทั้งสด เช่น จิ้มน้ำพริก เป็นผักสลัด หรือปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย แกงจืด แกงส้ม ใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก แล้วแต่คิดถึงเมนูไหน หรือนำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่ม ก็จะได้น้ำผักสีเขียวเข้ม กลิ่นหอม แต่ควรดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ตอนท้องยังว่างอยู่ จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะมีวิตามินและเอ็นไซม์สูง
ตอนนี้มีเมล็ดดำผสมเมล็ดลาย ซึ่งปลูกกินต้นอ่อนได้เช่นกัน ในท้องตลาดเมล็ดลายจะมีราคาแพงกว่า เพราะสามารถนำไปทำน้ำมันทานตะวันมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันมากกว่าทำให้เกษตรกรนิยมปลูกเมล็ดลายมากกว่า เป็นเมล็ดทานตะวันพันธ์ของปี 2557 อัตราการงอกสูง
ความแตกต่างของเมล็ดปลูกจะได้ต้นอ่อนที่มีลำต้นอวบและใบใหญ่ แต่ประสบการณ์ในการปลูกขายพบว่าอัตราการงอกของเมล็ดลายมีมากกว่าและจำนวนวันในการเพาะจะมีน้อยกว่า
แต่ทางด้านกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของ ถั่วงอก พบว่า ร้อยละ 90 ของถั่วงอก คือ น้ำ ให้โปรตีนแค่ 2.8 มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสเล็กน้อย เพราะฉะนั้นที่ว่าถั่วงอกมี คุณค่าทางอาหารมากนั้นไม่จริง คุณค่าที่กินถั่วงอก คือทำให้อิ่มเพื่อจะไม่ให้กินอาหารที่มีโปรตีนและไขมัน จากสัตว์มากเกินไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทานไว้ก็ไม่เสียหายนะคะ
การกินถั่วงอกมีเหตุผล 3 ประการ คือ
1. ความกรุบกรอบของต้น
2. ทำให้อิ่ม
3. คือให้ความสดชื่น เพราะมีน้ำอยู่ในต้นมาก การกินถั่วงอกคือการที่ผู้ก
Admin : Chanya
view
:
8511
Post
:
2014-06-18 11:47:00
ร่วมแสดงความคิดเห็น