ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกคนที่ใช่ให้เหมาะกับงานเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละบุคคล มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน และบุคลิกที่แตกต่างนี้เอง ทำให้แต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความสามารถในการทำงานในแต่ละด้านที่ไม่เหมือนกัน
ในองค์กรขนาดใหญ่ การคัดสรรบุคลากรจะมีกระบวนการต่างๆ มากมาย ซึ่งรับผิดชอบโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคล แต่สำหรับ SME หลายๆแห่ง การคัดสรรรบุคลากรเป็นเรื่องที่เจ้าของกิจการต้องทำเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เข็มทิศ SME ฉบับนี้ จึงขอเสนอแนวทางเฟ้นหาบุคลิกภาพของบุคลากรให้ตรงตามหน้าที่ของงานในแบบที่ง่าย และแม่นยำในการประเมิน เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำไปใช้เพื่อคัดสรรบุคลากรที่เหมาะสมที่สุดให้แก่องค์กรของเรา
เพียงให้บุคคลนั้นๆ ตอบคำถามเพียง 4 ข้อด้านล่างนี้
1. คุณชอบทำงานคนเดียวหรือเป็นทีม
- ถ้าชอบทำงานคนเดียว -- เป็นประเภทเก็บตัว (Introversion)
- ถ้าชอบทำงานเป็นทีม -- เป็นประเภทเปิดเผย แสดงตัว (Extroversion)
2. คุณอยากอยู่ฝ่ายปฏิบัติการหรือฝ่ายวางแผน
- ถ้าอยากอยู่ฝ่ายปฏิบัติการ – เป็นประเภทใช้ประสาทสัมผัส (Sensing)
- ถ้าอยากอยู่ฝ่ายวางแผน – เป็นประเภท หยั่งรู้ (iNtuition)
3. ถ้าลูกน้อง 2 คนทำผิด คนนึงดีมาก อีกคนเฉยๆ จะลงโทษเท่ากันรึเปล่า
- ถ้าลงโทษเท่ากัน – เป็นประเภทใช้ความคิด (Thinking)
- ถ้าลงโทษไม่เท่ากัน – เป็นประเภทใช้ความรู้สึก (Feeling)
4. คุณเป็นคนตัดสินใจเก่งหรือเปล่า
- ถ้าเก่ง – เป็นประเภทตัดสิน (Judgement)
- ถ้าไม่เก่ง – เป็นประเภทรับรู้ (Perception)
เมื่อตอบคำถามทั้ง 4 ข้อแล้ว เราจะได้ตัวอักษร 4 ตัว ซึ่งสามารถสื่อได้ถึงบุคลิกภาพด้านต่างๆ ดังนี้
Extravert-Introvert (EI)
Extravert: มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สนใจที่จะสังสรรค์สมาคม ชอบทำกิจกรรม ชอบอยู่กับคนอื่น และสนใจทุกอย่างที่พบเห็น คนประเภทนี้จะทำงานเป็นทีมใด และใส่ใจกับความต้องการของคนในทีม
Introvert: เป็นคนที่ชอบใช้เวลาว่างอยู่กับตัวเอง เงียบขรึม ไม่ชอบสุงสิงกับคนอื่น ชอบคิดอะไรลึกซึ้ง และมักจะเป็นคนคิดก่อนทำ
Sensing-iNtuition (SN)
Sensing: มีลักษณะเชื่อถือหรือไว้ใจการรับรู้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทั้งจากภายในและภายนอกตัว มักชอบทำงานที่อยู่กับความเป็นจริง (Practical) มีความอดทนเป็นพิเศษกับรายละเอียดและข้อเท็จจริงเฉพาะหน้า เน้นการลงมือทำ iNtuition: มีลักษณะที่เชื่อมั่นหรือพอใจรับรู้แสวงหาข้อมูลโดยการคาดการณ์ มองการณ์ไกล มองเลยไปจากข้อเท็จจริงไปสู่ความน่าจะเป็นไปได้ แสวงหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานหรือการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ และมีแรงบันดาลใจสูง
Thinking-Feeling (TF) แสดงถึงลักษณะการตัดสินใจ Thinking: มีลักษณะตัดสินใจโดยใช้กระบวนการคิดที่มีเหตุผล มีระเบียบและเป็นขั้นตอน ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน ทำอะไรเป็นงานเป็นการไม่เยิ่นเย้อ ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรม มีตรรกะ มีความยุติธรรม และไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสิน Feeling: มีลักษณะตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกและค่านิยม ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ชอบทำงานกับคน มีแนวโน้มที่จะสงสารและให้กำลังใจผู้อื่น
Judgement-Perception (JP) แสดงถึงแบบแผนการดำเนินชีวิต Judgement: มีลักษณะการดำเนินชีวิตและการทำงานที่มีระเบียบแบบแผนเป็นขั้นตอน มุ่งมั่น ตรงต่อเวลา ทำงานจนเสร็จ ไม่หนีงาน ไม่ทิ้งปัญหา และปกป้องลูกน้องเต็มที่หากโดนกลั่นแกล้ง Perception: มีลักษณะการดำเนินชีวิตแบบสบายๆ ยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ไม่ชอบความเป็นระเบียบหรือเคร่งครัดมาก ชอบการตอบสนองที่เป็นธรรมชาติ ต้องการเข้าใจคนมากกว่าการไปควบคุมคน และพร้อมที่จะรับสถานการณ์อะไรที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ
ถึงตรงนี้ คงจะพอทราบกันแล้วว่า บุคลิกของแต่ละคนเป็นประเภทใดกันบ้าง อย่างไรก็ตาม ลักษณะงานแต่ละประเภทในองค์กรมีความหลากหลาย อาทิ งานบริหาร งานที่ต้องใช้ความคิด งานที่ต้องเอาใจใส่ในรายละเอียด หรือ งานปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เป็นต้น ในตอนหน้า เราจะมาพูดถึงวิธีนำผลที่ได้จากการทดสอบมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในองค์กรกันค่ะ
Credit : ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์
http://www.facebook.com/SMECompass
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP