พิธีสตีหรือสัตตีเป็นปฏิบัติการที่หญิงม่ายฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในกองฟืนสำหรับเผาศพสามีผู้เพิ่งเสียชีวิตได้ไม่นาน เจ้าหน้าที่อังกฤษทำงานอย่างแข็งขันเพื่อจะกำจัดประเพณีทางศาสนานี้ โดยพิจารณาว่ามันป่าเถื่อนและปราศจากคุณค่าในการไถ่ถอนหรือปลดเปลื้องบาป
พิธีสตีเป็นการกระทำที่น่ากลัวที่สุด โดยการที่หญิงม่ายฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในกองฟืนสำหรับเผาศพสามี บางครั้งด้วยความเต็มใจ แต่บางครั้งก็ถูกคนอื่นบังคับ เชื่อหรือไม่ว่าพิธีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูเลย พิธีนี้ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทหรืออุปนิษัท
พิธีสตีมีที่มาจากประเทศกรีซ พิธีบูชายัญด้วยไฟที่คล้ายคลึงกับพิธีสตีนี้ได้ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวเยอรมัน สลาฟ และชนเชื้อชาติอื่นๆ นอกเหนือจากพวกกรีก พิธีนี้มาสู่ประเทศอินเดียโดยพวก Kushas ในศตวรรษที่ 1 พวกชนเผ่านักรบที่ชื่อ Rajputs ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก Kushans และเป็นชาวฮินดูที่บ้าคลั่งยิ่ง อีกทั้งยังยึดหลักการผัวเดียวเมียเดียวอย่างเคร่งครัดที่สุด พวกเขาถือปฏิบัติตามประเพณีสตีนี้
พวก Rajputs ทำสงครามกับพวกเดียวกันเองอยู่เสมอ และยังทำสงครามกับพวกมุสลิมด้วย ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดม่ายสาวหลายพันคน พวกเขากลัวว่าเป็นการไม่ปลอดภัยถ้าจะปล่อยให้ม่ายสาวแสนสวยหลายพันคนเหล่านี้ไปมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่น พวกเขาจึงคิดหามาตรการขั้นรุนแรงเด็ดขาดมากำจัดพวกเธอ ซึ่งมุสลิมก็ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน แต่พวกเขาแก้ปัญหานี้ด้วยการอนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้สี่คน
แล้วในปี ค.ศ. 1829 รัฐบาลอังกฤษในประเทศอินเดียได้ประกาศว่าการประกอบพิธีสตีเป็นความผิดทางอาญา พิธีนี้จึงไม่เคยมีการปฏิบัติกันในอินเดียตอนใต้เลย แต่บางครั้งบางคราวก็มีผู้ลอกเลียนแบบไปปฏิบัติ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีนี้ ถ้าพิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู สตรีม่ายหลายพันคนก็ต้องถูกฆ่าตายทั่วประเทศอินเดียแล้ว แต่ความจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น
ภาษาสันสกฤตของคำว่า “สตี” นั้นหมายถึงว่า การเป็นสตรีผู้ทรงคุณความดีนั้นต้องสัตย์ซื่อต่อสามีอย่างสูงและต้องเมตตากรุณาต่อญาติพี่น้อง แต่ในด้านขนบประเพณีแล้ว คำว่า “สตี” หมายถึงพิธีที่บังคับให้ภรรยาต้องตายไปพร้อมกับสามีที่เสียชีวิต ด้วยการกระโดดลงไปในกองฟืนท่ามกลางเสียงโห่ร้องของฝูงชนในพิธี พิธีนี้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นระบบหนึ่งของศาสนา นักประพันธ์ชาวกรีกที่ชื่อ ดิโอดอรัส (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตศักราช) ได้บรรยายการจัดพิธีสตีไว้อย่างละเอียดลออ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติต่อๆ กันมาอย่างแทบไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงศตวรรษที่สิบแปด นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพิธีบูชายัญมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตที่ค่อนข้างหลากหลายสังคมทั่วโลก
แต่พวก Rajput ได้ถือปฏิบัติพิธีนี้อย่างเด่นชัดที่สุด พิธีนี้ยังคงถือปฏิบัติกันในทุกจังหวัดโดยชาวฮินดูบางวรรณะ แต่แตกต่างกันในระดับความหนักเบา ในยุคของ Turko-Mughal มีการพยายามบางอย่างที่จะยับยั้งการประกอบพิธีสตี แต่ก็มิมีมาตรการใดประสบผลสำเร็จ เนื่องจากยึดถือความเป็นกลางทางศาสนา รัฐบาลของบริษัทอีสท์อินเดียในตอนแรกมิได้สมัครใจจะใช้มาตรการใดๆ เพื่อต่อต้านพิธีสตี แต่ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลเสรีในประเทศอังกฤษ และด้วยความต้องการจะทำให้รัฐประเทศอินเดียซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเข้มเข็ง ดังนั้นในช่วงทศวรรษ 1820 รัฐบาลจึงแข็งขันที่จะคิดหาเงื่อนไขหรือข้อเรียกร้องในการออกพระราชบัญญัติด้านมนุษยธรรม บรรดามิสชันนารี นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษที่ตั้งรกรากหรือเกิดในอินเดีย และนักปฏิรูปที่เป็นชนพื้นเมืองจำนวนหนึ่ง (ซึ่งรวมถึง Rammohun Roy ด้วย) ได้สนับสนุนการปฏิรูปทางมนุษยธรรม เนื่องจากได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลที่ประเทศอังกฤษ ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียที่ชื่อ นายพล ลอร์ดวิลเลียม เบนทิงค์ (ช่วงปี 1828-1835) ซึ่งตัวเขาเองก็เป็นนักปฏิรูปด้านมนุษยธรรม จึงได้ตรากฎข้อบังคับหมายเลขที่ 16 ประจำปี 1829 ขึ้น ซึ่งประกาศว่า “การประกอบพิธีสตีหรือการเผา/ฝังสตรีม่ายชาวฮินดูทั้งเป็นนั้น เป็นสิ่งผิดกฎหมาย”
แต่ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อได้ว่าพิธีนี้หมดสิ้นหรืออันตรธานไปได้ในทันใด อาจจะมีการออกกฎหมายประกาศว่าพิธีนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่กระนั้นการปฏิบัติจริงก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป พิธีสตีถือว่าเป็นสถาบันโบราณที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของพวกฮินดูที่ถือปฏิบัติพิธีนี้ และพิธีนี้ก็ไม่สามารถถูกยกเลิกหรือขจัดไปเพียงเพราะคำสั่งห้ามของรัฐบาล ความเห็นของสาธารณชนชาวฮินดูนั้นประณามมาตรการห้ามนี้ว่าเป็นการเข้าแทรกแซงการถือปฏิบัติทางศาสนาของผู้คนมากเกินไป มีบันทึกช่วยจำที่ลงนามโดยชาวฮินดูหลายร้อยคนที่รู้สึกไม่พอใจกับสิ่งนี้ และบันทึกนี้ก็ถูกส่งต่อไปยังรัฐสภาเพื่อแก้ไขคำสั่งห้ามนั้น แต่รัฐสภาของรัฐบาลเสรีก็หนุนหลังรัฐบาลที่อินเดียของลอร์ดเบนทิงค์ และทั้งๆ ที่มีการออกกฎหมายห้ามการประกอบพิธีนี้ การถือปฏิบัติก็ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะน้อยลงกว่าเมื่อก่อนก็ตาม จนกระทั่งมีความเห็นของสาธารณชนออกมาต่อต้านพิธีนี้เมื่อตอนช่วงศตวรรษที่สิบเก้า พิธีสตีนี้จึงสูญหายไปในตอนท้ายของศตวรรษที่สิบเก้าเนื่องจากเป็นปฏิบัติการที่โหดร้าทารุณ และเนื่องจากปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกมากมายเช่น การเผยแพร่ความรู้จากทางตะวันตก การถือกำเนิดของชนชั้นกลางที่มีการศึกษา และการเกิดกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปชาวฮินดูขึ้น ฯลฯ
ความในใจของผู้พบเห็น “ พิธีสตี” มากับตา
เป็นวันแรกที่มาถึงแล้วก็ออกเดินเที่ยวไปในหมู่บ้าน เพื่อตะลึงกับพิธีศพนั่น!!
เคยเห็นในหนังสือมาเหมือนกันที่ว่า “พิธีสตี” หรือหญิงที่สามีตายนั้นจะกระโดดลงไปให้ไฟเผาตัวเองตามสามีผู้ล่วงลับ แต่คราวนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ บนแท่นศพนั้นมีโลงพอดูเป็นโลงอยู่โลงหนึ่ง หน้าโลงไปซักห้าเมตรมีศาลา บนศาลามีผู้หญิงสองคนกับผู้ชายกำยำหลายคน หนึ่งในสองหญิงนั้นยังไม่แก่นักและกำลังร้องไห้ปิ่มว่าจะขาดใจอยู่ที่พื้น กับอีกคนอุ้มเด็กชายตัวดำปี๋นั่งอยู่บนตั่งหน้าตาหมองคล้ำ ฟืนกองใหญ่ที่ไหม้ไฟในวันแดดจ้าส่งเสียงลั่นป่าช้า และ…
พระเจ้าทรงโปรด…
เมื่อเขาผลักโลงลงไปในเมรุได้ซักครู่ เขาก็จับผู้หญิงคนที่นั่งพื้นนั้นโยนลงไปด้วย… เสียงร้องโหยหวนของคนที่โดนเผาทั้งเป็นดังเสียยิ่งกว่าเสียงไฟที่ไหม้ฟืนนั่นหลายเท่า ลอรี่เป็นลมทั้งยืนและเหลิงกับเดฟก็ต้องรีบกลับมาตั้งหลักกันที่บ้านพักก่อนเพื่อทำใจ
เจ้าของบ้านพัก มิสเตอร์ปุระณี เล่าให้ฟังว่าที่นี่ยังยึดถืออะไรเดิมๆ อยู่มาก ถ้าเราอยู่ไปเรื่อยๆ จะมีประเพณีแปลกๆ ให้ดูอยู่เสมอ เช่นพิธีศพนั่นเป็นต้น เราไม่เห็นว่ามันแปลกเลย แต่มันเป็นความโหดร้ายต่างหาก คนจากเมืองพุทธอย่างเรามาเห็นยังแทบลมใส่ คนจากเมืองคริสต์เห็นเข้าก็ลมใส่เลย เย็นนั้นกินข้าวไม่ลง ได้แค่ออกไปซื้อนมแพะมาดื่มเท่านั้นเอง… คาวใช้ได้เลยล่ะ เด็กรับใช้ที่ทำงานอยู่ที่นี่อาสาเอาไปต้มให้เพื่อให้หายคาวไปบ้าง ก็พยักหน้าไปหงึกๆ เพราะสมองไม่รับรู้อะไรมากนัก ขอเรียกอาการนี้ของตัวเองว่าช็อค ภาพบ้านั่นยังติดตา เสียงโหยหวนนั่นยังติดหู… ซวยจริงๆ ที่วันแรกก็มาเห็นสิ่งที่ไม่ควรเห็นซะแล้ว เอานมไปแบ่งลอรี่ดื่ม ท่าทางก็ยังไม่หายช็อคเหมือนกัน เดฟก็พูดอะไรไม่ออกด้วย… คืนนั้น อาบน้ำ และอพยพตัวเองไปนอนที่ห้องเดฟกับลอรี่ ไม่อยากนอนคนเดียว…
ที่มา: roup.wunjun.com