ปราสาทแห่งตำนานแดร๊กคูล่าที่แต่งขึ้นเอง
2014-05-16 10:53:17

          วันนี้ทางเว็บตาโตก็นำเสนอเรื่องราวของปราสาทแห่งหนึ่งในโรมาเนียที่มีชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วโลก ที่แม้ว่าจะไม่ได้ดังด้วยประวัติจริงๆ ของมันก็ตาม แต่ยังไงเรื่องราวของปราสาทนี้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ต่างๆ มากมาย

 

 

 

          ปราสาทบราน (Bran Castle) แห่งโรมาเนีย สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1212 โดยอัศวินชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นปราสาทของเจ้าผู้ครองแคว้นทรานซิลวาเนียอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ตัวปราสาทตั้งอยู่บนหน้าผาสูงใกล้เมือง Brasov เพื่อใช้เป็นป้อมปราการที่ป้องกันการรุกรานจากข้าศึกหรือก็คือพวกเติร์กแห่งอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งขณะนั้นโรมาเนียแบ่งเป็นแคว้นทรานซิลวาเนียกับวัลลาเชีย มีเจ้าชายผู้กล้าคนหนึ่งคือ เจ้าชายวลาด เทเปส (Vlad Tepes) ปฏิบัติการรุกรบต่อต้านการโจมตีของพวกเติร์กอย่างแข็งขันจนเป็นที่เลื่องลือในความเก่งกล้า บ้าบิ่น และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกราน จนเป็นเจ้าของตำนานความโหดเหี้ยมดังกล่าว จนพระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรวัลลาเชีย เนื่องจากปราสาทบรานตั้งอยู่ระหว่างแคว้นวัลลาเชียและแคว้นทรานซิลวาเนียที่ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนีย

 

ภาพ Vlad III of Wallachia

 

          ในยามนั้นชาวบ้านนิยมเรียก เจ้าชายวลาดว่า "วลาด แดรคูล" โดย วลาด แปลว่า เจ้ามังกรผยองเดช เพราะพ่อของวลาดได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิซิกิสมุนด์แห่งนูเรมเบิร์กให้เป็น "อัศวินมังกร" (Knight of Dragon's Order) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทด้วย เมื่อวลาดขึ้นครองวัลลาเชียและยังเป็นเจ้าชายนักรบผู้กล้า ผู้คนจึงเรียกเขาอย่างภูมิใจว่า "วแลด แดรโค" (Vlad Draco) คำว่า "แดรโค" เป็นภาษาละตินแปลว่า "Dragon" หรือมังกรนั่นเอง ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงเป็น "วแลด แดรคูล" (Vlad Dracul) ไม่ใช่ท่านเคาท์แดร๊กคูล่าจอมดูดเลือดแต่อย่างใด

          Poienari Castle เป็นปราสาทเก่าที่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นปราสาทของ Vlad the Impaler (Vlad Dracula) ตัวจริง ขณะที่ปราสาทบรานนั้น เล่ากันว่าเป็นเพียงที่พักแค่คืนเดียวเท่านั้น

 

          ในต้นศตวรรษที่ 20 ปราสาทแห่งนี้กลายเป็นที่ประทับของพระนางมารีแห่งโรมาเนีย (ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของพระราชินีวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร) ต่อมาปราสาทบรานตกทอดสู่เจ้าหญิงอิเลน่าแห่งโรมาเนีย พระธิดาของพระนางมารี

 

 

          จนกระทั่งในปี ค.ศ.1948 พรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้ายึดครองปราสาทหลังนี้และเนรเทศเชื้อพระวงศ์ออกนอกประเทศ ปราสาทบรานจึงทรุดโทรมลงโดยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1989 หลังการปฏิวัติโรมาเนียและการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจึงปรับปรุงปราสาทหลังนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์ ด้วยความโด่งดังที่มาจากตำนานที่แต่งขึ้น และกลายเป็นหนังที่คนดูทั่วโลกจดจำความน่ากลัวของมันได้

 

Bela Lugosi ดาราคนหนึ่งที่ได้แสดงบทของ ท่านเคาท์แดร๊กคูล่า

 

          วันหนึ่งเกิดมีนักเขียนนิยายชื่อดังชาวไอริชนามว่า บราม สโตเกอร์ นำเอาเค้าเรื่องในประวัติศาสตร์ที่ว่าเคยมีเจ้าชายนักรบชื่อ วแลด เทเปส มาพักที่ปราสาทนี้ แล้วไปผูกเรื่องกับ"ท่านเคาท์แดร๊กคูล่า" ที่กลางวันนอนโลงศพ กลางคืนลุกขึ้นมาดูดเลือดเหยื่อที่มักเป็นสาวสวย ครั้นเมื่อนิยายถูกนำไปสร้างเป็นหนังผีสยองขวัญที่มี คริสเตอร์เฟอร์ ลี สวมบทเป็นเคาท์แดร๊กคิวล่าก็สามารถทำเงินถล่มทลายเพราะคนดูแน่นตรึม โลกก็เลยรู้จักปราสาทบรานในฐานะ"ปราสาทแดร๊กคิวล่า" แล้วก็พาลเข้าใจเอาว่านี่เป็นปราสาทผีดิบจริงๆ ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงตำนานจากนวนิยาย

 

          ปราสาทแดร๊กคูล่าจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งตำนานผีดูดเลือด แต่เรื่องนี้ชาวโรมาเนียไม่ได้โวยวายอะไร เพราะภาพพจน์ของปราสาทนี้ได้นำเงินตราเข้าประเทศมหาศาล หลังสิ้นสุดการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์มีการบูรณะปราสาทนี้ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม

 

          แต่ในทีสุดในปี 2006 ปราสาทก็กลับคืนสู่ทายาทเจ้าของเดิมซึ่งเป็นสถาปนิกชื่อ โดมินิก แฮบสเบิร์น ที่ได้ต่อสู้ทากฎหมายนาน 5 ปี โดยทางรัฐบาลมีข้อตกลงว่าจ่ายค่าเช่าให้เขาทำปราสาทเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บค่าเข้าชมนาน 3 ปี ก่อนที่ปราสาทจะตกเป็นของเขาโดยสมบูรณ์หลังปี 2009 ทว่าช่วงปลายปี 2007 โดมินิกได้ประกาศขายปราสาทบราน โดยตั้งราคาไว้ที่ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ทางรัฐบาลยังไม่อนุมัติให้ทำการซื้อขายเพราะผิดกับข้อตกลง จนกว่าจะถึงปี 2009 แฮบสเบิร์นจึงจะมีสิทธิ์ในการจัดการกับปราสาทหลังนี้ได้ทุกประการ ล่าสุดมีข่าวว่าทายาทผู้ครองปราสาทประกาศจะขายปราสาทบรานให้แก่รัฐบาลโรมาเนียเป็นเงินถึง 60 ล้านยูโรหรือแค่ 2,800 กว่าล้าน แต่ได้รับคำปฏิเสธ ก่อนจะมีการประกาศต่อมา โดยบริษัทผู้รับผิดชอบการขายโดยคาดว่าจะขายได้ไม่ต่ำกว่า 135 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 4,700 ล้านบาท

 

 

ที่มา: bloggang.com


Admin : Maimai
view
:
3376

Post
:
2014-05-16 10:53:17


ร่วมแสดงความคิดเห็น