เมื่อการเล่นสวาท (ผู้ชายกับผู้ชาย) บังเกิดขึ้นในรั้ววัง
2014-02-28 11:07:21
     
จากภาพด้านบน เป็นภาพตัวอย่างเหล่าละครนอกในขณะทำการแสดงในสมัยรัชกาลที่4ถึงต้นรัชกาลที่5
จากภาพด้านล่าง เป็นภาพตัวอย่างการแต่งกายเป็นหญิงของผู้ชายในการแสดงละคร ช่วงสมัยรัชกาลที่6 ในภาพคือ เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวา
 
      คณะ "ละครนอก" ในราชสำนักที่ต้องเล่นเป็นตัวพระหรือตัวนาง ก็จะต้องใช้ผู้ชายแต่งกายเป็นหญิง ว่ากันว่าคณะละครของพระองค์เจ้าไกรสรนั้น เล่นดีไม่มีคณะไหนเทียมติด ครั้นเดินทางไปไหน พระองค์เจ้าไกรสรก็มีพวกนายละครแห่แหนหน้าตาคมสัน ผิวขาวบอบบาง แล้วพระองค์เจ้าไกรสรยังได้เอาใจใส่ให้เงินทองของใช้อย่างล้นหลาม แต่งตัวกันอย่างหรูหรา นุ่งผ้าราคาแพง สวมแหวนเพชร ผัดหน้า วางท่ากรีดกราย เป็นที่ขัดนัยน์ตาของผู้แลเห็น กระทั่งยอมให้พวกละครแต่งกายเป็นหญิงออกงานอย่างงานลอยกระทง 
 
พระองค์เจ้าไกรสร ทรงหมกมุ่นหลงใหลอยู่กับนายละคร ถึงกลับนอนค้างในเก๋งในเรือนร่วมกับพวกนักแสดง ไม่กลับเวียงวังเข้าห้องหับกับหม่อมห้ามนางในแต่อย่างใด มีบันทึกไว้ในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุ สยามว่า นายละครคนโปรดของท่านคือ นายขุนทอง รองลงมาคือ นายแย้ม ทั้งสองคนได้รับการชุบเลี้ยงให้อยู่ดีกินดีเป็นพิเศษ
 
การ "เล่นสวาท" หรือกิจกรรมทางเพศระหว่างชายกับชาย ถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียอย่างมากทั้งกับตัวและตระกูล เพราะเป็นชายแต่มิได้ทำหน้าที่อย่างชาติชาย คือ ดูแลครอบครัวและสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ กลับไปงมงายเล่นสวาทกับชายด้วยกัน
 
พฤติการณ์ของหม่อมไกรสรในขณะนั้น ชาวบ้านร้านช่องล้วนแต่ทราบทั้งสิ้น เพราะท่านไม่ได้ "แอบ" ตัวเองแต่อย่างใด ท่านมีรสนิยมส่วนตัวอย่างไร ก็ "แสดงออก" กันให้เห็นกันตรงๆ "ไม่เอาธุระ" แก่สายตาผู้ใดทั้งสิ้น เหตุผลหนึ่งก็เพราะว่า ท่านนักเลงพอ และท่านก็มีอำนาจบารมี ไม่มีผู้ใดกล้าแตะ แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3ก็ให้ความเกรงอกเกรงใจ จึงไม่ต้องเรียกร้องให้สังคมยอมรับเหมือนในยุคต่อๆ มา
 
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีอำนาจมากมายก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะอริสัตรูคอยใส่ความจ้องจะจับผิดทุกย่างก้าว เมื่อท่านถูกถามถึงเรื่องเล่นสวาทนี้คราวสอบสวนความผิดฐานเป็นกบฏ ท่านก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า "การที่ไม่อยู่กับลูกกับเมียนั้นไม่เกี่ยวข้องต่อการแผ่นดิน" ยืนยันความเป็นตัวเองอย่างชัดแจ้ง
 
บันทึกนี้ มีความน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ได้มีรับสั่งให้เอาพวกละครมาทำการสอบสวนไต่ถาม ได้ความว่าเป็นสวาทจริงแต่ไม่ถึงกับชำเรา เป็นเพียงการ "เอามือของนายละครและมือของท่านกำคุยหฐานด้วยกันทั้งสองฝ่าย ให้สำเร็จภาวะธาตุเคลื่อนพร้อมกัน" 
 
ความจริงแล้ว รสนิยมในลักษณะนี้ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไม่ได้มีเพียงหม่อมไกรสรเพียงผู้เดียว ทั้งนี้ ต้องชื่นชมหม่อมไกรสรที่กล้ายืนยันรสนิยมของท่าน ฝากเอาไว้เป็น "เงาอดีต" ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป จึงอยากให้ทุกท่านศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นะ การกระทำ ความคิด ความชอบ ของคนในอดีตและปัจจุบันล้วนต่างเรื่องต่างวาระ แต่ละเรื่องมีที่มาและที่ไปในตัวของมันเอง เรามาศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเปิดใจ 
 
Credit : คลังประวัติศาสตร์

 


Admin : Chanya
view
:
4046

Post
:
2014-02-28 11:07:21


ร่วมแสดงความคิดเห็น