โศกนาฏกรรมพระนางเรือล่ม!
2014-01-21 09:40:52
อุบัติเหตุครั้งยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมพระนางเรือล่ม!
 
จากภาพ ผังเรือพระประเทียบในขณะแล่นอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาจนนำไปสู่เรือพระประเทียบร่ม
 
 
โศกนาฏกรรมนี้เริ่มจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จประภาส พระราชวังบางประอิน ในช่วงฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี โดยมี พระมเหสี พระราชโอรส ธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเสด็จด้วยแต่ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วย ทรงติดราชการแผ่นดิน จึงไม่ได้เสด็จด้วย แต่ทรงมีพระราชโองการ ให้ขบวน พระมเหสีแล พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จล่วงหน้าไปก่อน
 
โดยมีขบวนเรือพระประเทียบของฝ่ายในดังนี้
 
เรือยอร์ชกลไฟ จูงเรือพระประเทียบ พระองค์เจ้าละม่อม(องค์ประธานพระราชวงศ์ฝ่ายใน) เสด็จพร้อมพระอรรคชายาเธอ(หม่อมเจ้าปิ๋ว พระอิสริยยศในขณะนั้น) และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทราสรัทวาร 
 
เรือกลไฟปานมารุต จูงเรือพระประเทียบพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เสด็จพร้อม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ อรรควรราชกุมารี 
 
เรือกลไฟโสรวาร จูงเรือพระประเทียบพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เสด็จพร้อม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย นริศรราชกุมารี 
 
เรือกลไฟราชสีห์ จูงเรือพระประเทียบพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี เสด็จพร้อม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี 
 
เรือพระประเทียบขอพระองค์เจ้าสุนันทา ปิดหน้าต่างทุก ๆ ด้าน ได้ยินแต่เสียงลม เจ้าฟ้าหญิงบรรทมหลับ ส่วนพระองค์เจ้าสุนันทาทรงพระสำราญอยู่อย่างเงียบ ๆ ทรงเคลิ้ม ๆ คล้ายจะบรรทมหลับ
 
ในขณะนั้น เรือกลไฟราชสีห์ ก็เบนหัวเรือเล่นเข้าไปเลียบฝั่งตะวันออก เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ที่ประทับในเรือได้ทอดพระเนตรทิวทัศน์ริ่มฝั่ง ส่วนเรือยอร์ชก็แล่นเทียบขึ้นมาขนานกับเรือราชสีห์อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เป็นทำนองแข่งความเร็วกันอยู่ เมื่อเรือปานมารุตเห็นเรือทั้งสองเบนหัวเข้าไปใกล้ฝั่งจึงเร่งฝีจักรเข้าไปเพื่อจะอยู่ตรงกางของเรือทั้งสอง และจะเป็นไปด้วยความคึกคะนองหรือความประมาท เรือปานมารุตจึงพยายามเร่งฝีจักรด้วยความเร็วที่สูง จึงไม่ได้ระวังว่าเรือโสรวาร แล่นตามหลังขนาบข้างเรือราชสีห์มาอย่างติดๆ
 
ทันใดนั้นเอง ผู้ถือท้ายเรือโสรวารก็รู้สึกว่าได้แล่นผิดร่องน้ำ เสียงพรืดพราดหลายครั้ง ๆ แสดงว่าใบจักรเรือได้พัดเอาทรายเข้าแล้ว ทำท่าว่าจะติดทราย ด้วยสัญชาติญาณของนายท้ายเรือ จึงเบนหัวเรือหลบการเกยตื้นมาทางเรือปานมารุตโดยที่ไม่ทันระวัง
 
เมื่อเรือโสรวารเบนหักหลบการเกยตื้นเช่นนั้น เรือปานมารุตที่กำลังเร่งขึ้นมาอยู่พอดีและเนื่องด้วยในเรือพระประเทียบนั้นมีพระราชธิดาซึ่งยังอ่อนพระชันษาอยู่ เกรงว่าควันไฟและลูกไฟจากปล่องเรือยอชจะมารบกวนพระอนามัย นายท้ายเรือจึงเบนหัวเรือหนีมาทางเรืองโสรวารโดยมิได้ชะลอความเร็ว ทันใดนั้นเองเรือโสรวารจึงปะทะเข้ากับเรือปานมารุต 
 
เสียงหวีดร้องของเหล่านางในข้าหลวงดังขึ้นทั้งลำเรือ พอเรือโสรวารหักหัวเรือให้ตั้งลำอีกครั้งหนึ่ง ก็พอดีกับเรือพระประเทียบพระองค์เจ้าสุนันทาที่กำลังถูกลากจูงยังมิสามารถตั้งลำได้ คลื่นน้ำลูกใหญ่อันเกิดจากท้ายเรือโสรวารจึงสะท้อนพัดเข้าหาเรือพระประเทียบของพระองค์เจ้าสุนันทาพลิกคว่ำล่มกลางแม่น้ำ 
 
 
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วย “ห้ามแตะต้องพระวรกาย” ใครว่ายลงไปช่วย มีโทษประหารชีวิต!
 
จากภาพด้านซ้าย พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงอุ้ม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ อรรควรราชกุมารี
จากภาพด้านขวาบน ภาพตัวอย่างลักษณะเรือเก๋งพระประเทียบ 
จากภาพด้านขวาล่าง คุ้งน้ำ บางพูด อันเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ เรือพระประเทียบล่ม
 
 
ก่อนที่เรือพระประเทียบจะพลิกคว่ำลง พระองค์เจ้าสุนันทาทรงตกพระทัยเป็นอย่างมาก เรือพระที่นั่งโคลงเคลงไปมาใหญ่ เพราะลูกคลื่นได้ซัดเข้ามา สัญชาติญาณแห่งความเป็น"แม่"พระองค์เจ้าสุนันทาทรงอุ้มพระราชธิดาเข้ามาไว้ในอ้อมกอดและตื่นเต้นกับจังหวะของเรือและแล้วน้ำก็พรั่งพรูเข้ามาทางหัวเรือ พระพี่เลี้ยงแก้วร้องไห้ด้วยความตกใจและตกตะลึงทำอะไรไม่ถูก ไม่นานเรือพระประเทียบก็คว่ำลงไปทันที เรือปานมารุตที่ทำหน้าที่จูงจึงหยุดเครื่องทันที
 
เสียงตระเบ็งเซ็งแซ่ไม่ได้ศัพท์ดังขึ้นที่ชายฝั่งเพราะประจักษ์เหตุการณ์เฉพาะหน้าว่าอันตรายได้เกิดขึ้นกับเรือขบวนที่เพิ่งจะผ่านไปหยกๆจะเป็นเรือของใคร ไม่ว่าจะเป็นไพร่หรือเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ตาม ความหมายคือการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
 
ข้าหลวงที่ตามเสด็จมาในเรือพระประเทียบซึ่งติดอยู่ในเก๋งเรือก็พยายามมุดหาทางออกมาจากเก๋งและว่ายน้ำไปเกาะที่เรือลำอื่นเพราะปรากฏว่าในตอนนั้นกระแสน้ำมิได้ไหลเชี่ยวประกอบกับเป็นที่ตื้น สำหรับพระองค์เจ้าสุนันทานั้นทรงว่ายน้ำเป็น แต่ปรากฏว่าขณะที่เรือล่มนั้นเจ้าฟ้าหญิงได้หลุดออกจากพระหัตถ์หายไปในทันที จึงทำให้พระองค์ไม่เสด็จออกจากเก๋งเรือ ทรงเป็นห่วงพระราชธิดา จึงได้ว่ายค้นหาอยู่ภายในเก๋งเรือจนกระทั่งหมดพระกำลังและสิ้นพระชนม์
 
ในขณะเรือพระประเทียบล่ม ทันใดนั้นเอง พระยามหามนตรีชูดาบขึ้น ออกคำสั่งโดยฉับพลันทันทีไม่ให้คนหนึ่งคนใดลงไปช่วยเนื่องด้วยขัดกับกฏมณเฑียรบาลแม้แต่ชาวบ้านสามัญที่ไม่รู้เรื่องว่ากฏมณเฑียรบาลคืออะไร พระยามหามนตรีออกคำสั่งเด็ดขาดไม่ให้เข้าใกล้และแตะต้องพระวรกายถึงกับชักดาบยืนตะโกนออกคำสั่งอยู่ที่หัวเรือกลไฟ พวกชาวบ้านงงงวยนักจึงทำได้เพียงช่วยพวกนางข้าหลวงนำส่งขึ้นเรือใหญ่
 
กฏมณเฑียรบาลซึ่งมิใช่จะประหารชีวิตผู้ทำความช่วยเหลือเท่านั้นแต่เป็นการประหารล้างโคตรจึงอาจจะกล่าวได้ทีเดียวว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ไปเพราะกฏมณเฑียรบาลกฏหมายอันมีมาแต่โบราณกาลกฏมณเฑียรบาลตอนนี้มีความหมายว่า
 
“ถ้าเรือพระประเทียบล่ม เจ้าพนักงานในเรือต้องว่ายน้ำออกจากบริเวณรอบ ๆ เรือ ถ้ายังอยู่ในบริเวณเรือที่ล่มนั้น มีโทษประหารชีวิต ถ้าเรือพระประเทียบล่ม หรือเจ้านายตกน้ำ กำลังว่ายตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอดอยู่ ให้เจ้าพนักงานในเรือที่ว่ายขึ้นฝั่งแล้วเอาไม้ยาว ๆ หรือโยนลูกมะพร้าวให้เจ้านายเกาะ ถ้าไม่มี ห้ามเจ้าพนักงานว่ายลงไปช่วยเจ้านายใครว่ายลงไปช่วยมีโทษประหารชีวิต เจ้าพนักงานคนไหนที่โยนลูกมะพร้าวให้เจ้านายเกาะแล้วรอดจะได้รางวัลขั้นต่ำเป็นเงินสิบตำลึง ถึงขั้นสูงสุดขันทองคำหนึ่งใบ แต่ถ้าคนที่โยนลูกมะพร้าวช่วยเจ้านายนั้นไม่ใช่เจ้าพนักงาน คนที่โยนนั้น มีโทษประหารยกโคตร”

Credit : คลังประวัติศาสตร์


Admin : admin
view
:
4624

Post
:
2014-01-21 09:40:52


ร่วมแสดงความคิดเห็น