ใครเป็นใครใน กปปส. ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ
2014-01-14 16:47:32
 
เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2556 จนถึงปัจจุบัน จากการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จน สว.คว่ำร่างพรบ.ดังกล่าว โดยการชุมนุมทางการเมือง ได้ยกระดับการชุมนุมจากคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง เป็นการโค่นล้มระบอบทักษิณและจัดตั้งสภาประชาชน โดยที่การชุมนุมนั้นมีอยู่ 3กลุ่ม คือ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และเวทีราชดำเนิน
 
ซึ่งการชุมนุมได้ยืดเยื้อและยกระดับมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการยึดสถานที่ราชการ สื่อต่างๆ เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเสนอคือ จัดตั้ง “สภาประชาชน” โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเปิดตัวคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.)
 
เครือข่ายนักวิชาการ
 
 
นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516  เลขาพรรคไท (พรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีนายธนบดินทร์ แสงสถาพรเป็นหัวหน้าพรรค) เคยร่วมกับพอ.มนูญ รูปขจร และ พอ.สนั่น ขจรประศาสตร์ ทำรัฐประหารรัฐบาลที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ไม่สำเร็จจนกลายเป็นกบฎต้องหลบหนี และสามารถกลับเข้ามาเมื่อมีการอภัยโทษ
 
หลังการรัฐประหาร 2549 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เคยอยุ่ในกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นอดีตอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับการสนับสนุนให้เป็นประธานปฏิรูปการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
 
 
 
นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย อดีตแกนนำนักศึกษา 1 ใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 14 ตุลาคม 2516 เคยเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติชุดแรก เคยขึ้นเวทีปราศรัย กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณที่สวนลุม ปัจจุบันเป็นผอ. สถาบันพัฒนาคนและคุณภาพคน
รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (นิด้า) เป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม เป็นผู้ผลักดันให้เกิด หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สมัยอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ เริ่มต่อต้านทักษิณสมัยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และเข้าร่วมกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาโดยตลอด และเคยอยู่ในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
 
 
 
ผศ.ดร.ทวี สุรฤทธิกุล (มสธ.) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (12 ต.ค. 2549 – 2 มี.ค. 2551)
นาย ถวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี) สมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ผศ.สุวิชา เบ้าอารีย์ (นิด้า)
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นักวิชาการอิสระ
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุญสม (มสธ)
 
 
เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ
 
นายนิติธร ล้ำเหลือ    การศึกษา ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท ทางด้านกฎหมายพัฒนา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ตั้งสำนักงานกฎหมาย KAT มีชื่อเสียงเสียงจากคดีฟ้องร้องต่อศาลปกครอง คดีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย คดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกขัดต่อรัฐธรรมนูญ และคดีการเมือง เช่น คดีนายยงยุทธ ติยะไพรัชทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550  เป็นทนายความให้กลุ่ม NGO มาโดยตลอด รวมทั้งเป็นทนายความของกลุ่มพันธมิตร ทั้ง36 แกนนำที่ถูกหมายเรียกในคดีปิดสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ
 
 
นายสุริยะใส กตะศิลา   อดีตเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ในช่วงที่นายพิภพ ธงไชย เป็นประธาน เคยเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ และเลขาธิการของพรรคการเมืองใหม่   ปัจจุบันอยู่กลุ่มกรีน (การเมืองสีเขียว)
 
 
นายอุทัย ยอดมณี   นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง  พรรคสานแสงทอง มีความสัมพันธ์กับอดีตคนในพรรคประชาธิปัตย์  นายถาวร เสนเนียม
 
 
กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม
 
 
นายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย
 
นายราเชน ตระกูลเวียง  ประธานกลุ่มสหพันธ์คนไทยปกป้องสถาบัน
 
นายมหัศจักร โสดี   คณะกรรมการอำนวยการบริหารภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของชาติ
กลุ่มเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย
 
นายพรศักดิ์ ลิ้มบุญญประเสริฐ
 
 
กองทัพธรรม
 
รต.แซมดิน เลิศบุศย์  อดีตเคยเป็นนายทหารเรือ ทำงานอยู่ที่กรมสรรพาวุธ กองทัพเรือ เคยเป็นเลขาพรรคเพื่อฟ้าดิน(2543)   เป็นผู้ติดตามพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาเกือบ 20 ปี  และเข้าร่วมชุมนุมกับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  และ องค์การพิทักษสยาม(อพส.)
นายมั่นแม่น กะการดี  อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อฟ้าดินเคย เข้าร่วมกับการชุมนุมพันธมิตร และองค์การพิทักษสยาม (ม็อบ เสธ. อ้าย)
กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ
 
พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน   อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 7(จปร.7) รุ่นเดียวกับ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี และ พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร ในอดีตเคยเป็นนายทหารที่อาสาไปรบในสมรภูมิต่างๆและได้สร้างวีรกรรมหลายจนบรรดาเหล่าทหารหลายคนให้การยอมรับ อีกทั้ง พล.อ.ปรีชา เคยเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ สมัย พล.อ.ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปี 2534 หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา  เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551
 
 
พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ จบเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1) รุ่นเดียวกับ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย อดีตประธานองค์กรพิทักษ์สยาม (อพส.) และ “บิ๊กแอ๊ด” พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รองผบ.สส.) สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ถูกเด้งมานั่งเก้าอี้ผบ.สส  เคยเป็นประธานองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)และเสนาธิการร่วมของกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ
 
 
พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัมฒ์  อดีตทหารคนสนิท พล.ต.มนูญกฤต จบเตรียมทหารรุ่นที่ 4 นักเรียนนายร้อยจปร.รุ่นที่ 15 เคยไปรบในสมรภูมิลาวโดยรับตำแหน่งหัวหน้ากองทัพนิรนาม ซึ่งเป็นหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจในทางลับ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)
พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ อดีตนักบินประจำกองกำลังสหประชาชาติ นักวิชาการวิทยากร ร.ร.เสนาธิการทหาร ร.ร.เสนาธิการทหารอากาศ ร.ร.นายเรืออากาศ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ศูนย์การรบทางอากาศ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)
นายสนธิ เตชานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด สงขลา  ปี 2549 เคยเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
น.พ.ระวี มาศฉมาดล
 
 
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศ 77 จังหวัด
 
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์  อดีตเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อลงรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2554 จึงได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และวางมือทางการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (รุ่น 1 )
สมาพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
 
 
นายคมสัน ทองสิริ    เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. เคยเป็นรองประธานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง เคย เข้าร่วมชุมนุมกับพันมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นายสาวิทย์ แก้วหวาน  อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และต่อมาได้เข้าร่วมกลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งได้เข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปี พ.ศ. 2549 กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที และถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำรุ่นที่ 2 ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551แต่ต่อมา ถอนตัวออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากมีความเห็นต่างกันในเรื่องที่พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรฯถึงเรื่องการที่จะส่งผู้สมัครของพรรคลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554
 
 
นายสมศักดิ์  โกศัยสุข เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ. 2535 โดยคู่เคียงข้าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2549 ได้เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากทำตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จากการลงมติกันก่อนหน้านั้นไม่นาน จากเรื่องการส่งพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 หรือไม่
นายมานพ เกื้อรัฐ เคยเข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
 
 
กลุ่มนักสู้ของประชาชน
 
นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม  เจ้าของสำนักข่าว t-news ที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทยมาตลอด ในวงการเคยมีข้อสงสัยว่านายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม มีความสนิทกับ  จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
 
 
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์   ร่วมขับไล่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2549 และเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรในปี พ.ศ. 2551 นายไชยวัฒน์มีบทบาทเป็นผู้นำมวลชนปิดถนนที่จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มอดีต ส.ส.
 
นายถาวร เสนเนียม  อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชุมพล จุลใส   อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุมพร เขต 1พรรคคประชาธิปัตย์ เป็นคนสนิทของสุเทพ เทือกสุบรรณ
 
 
นายณัฐพล ทีปสุวรรณ  อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์  ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เอกนัฏ พร้อมพันธุ์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรฝั่งภรรยานายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเคยทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
 
 
นายสกลธี ภัททิยกุล   อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
ข้อมูลรายชื่อจาก คมชัดลึก
 
ข้อมูลประวัติจาก วิกิพีเดีย ข่าวไทยรัฐออนไลน์ คมชัดลึกกรุงเทพธุรกิจ OKnation
Admin : Chanya

Admin : admin
view
:
3134

Post
:
2014-01-14 16:47:32


ร่วมแสดงความคิดเห็น