เด็กโง่ เพราะสีทาบ้าน
2013-10-22 13:04:56
เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่อาคารสถาบัน 3 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.วลัยพร มุขสุวรรณ รองผูู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และนักวิจัย แถลงผลการทดสอบสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารปี 2556 ว่า มูลนิธิบูรณะนิเวศ ทำการสุ่มตัวอย่างสีน้ำมันทาอาคารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวน 120 ตัวอย่าง 68 ยี่ห้อมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่ว พบร้อยละ 79 ของตัวอย่างทั้งหมด มีปริมาณสารตะกั่วสูงเกินกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งกำหนดให้มีไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วนหรือพีพีเอ็ม (ppm) และร้อยละ 40 มีปริมาณสูงเกิน มอก. กว่า 100 เท่า หรือมีมากกว่า 10,000 พีพีเอ็ม
โดยพบบางผลิตภัณฑ์มีปริมาณสารตะกั่วสูงสุดถึง 95,000 พีพีเอ็ม ขณะที่ปริมาณที่น้อยที่สุดที่พบคือ 9 พีพีเอ็ม นอกจากนี้ยังพบว่า 17 ใน 29 ตัวอย่างของสีมีการติดฉลากว่าไม่ผสมสารตะกั่ว แต่กลับพบมีปริมาณสารตะกั่วสูงเกิน 100 พีพีเอ็ม ในจำนวนนี้มีถึง 8 ตัวอย่างมีปริมาณสารตะกั่วสูงเกิน 10,000 พีพีเอ็ม และตัวอย่างที่ศึกษาพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ผลิตสีหรือ 15 บริษัทจาก 42 บริษัทที่ผลิตตาม มอก.
น.ส.วลัยพร กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมาตรฐานปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคารของ มอก.ที่กำหนด 100 พีพีเอ็ม ยังคงเป็นแบบสมัครใจ ไม่มีผลบังคับและโทษทางกฎหมาย จึงควรกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ และกำหนดให้มีการแสดงข้อมูลปริมาณตะกั่วและคำเตือนถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสารตะกั่วบนฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน ขณะที่รัฐบาลต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม เพื่อให้สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีน้ำมันทาอาคารที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์สีน้ำมันทาอาคารที่จำหน่ายในท้องตลาดเป็นประจำ
ด้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สารตะกั่วเป็นมลพิษที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่สุดของการพัฒนาสมอง ซึ่งค่าทางการแพทย์ไม่ได้มีการกำหนดค่าระดับปกติของสารตะกั่วในร่างกาย แต่เกือบทุกประเทศกำหนดเพียงค่าความปลอดภัยที่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งในเด็กสามารถได้รับสารตะกั่วทั้งผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ที่มากสุดผ่านระบบทางเดินอาหาร ที่เด็กมักสัมผัสและหยิบจับสิ่งของเข้าปาก โดยอาการที่แสดงออกแบ่งเป็นแบบเฉียบพลัน คือชัก สมองบวม และแบบเรื้อรัง ซึ่งหากเด็กได้รับเกินค่า 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร จะมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง ไอคิวเด็ก เกิน 20 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร มีผลทำให้เด็กสมาธิสั้น เกิน 40 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร มีผลต่อการประสานงานของกล้ามเนื้อ ยิ่งค่าสูงก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อร่างกายเด็กมากขึ้น
ทั้งนี้ อยากให้มีการกำหนดมาตรฐานควบคุมสารตะกั่วในสีทุกชนิด ติดฉลากระบุสารตะกั่วที่มีในผลิตภัณฑ์ หากเกินมาตรฐานกำหนดก็ระบุให้ชัดเจนว่าห้ามใช้ทาอาคารภายในและผลิตภัณฑ์ในเด็กทุกชนิด รวมทั้งระบุสารตะกั่วสูงมีผลให้เด็กโง่
Admin : Chanya
Admin : admin
view
:
1412
Post
:
2013-10-22 13:04:56
เรื่องราวใหม่ๆ
- ถุงซองนิโคติน (Nicotine Pouches) คืออะไร!?
- Snus (สนูส) คืออะไร!?
- โน๊ตบุ๊คและโน๊ตบุ๊คเล่นเกมแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะสม
- depa x TGA ดีป้า (depa) จับมือ ทีจีเอ (TGA ) บูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกม (Digital Content)
- กิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพเบื้องต้น WORLD YOUTH PHOTOGRAPHER WORKSHOP
ร่วมแสดงความคิดเห็น