ปวีณา กลับมาแล้วนั้งรมต.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประวัติย่อ นางปวีณา หงสกุล
2013-07-01 09:40:26


ประวัติย่อ นางปวีณา หงสกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 6 สมัย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประธาน “มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี” (องค์กรสาธารณประโยชน์) ที่อยู่ บ้าน : 82/12 ซอยรามอินทรา 39 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพ ฯ 10220 มูลนิธิ : 84/14 หมู่ 2 ถนน รังสิต-นครนายก(คลอง 7) ตำบล ลำผักกูด อำเภอ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 หมายเลขโทรศัพท์ : 081-814-0244 , 02-577-0496-8 สายด่วน 1134 Fax : 02-577-0499 ( มูลนิธิฯ) 02-552-5577 (บ้าน) ประสบการณ์การทำงาน ปัจจุบัน ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี 2531-2549 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร 6 สมัย 2548-2549 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี 2546-2547 เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา 2542-2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ( กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ) 2542-2543 ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2541-2542 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 2541 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2542 สภาผู้แทนราษฎร 2539-2541 ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสภาผู้แทนราษฎร 2538-2540 ประธานคณะกรรมการเร่งรัดและประสานการปฏิบัติงานเยาวชน สตรี ภาครัฐและเอกชนสำนักนายกรัฐมนตรี 2538-2539 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 2535-2536 ประธานชมรมรัฐสภาสตรีไทยคนแรก (ประธานชมรม ส.ส.หญิง-วุฒิสภาหญิง) 2529-2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดใหญ่ โรงแรม โซฟิเทล หัวหิน 2518-2528 ผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว ประวัติการศึกษา ปี 2550 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2546 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2543 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2536 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาลัยพระปกเกล้ารุ่น 1 ปี 2517 สำเร็จการศึกษา Bachelor Of Commerce Bliss College เมืองโคลัมบัส มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ปี 2512 สำเร็จการศึกษาโรงเรียนเคนยอน เร เมธอดิสต์ เกิร์ล สกูล ปีนัง มาเลเซีย ( Kenyon Rae Methodist Girls School ) ปี 2509 สำเร็จการศึกษาโรงเรียนสตรีวรนาถ บางเขน กรุงเทพมหานคร ผลงานการยกร่าง ผลักดัน แก้ไขกฎหมายที่สำคัญสู่สภาผู้แทนราษฎร - ผลักดันพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี - แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถานบริการ - ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 - ผลักดันพระราชบัญญัติการค้าหญิงและเด็ก รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ 2552-2553 ปี 2553 - "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นกรณี “ที่สุดแห่งปี” ปี 2553 โดยได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ นักการเมืองหญิง ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1 คือ นางปวีณา หงสกุล 70.13% ปี 2552 - ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศจากสวนดุสิตโพล นักการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือนางปวีณา หงสกุล ได้รับคะแนนถึง 66.25 เปอร์เซนต์ 2550 ปี 2550 - ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ - ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศจาก “สวนดุสิตโพล” เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2550 ในหัวข้อ “ที่สุดแห่งปี” ในส่วนของนักการเมืองหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1 คือ นางปวีณา หงสกุล 2549 ปี 2549 - ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ จากศูนย์ประชามติมหาวิทยาลัยรามคำแหง “รามคำแหงโพล” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 ในหัวข้อ “สุดยอดคนดี 2549” *ในส่วนของนักการเมืองหญิงที่เป็นคนดีมีคุณธรรม ระบุให้ นางปวีณา หงสกุล ได้คะแนนมากที่สุด - ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศจาก “สวนดุสิตโพล” เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2549 ในหัวข้อ “ที่สุดแห่งปี” ในส่วนของนักการเมืองหญิงที่ประชาชน *ชื่นชอบมากที่สุด อันดับ 1 คือ นางปวีณา หงสกุล “มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี” 2548 ปี 2548 - สำนักงานคณะกรรมการสงเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้ยกย่องให้ “มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี” เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ 2547 ปี 2547 - ได้รับเข็มพระนามาภิไธยย่อ “ส.ธ.” พ.ศ. 2547 จากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2546 ปี 2546 - คณะกรรมการจัดงานเยาวชนแห่งชาติ ได้รับมอบโล่เกียรติคุณให้ “มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี” ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน *สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็ก และเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม - ผลการสำรวจความคิดเห็นจากศูนย์ประชามติ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยสำรวจความคิดเห็นของเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร *จำนวน 1,390*คน ในส่วนของนักการเมืองหญิงที่เด็กชื่นชอบมากที่สุดอันดับ 1 คือ นางปวีณา หงสกุล 2545 ปี 2545 - คณะกรรมการจัดงาน สตรีดีเด่นแห่งปี ได้มอบรางวัล “สตรีดีเด่นตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2545” สาขาเพื่อสิทธิเด็กและสตรีให้ “ นางปวีณา หงสกุล” 2544 ปี 2544 - 1 พฤษภาคม 2544 ดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน นักการเมืองหญิงที่ผู้ใช้แรงงานเห็นว่าเป็นที่พึ่งได้ อันดับ 1 คือ ส.ส. ปวีณา หงสกุล - ผลการสำรวจความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2544 จากสวนดุสิตโพล สถาบันราชภัฎสวนดุสิต ประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 24,891 คน *เป็นนักการเมืองหญิง ที่ประชาชนชอบมากที่สุด อันดับ 1 คือ ส.ส. ปวีณา หงสกุล 2543 ปี 2543 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติยศ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2543 - ได้รับประกาศเกียรติคุณให้มีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. จากกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. 2543 - ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกนักโดดร่มกองทัพบก พ.ศ. 2543 2542 ปี 2542 - ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะจากธรรมศาสตร์โพล เมื่อ ธันวาคม 2542 ได้รับเลือกเป็น “นักการเมืองเลือดใหม่ยอดนิยมอันดับ 1” - ได้รับรางวัล “ยอดหญิง” ปี 2542 จากสมาคมส่งเสริมสถานสภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ - ได้รับเกียรติเป็นนักบินกิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. 2542 2541 ปี 2541 - ผลการสำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศจากกสวนดุสิตโพล วันที่ 30 ธันวาคม 2541 เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2541” ข้อ 9 นักการเมืองยอดนิยมอันดับ 1 ฝ่ายหญิง *ได้แก่ นางปวีณา หงสกุล - ผลการสำรวจความเห็นประชาชนจากสวนดุสิตโพล ตุลาคม 2541 หัวข้อ “นักการเมืองที่ซื่อสัตย์ 5 อันดับแรก” ผู้ที่ติด 1 ใน 5 อันดับแรก คือ นางปวีณา หงสกุล - ได้รับเกียรติจากสื่อมวลชนรัฐสภา เลือกให้เป็น “ดาวเด่นในสภาปี 2541” - ได้รับการยกย่องเป็นสตรีดีเด่นประจำปี 2541 จากสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเหลือพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีตลอดมา 2536 ปี 2536 - ได้รับปริญญาบัตร คหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก พ.ศ. 2536 - ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2536 - ได้รับรางวัลนักเหินเวหากิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ.2536 - ได้รับโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้สนับสนุนกิจการของกองทัพอากาศมาด้วยดี 2532 ปี 2532 - ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความสามารถในการบินกิตติมศักดิ์ของกรมตำรวจ พ.ศ. 2532 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด ปี 2542 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)
Admin : admin
view
:
2932

Post
:
2013-07-01 09:40:26


ร่วมแสดงความคิดเห็น